⇧ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี

Alfred Thayer Mahan

สมุททานุภาพ (Sea Power) เกิดจากแนวความคิดของ พลเรือตรี อัลเฟรด เธเยอร์ มาฮาน (Rear Admiral Alfred Thayer Mahan) ซึ่งถูกนำเสนอครั้งแรกผ่านหนังสือ The influence of Sea Power upon History 1660-1973 ซึ่งมาฮาน นั้น เป็นนักยุทธศาสตร์ทางเรือผู้มีชื่อเสียง โดยเขาได้ศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ การก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลของประเทศอังกฤษ สรุปเป็นทฤษฎีสมุททานุภาพ แล้วเปรียบเทียบกับขีดความสามารถของสหรัฐฯ ในการเป็นชาติมหาอำนาจทางทะเล ด้วยปัจจัยสมุททานุภาพหลายๆ ปัจจัยซ ึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับของประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ความสำคัญของสมุททานุภาพ ถือหลักสำคัญว่า
มหาอำนาจทางทะเลจะเหนือกว่ามหาอำนาจทางบกในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitic) ซึ่งในทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงและถูกต้องจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ซึ่งประเทศ
ที่มีสมุททานุภาพที่เหนือกว่าจะเป็นผู้ชนะสงครามในที่สุด หากพิจารณา ความหมายของ
สมุททานุภาพ อันเป็นผลจากการผสมคำระหว่าง สมุทร (ทะเล) กับ อานุภาพ (กำลังอำนาจ) ความหมายโดยรวมของสมุททานุภาพ มีบริบทเช่นเดียวกับที่มาฮานได้ลิขิตไว้ก็คือ “อำนาจ กำลังอำนาจ หรือ ศักยภาพของชาติ (หรือรัฐใด รัฐหนึ่ง) จากการใช้ทะเลให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ” จากผลลัพธ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 จึงพิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎีและหลักการของสมุททานุภาพที่ได้กำเนิดขึ้นมากว่า 100 ปีแล้ว ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้ได้จนถึงปัจจุบัน เพราะทะเลยังคงเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของโลก แม้ว่าปัจจุบันการขนส่งทางอากาศจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนการขนส่งทางทะเลได้ และทะเลก็ยังเป็นแหล่งอาหารกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ของมนุษย์ที่สำคัญ นอกจากนี้กำลังทางเรือก็ยังสามารถขยายอำนาจจากทะเลขึ้นสู่ฝั่ง (Power Projection Ashore) ได้คล้ายกับการขยายอำนาจของกำลังทางบก แต่ทั้งนี้ ทฤษฎีสมุททานุภาพ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวที่แน่นอน รัฐชายฝั่งจะต้องนำทฤษฏีมาประยุตก์ใช้ให้เหมาะสมกับรัฐของตนเองด้วย


องค์ประกอบของ สมุททานุภาพ (Components of Sea power) ได้แก่

  • นาวิกานุภาพ (Naval Power) หรือ กำลังรบทางเรือ มิได้มีเพียงเรือรบผิวน้ำ เช่น ในยุคของมาฮานเท่านั้น กำลังรบทางเรือหรือ นาวิกนุภาพในปัจจุบันประกอบด้วยเรือรบ ทั้งเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ อากาศนาวี และทหารนาวิกโยธิน
  • กองเรือสินค้า (Merchant Fleet) เครื่องมือสำคัญในการสร้างความเจริญให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศที่ไม่มีกองเรือสินค้าที่เข้มแข็ง ก็จะตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบทางการค้า และในยามสงครามพาณิชย์นาวีก็จะเป็นกำลังสำคัญอีกเช่นกันที่จะสนับสนุนนาวิกานุภาพและการปฏิบัติการทางทหาร
  • ฐานทัพและท่าเรือ (Naval Bases and Harbors) เป็นฐานที่มั่น ในการรับการส่งกำลังบำรุง (สำหรับกองเรือรบ) และขนถ่ายสินค้า (สำหรับเรือสินค้า)
  • อู่สร้างเรือ/ซ่อมเรือ (Shipyards/Dockyards) สำหรับเสริมสร้างและบำรุงรักษากองเรือสินค้าและกองเรือรบของประเทศ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งปวงที่ทำให้เรือมีความคงทนทะเล (Seaworthiness) และสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
  • พาณิชย์การและการติดต่อระหว่างประเทศ (Commercial Establishments and Contacts) มีพาณิชย์นาวีที่เข้มแข็งยังไม่เพียงพอที่จะทำให้การค้าขายร่ำรวยและเจริญรุ่งเรืองได้ การค้าขายจึงจำเป็นต้องมีสถาบันทางพาณิชย์การหรือสถาบันการค้าที่จะกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแลการค้าขาย และหาตลาดที่จะนำสินค้าไปขายหรือไปซื้อสินค้ากับประเทศต่างๆ
  • องค์บุคคล (Personnel) องค์บุคคลหรือคน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งหมด อาทิ คนเป็นผู้ใช้และบำรุงรักษาเรือทั้งเรือรบและเรือพาณิชย์ เรือประมง เป็นต้น คนเป็นผู้บริหารและดำเนินกิจการท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งปวง คนเป็นผู้สร้างและซ่อมเรือ รวมทั้งคนเป็นผู้บริหารและดำเนินกิจการสถาบันการค้าต่างๆ ดังนั้นการที่จะได้องค์บุคคลที่ดีที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาและการใช้สมุททานุภาพนั้น

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.dsdw2016.dsdw.go.th
  • นาวิกศาสตร์. พฤศจิกายน 2556