⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงนเรศวร(ลำที่ 1) จัดเป็นเรือลาดตระเวนเบา เป็นเรือในชุด Etna class cruiser มีที่มา ตามแผนของกองทัพเรือในสมัยรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ที่มีโครงการตามพระราชบัญญัติบำรุงกองทัพสยาม พ.ศ. 2478 ซึ่งได้มีการเตรียมจัดหาเรือลาดตระเวนเบาจำนวน 2 ลำ โดยว่าจ้างบริษัทในอิตาลี ราคา 1,207,720 ปอนด์ เเยกเป็นราคาของอาวุธอีก 278,400 ปอนด์ ทั้งนี้เราสั่งต่อเรือลาดตระเวนเบาทั้ง 2 ลำจากอู่ต่อเรือเเคนเทียรี่ รูนนิติ เเดล’อาเดรียอาติโก ในเมืองตริเอสเต และได้รับพระราชทานชื่อว่า รล.ตากสิน และ รล.นเรศวร โดย รล.ตากสิน ทั้ง 2 ลำ ไม่ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย ทั้งที่ได้มีการเตรียมกำลังพลเพื่อรอรับเรือแล้ว เนื่องจาก อิตาลีเกณฑ์เอาเรือทั้งสองลำนี้ไปใช้ในสงคราม โดยตั้งชื่อใหม่และอยู่ในหมู่เรือลาดตระเวนเบาชุดภูเขาไฟ คือ “เอทน่า” กับ “วิซูเวียต” ซึ่งประวัติในกองทัพเรือเรานั้น มีเพียงประวัติสั้นๆอยู่ว่า “เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น การสร้างเรือก็ดำเนินไปอย่างล่าช้าก็เพราะ ขาดแคลนวัสดุและการส่งอาวุธประจำเรือ รวมไปถึงปืนใหญ่หลักของเรือขนาด 5.3 นิ้ว ที่ทั้ง 3 ป้อม ก็เป็นเเบบ โบฟอร์ส ของสวีเดนที่รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามด้วย เพราะถูกเยอรมันบุก จนเกือบจะถูกยึดครอง” ซึ่งทางเราคงทราบดีแล้วว่า ทางอิตาลีนั้นได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ก็คือฝ่ายนาซีเยอรมัน และสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปเองก็รบกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 หลังจากที่เยอรมันบุกเข้าโปแลนด์ ถึงแม้ว่าไทยจะร่วมรบกับญี่ปุ่นที่ถือว่า เป็นฝ่ายอักษะร่วมกันกับอิตาลีหลังเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 จนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเเบบ บี-24 ลิเบอร์เรเตอร์ เข้าทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ หลังจากญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เเล้วก็ตาม เเต่เมื่อเข้าสถานการณ์คับขันฝ่ายอักษะด้วยกันเองก็ต้องต่างฝ่ายต่างก็ต้องเอาตัวรอดกันทั้งนั้น เรือรบทั้ง 2 ลำ จึงได้ถูกเกณฑ์เข้าร่วมรบ โดยภายหลังจากอิตาลี ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 เรือทั้ง 2 ลำที่สร้างเสร็จไปกว่า 53% ก็ถูกระเบิดทำลายโดยฝ่ายสัมพันธมิตรจนอับปางลงในสภาพนั่งแท่นเกือบจมน้ำ ก่อนที่ฝ่ายเยอรมัน จะเข้าครอบครองเรือทั้ง 2 หลังจากนั้นทางฝ่ายเยอรมันก็มีความพยายามที่จะซ่อมเเซมเรือทั้ง 2 ลำเเต่ก็ถูกยกเลิกไป จนกระทั่งได้มีการกู้ตัวเรือขึ้นมาเพื่อทำลายในภายหลัง ณ บริเวณอ่าวของเมืองตริเอสเต ที่ทำให้เรือทั้ง 2 ลำ ไม่มีโอกาสมารับใช้ประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมาทางอิตาลีได้จ่ายเงินชดเชยค่าต่อเรือลาดตระเวนเบาทั้ง 2 ลำคืนให้เเก่ไทยเป็นจำนวน 601,360 ปอนด์


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • วางกระดูกงู 26 ส.ค. 2482
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 6 ส.ค. 2484
    • สถานะ ถูกทำลายขณะกำลังต่อ
    • ผู้สร้าง อู่ต่อเรือเเคนเทียรี่ รูนนิติ เเดล’อาเดรียอาติโก ในเมืองตริเอสเต ประเทศอิตาลี
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 153.80 เมตร
    • ความกว้าง 14.47 เมตร
    • กินน้ำลึก 5.95 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 28 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 5,900 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 6,000 ตัน
    • กำลังพลประจำเรือ 580 นาย
    • อากาศยาน เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล 2 เครื่อง
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่ขนาด 135 มม.(5.3 นิ้ว)/45 คาลิเบอร์ เเบบเเท่นคู่ 3 เเท่น
    • ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 65 มม.(2.6นิ้ว) เเบบเเท่นเดี่ยว 10 กระบอก
    • ปืนกลขนาด 20 มม.(0.79นิ้ว) เเบบเเท่นเดี่ยวอีก 20 กระบอก
    • ตอร์ปิโดขนาด 18 นิ้ว เเบบเเฝด 3 จำนวน 2 เเท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ กังหันไอน้ำ 3 หม้อน้ำ 40,000 แรงม้า
    • ใบจักร 2 เพลา
ภาพเรือทั้งสองลำขณะดำเนินการต่อ

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.facebook.com/warshipthai
  • https://en.wikipedia.org
  • http://thaimilitary.blogspot.com