⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เมื่อ 25 พ.ย. 2480 เรือหลวงสมุย ทำหน้าที่เป็นเรือฝึกหัดสำหรับทหาร เพื่อไปรับเรือลำเลียง ณ ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2484 – 2488 กองทัพเรือได้ทำหน้าที่รักษาเส้นทางลำเลียงในน่านน้ำไทยทำการกวาดทุ่นระเบิด และในเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ล.สมุย ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศ ร.ล.สมุย ปฏิบัติภารกิจสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ด้วยความสามารถของ ผบ.เรือ และทหารประจำเรือหลายครั้งต้องหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึก แต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ถึง 17 ครั้ง จนกระทั้งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นเที่ยวสุดท้าย ขณะที่ ร.ล.สมุย ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงกลับ วันที่ 17 มี.ค. 2488 เวลา 0245 บริเวณด้านตะวันออกของเกาะคาปัส ประเทศไทยต้องสูญเสีย ร.ล.สมุย พร้อมด้วยลูกเรือบางส่วนไปโดยถูกตอร์ปิโดถึง 2 ลูกซ้อนจากเรือดำน้ำข้าศึก ระเบิดไฟไหม้หัวเรือจมดิ่งสู่ก้นทะเลเหลือผู้รอดชีวิต 17 นาย เสียชีวิตไป 31 นาย นาวาตรีประวิทย์ รัตนอุบล ผบ.เรือ รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของ ร.ล.สมุย และทหารประจำเรือ

วันที่ 17 ส.ค. 2485 เรือสมุยได้ออกเดินทางไปสิงคโปร์เป็นเที่ยวแรก เหตุการณ์ดีเป็นที่เรียบร้อย เที่ยวหนึ่งๆ ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนเศษ สุดแต่ว่าทางการจะเร่งเอาน้ำมันหรือไม่ ถ้าระยะเวลาไหนเร่งก็ออกเรือกระชั้นหน่อย เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เข้าอู่ปรับเครื่องกันเสียเลย จนกระทั่งเที่ยวที่ 18 นาวาตรี (นาวาเอก) ประวิทย์ รัตนอุบล นำเรือออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2488 ระหว่างทางเครื่องจักรใหญ่ขัดข้อง จึงแวะซ่อมเครื่องอยู่ที่โคตาบารูหลายวัน เมื่อเสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไปถึงโชนัน โดยปลอดภัย

วันที่ 2 มี.ค. 2488 สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ได้ทั้งประเทศ และเลื่อนฐานะเรือดำน้ำมาที่ฟิลิปปินส์ ทำให้ใกล้เส้นทางเดินเรือของไทยเข้ามาอีกมาก เรือหลวงสมัยรับน้ำมันจากโชนันมาเต็มที่ คือบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มระวาง และถึงมีน้ำมันเบนซิน บรรจุใส่ถัง 200 ลิตร วางไว้บนดาดฟ้าเต็มไปหมด และออกเดินทางจากโชนัน ในวันที่ 15 มีนาคมตอนเช้า

วันที่ 16 มี.ค. 2488 เวลาเช้าเครื่องบินทะเลของญี่ปุ่นเครื่องหนึ่งมาวนเวียนเหนือเรือ และโบกธงแดง แต่ทางเรือมิได้หยุดเรือคงเดินหน้าต่อไป เครื่องบินนั้นได้บินไปไกล แล้วบินกลับมาที่เรือสมุยอีก และโบกธงแดงอีกหลายครั้ง ต่อจากนั้นเครื่องบินนั้นก็หายไป ส่วนเรือสมุยคงเดินทางต่อมาตามเดิม เข็ม 324 ตั้งใจไว้ว่า เมื่อมาถึงเกาะลาปัสแล้ว จึงจะเปลี่ยนเข็มใหม่ เรือดำน้ำอเมริกัน ชื่อ Sea Lion II ผู้บังคับการเรือ ชื่อ นาวาตรี C.P. Putnam ได้คอยดักโจมตีอยู่บริเวณนั้น

วันที่ 17 มี.ค. 2488 เวลา 02.45 เรืออยู่ทางตะวันออกของเกาะคาบัสห่าง 7 ไมล์ ประมาณ 5, 18, 103 ได้ถูกตอร์ปิโด จากเรือดำน้ำซีไลออน นัดแรกถูกหัวเรือขวา และได้ยินเสียงระเบิดในเรือระยะติดๆ กันนั้น ก็ถูกยิงอีกนัดหนึ่งตรงกลางลำค่อนไปทางหัวเรือเกิดระเบิดขึ้นในเรือทำให้ไฟไหม้ และหัวเรือจมดิ่งลงต่อจากนั้นไฟได้ลุกติดน้ำมันซึ่งลอยเป็นฝาอยู่รอบๆ ตำบลที่เรือจม และเรือได้จมภายใน 3 นาทีเรือ ทหารได้โดดลงน้ำ พยายามว่ายเข้าหาฝั่งฝ่าเพลิงที่ลุกอยู่ทั่วไป เวลานั้นคลื่นจากตะวันออกใหญ่มาก บางคนเกาะเศษไม้และสิ่งของต่างๆ ลอยตามคลื่นที่พัดเข้าฝั่ง บางคนลอยคออยู่ในน้ำนานตั้ง 14 ชั่วโมง และไปสลบอยู่ตามชายฝั่งอำเภอมารัง จังหวัด ตรังกานู รวม 17 คน เรือไว (เรือโบตชนิดหนึ่ง) ของเรือหลวงสมุยลอยไปติดเกาะคาปัส ในเรือนี้ไม่มีคนมีแต่เสื้อนอกของ ตาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล 1 ตัว ผู้ที่ตายมีจำนวน 31 คน ในจำนวนนี้มี นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบลด้วย เรือหลงสมุย ซึ่งมีระวางขับน้ำ 1,850 ตัน( แก้ไข 3,025 ตัน ) เป็นเรือรบไทยลำแรกที่จมในสงครามครั้งนี้


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือน้ำมัน
    • ต่อเมื่อ 27 ก.ค. 2478
    • ขึ้นระวางประจำการ 18 ก.ย. 2479
    • ถูกยิงจม เมื่อ 17 มี.ค. 2488 โดย เรือดำน้ำสหรัฐ นอกเกาะคาปัส แหลมมาลายู
    • ผู้สร้าง อู่ ฮาโกดาเต เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
    • กำลังพล 51 นาย
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 238 ฟุต
    • ความกว้าง 39 ฟุต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 3,025 ตัน
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 76/35 จำนวน 1 กระบอก
    • ระเบิดน้ำลึก 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล 2 เครื่อง กำลัง 2,141 แรงม้า
  • ระบบอื่นๆ
    • ถังน้ำมัน เคโรซีน (น้ำมันก๊าซ) 26,648 ลูกบาศก์ฟุต ครุตออย (Crude Oil หรือ น้ำมันดิบ) 39,924 ลูกบาศก์ฟุต รวม 1,300 กล.
    • มีระวางสำหรับบรรทุกน้ำมันที่เป็นถังและของอื่นๆ อีก ๒ ระวาง รวม 33,332 ลูกบาศก์ฟุต
    • เคยบรรทุกถังน้ำมัน (ขนาด 200 ลิตร) ได้อีก 500 ถัง ซึ่งเป็นจำนวนน้ำมันราว 100 กล.

แหล่งอ้างอิง

  • https://nathoncity.com
  • http://www.navy.mi.th