⇧ เทคโนโลยีทางเรือ

ยานไกรทอง (UUV ของไทย)

ยานไร้คนขับ (Unmanned Vehicles) มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ (Ancient Greek) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชื่อ Archytas ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์นกพิราบ (Mechanical Pigeon) ซึ่งสามารถบินได้สูง 200 เมตร ทำให้มีผู้กล่าวว่าการประดิษฐ์ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของการสร้างอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs) ต่อมายานไร้คนขับได้ถูกนำมาใช้ในช่วงของสงครามโลก โดยเฉพาะในช่วงของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ที่มีการประดิษฐ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นเครื่องมือต่างๆ นำมาใช้ในการทำสงคราม โดยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นยานไร้คนขับนั้นในช่วงแรกจะมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น บอลลูนสอดแนมไร้คนขับ (Unmanned surveillance balloons) ตอร์ปิโดที่ใช้โดยการควบคุมระยะไกล(Remotely controlled torpedoes) ว่าวที่สามารถถ่ายภาพทางอากาศได้ (Aerial kites) ผ่านการควบคุมระยะไกลโดยเชือก ซึ่งว่าวดังกล่าวจมีหน้าที่ในการถ่ายภาพตำแหน่งและป้อมปราการของฝ่ายศัตรู


ยานไร้คนขับสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs) คือ ยานทีปฏิบัติการในอากาศ
  2. ยานภาคพื้นไร้คนขับ (Unmanned Ground Vehicles : UGVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการบนพื้นดิน
  3. ยานไร้คนขับทางน้ำ (Unmanned Marine Vehicles : UMVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการในน้ำ โดยยานไร้คนขับทางน้ำสามารถแยกออกมาได้อีกสองรูปแบบได้แก่
    • ยานผิวน้ำไร้คนขับ (Unmanned Surface Vehicles : USVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการบนผิวน้ำ
    • ยานใต้น้ำไร้คนขับ (Unmanned Underwater Vehicles : UUVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการใต้น้ำ


ในที่นี้จะเน้นในส่วนของยานใต้น้ำไร้คนขับ (UUVs) เป็นสำคัญ โดยยานใต้น้ำไร้คนขับ (Unmanned Underwater Vehicles: UUVs) หมายถึง ยานที่ปฏิบัติการใต้น้้ำได้โดยปราศจากคนขับเคลื่อนบนยาน มีทั้งการควบคุมระบบระยะไกล ระบบกึ่งอัตโนมัติ และระบบอัตโนมัติ UUVs หน้าที่ของยานใต้น้ำไร้คนขับ

  • ด้านการทหาร เช่น การต่อต้านทุ่นระเบิด (Mine Countermeasures- MCM) และสงครามต่อต้านเรือดำน้ า (Anti-Submarine Warfare- ASW)
  • ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาทะเลสาบ มหาสมุทร รวมถึงพื้นมหาสมุทรและการสำรวจความลึกของน้้ำ
  • ด้านการพาณิชย์ เช่น การทำแผนที่ใต้ทะเลเพื่อประโยชน์ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้อย่างหลากหลาย ทั้งการตรวจจับการรั่วไหลของน้้ำมัน การสำรวจใต้น้้ำด้วยคลื่นเสียง การตรวจวัดความลึกของทะเล การตรวจหาชั้นตะกอน การตรวจวัดระบบท่อส่งน้้ำมันใต้ทะเล และการดูแลบำรุงรักษาระบบท่อส่งก๊าซและน้้ำมันใต้ทะเล
  • ด้านการค้นหาซากวัตถุต่างๆ เช่น การค้นหาซากเครื่องบินตกหรือซากเรือที่ล่มอยู่ใต้ทะเลและ การค้นหาซากวัตถุโบราณ


ตัวอย่างของยานใต้น้้ำไร้คนขับ เช่น Bluefin-21 กับการปฏิบัติการตามหาซากเครื่องบินโบอิงของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH370 หรือ ROV Ventana ซึ่งถูกใช้ในการส ารวจใต้ท้องทะเลลึก

ตัวอย่างของ ยานใต้น้ำไร้คนขับในประเทศไทย ได้แก่ ยานใต้น้ำสำหรับฝึกปราบเรือดำน้ำของกองทัพเรือ จำนวน 3 ลำ ได้แก่ ไกรทอง วิชุดา และ สุดสาคร สร้างโดยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และบริษัท ไทรอัมพ์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด ยานลำนี้ใช้ฝึกพนักงานโซนาร์ในการตรวจจับหาเรือดำน้ำ โดยคุณสมบัติ ประกอบด้วย ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ สั่งการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ดำได้ลึก 50 ม. ความเร็วผิวน้ำ 2 น็อต ใต้น้ำ 3-4 น็อต ปฏิบัติการใต้น้ำนานกว่า 4 ชั่วโมง มีระบบทำเสียงใต้น้ำ Transducer และระบบขยายเสียง หาตำแหน่งด้วยระยยดาวเทียม (GPS) สามารถส่งสัญญาณวิทยุบอกตำแหน่งไปยังเรือใหญ่เมื่อจบภารกิจได้


แหล่งอ้างอิง

  • บทความของ วัชราภรณ์ สิทธิพงศ์
  • https://kukr2.lib.ku.ac.th
  • http://www.dockyard.navy.mi.th
  • http://www.rtni.org