⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

กองทัพเรือไทยจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox มือสองจากกองทัพเรือสหรัฐฯ จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือเดิมคือ FF-1095 USS Truett ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2537 และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเดิมคือ FF-1077 USS Ouellet ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2539 ซึ่งเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทั้งสองลำนั้นเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox รุ่นที่ติดตั้งระบบป้องกันตัวระยะประชิด CIWS แบบ Phalanx ขนาด 20mm ซึ่งเดิมทีนั้น กองทัพเรือมีความต้องการในการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox จำนวน 4-6 ลำ ในช่วงก่อน ปี 2540 แต่ได้ปรับลดเหลือเพียง 2 ลำ โดยก่อนหน้านั้นกองทัพเรือต้องการจัดหาเรือพิฆาตชั้น Charles F. Adams มือสองจากสหรัฐฯ ซึ่งปลดประจำการในช่วงใกล้เคียงกัน เนื่องจากต้องการเรือที่มีแท่นยิง Mk13 สำหรับยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-66 Standard SM-1 แต่ทางสหรัฐฯได้เสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ซึ่งตัวเรือมีอายุการใช้งานน้อยกว่าให้กองทัพเรือแทน ทั้งนี้สหรัฐฯ ยังได้ปฏิเสธที่จะเสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เป็นรุ่นติดตั้งแท่นยิง Mk25 สำหรับ RIM-7 Sea Sparrow ด้วย เหตุผลที่กองทัพเรือปลดประจำการ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อน ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็เนื่องจากอายุการใช้งานตัวเรือโดยรวมที่มากกว่า เพราะเดิมนั้น FF-1077 USS Ouellet นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1970–1993 ซึ่งตัวเรือได้ผ่านการปรับปรุงตัวเรือใหม่มาระยะหนึ่ง ก่อนที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือไทยประจำการเป็น ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ขณะที่ FF-1095 USS Truett นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1974–1994 และส่งมอบให้กองทัพเรือไทยแบบ Hot Transfer ในปีเดียวกันที่ปลดคือ พ.ศ.2537 ซึ่ง ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้นมีกำหนดจะปลดประจำการถัดไปในปี พ.ศ.2560


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 462
    • วางกระดูกงู 15 ม.ค. 2512
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 17 ม.ค. 2513
    • ขึ้นระวางประจำการที่สหรัฐฯ 12 ธ.ค. 2513
    • ขึ้นระวางประจำการที่ไทย 13 พ.ย.2541
    • ปลดประจำการ 1 เม.ย.2558
    • ผู้สร้าง Avondale Shipyard, Bridge City, Louisiana สหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 134 เมตร (438 ฟุต)
    • ความกว้าง 14.25 เมตร (46 ฟุต 9 นิ้ว)
    • กินน้ำลึก 7.54 เมตร
    • ระวางขับน้ำปกติ 3,232 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 4,212 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 28 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 5,550 ไมล์ ที่ 15 นอต
    • ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Super Lynx 300 1 เครื่อง
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ AN/SPS-10
    • เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ AN/SPS-40B
    • เรดาร์ควบคุมการยิง AN/SPG-53
    • เรดาร์เดินเรือ Marconi LN-66
    • โซนาร์หัวเรือ AN/SQS-26CX
    • โซนาร์ชักหย่อน AN/SQS-35 (V)
    • โซนาร์ลากท้าย AN/SQR-18A (V) 1
    • ระบบ ESM AN/SLQ-32 (V) 2
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่เรือ Mk.42 ขนาด 127 มม./54 คาลิเบอร์ จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล .50 จำนวน 4 กระบอก
    • ระบบป้องกันตัวระยะประชิด (CIWS) 1 ระบบ
    • ระบบ ASROC ใช้ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น สู่ พื้น ฮาร์พูน 4 ท่อยิง
    • ระบบ ASROC ใช้ยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ ได้ 4 ท่อยิง
    • แท่นยิง TORPEDO MK.32 ใช้ยิงTORPEDO MK.44 TORPEDO MK.46
    • แท่นยิงเป้าลวง Mk.137 2 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง
    • เป้าลวงตอร์ปิโด AN/SLQ-25 1 ชุด
    • ระบบยิงเป้าลวง Mk.36 SRBOC
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์แบบ เครื่องจักรไอน้ำ ขนาด 6 หม้อต้ม
    • เพลาใบจักร 2 เพลา
  • เรือในชุดเดียวกันเรือ

แหล่งอ้างอิง

  • http://aagth1.blogspot.com
  • http://www.navy.mi.th/frigate1/
  • https://th.wikipedia.org