ยานไร้คนขับ (Unmanned Vehicles) มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ (Ancient Greek) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชื่อ Archytas ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์นกพิราบ Mechanical Pigeon) ซึ่งสามารถบินได้สูง 200 เมตร ทำให้มีผู้กล่าวว่าการประดิษฐ์ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของการสร้างอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs) ต่อมายานไร้คนขับได้ถูกนำมาใช้ในช่วงของสงครามโลก โดยเฉพาะในช่วงของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ที่มีการประดิษฐ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นเครื่องมือต่างๆ นำมาใช้ในการทำสงคราม โดยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นยานไร้คนขับนั้นในช่วงแรกจะมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น บอลลูนสอดแนมไร้คนขับ (Unmanned surveillance balloons) ตอร์ปิโดที่ใช้โดยการควบคุมระยะไกล(Remotely controlled torpedoes) ว่าวที่สามารถถ่ายภาพทางอากาศได้ (Aerial kites) ผ่านการควบคุมระยะไกลโดยเชือก ซึ่งว่าวดังกล่าวจมีหน้าที่ในการถ่ายภาพตำแหน่งและป้อมปราการของฝ่ายศัตรู
ยานไร้คนขับสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs) คือ ยานทีปฏิบัติการในอากาศ
- ยานภาคพื้นไร้คนขับ (Unmanned Ground Vehicles : UGVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการบนพื้นดิน
- ยานไร้คนขับทางน้ำ (Unmanned Marine Vehicles : UMVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการในน้ำ โดยยานไร้คนขับทางน้ำสามารถแยกออกมาได้อีกสองรูปแบบได้แก่
- ยานผิวน้ำไร้คนขับ (Unmanned Surface Vehicles : USVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการบนผิวน้ำ
- ยานใต้น้ำไร้คนขับ (Unmanned Underwater Vehicles : UUVs) คือ ยานที่ปฏิบัติการใต้น้ำ
ในที่นี้จะเน้นในส่วนของยานผิวน้ำไร้คนขับ (USVs) เป็นสำคัญ โดยยานผิวน้ำไร้คนขับ (Unmanned Surface Vehicles) หมายถึง ยานที่สามารถปฏิบัติการบนผิวน้ำได้โดยปราศจากคนขับเคลื่อนบนยาน สามารถทำงานด้วยระบบควบคุมระยะไกล ระบบกึ่งอัตโนมัติและระบบอัตโนมัติ ยานผิวน้ำไร้คนขับยังสามารถแยกออกมาได้อีกหลายลักษณะ เช่น ยานกึ่งดำน้ า (Semi-Submersible Craft) โดยตัวเรือเกือบทั้งหมดจะอยู่ใต้ผิวน้ำ ทำให้ได้รับผลกระทบจากคลื่นลมน้อย จึงสามารถปฏิบัติงานได้ในเกือบทุกสภาพลมฟ้าอากาศ หรือยานท้องแบน กึ่งท้องแบน ไฮโดรฟอยล์ และแบบอื่นๆ หน้าที่ของยานผิวน้ำไร้คนขับ
- ด้านการทหาร เช่น การรักษาความปลอดภัยทางทะเล (Maritime Security – MS) การรบผิวน้ำ (Surface Warfare – SUW)
- ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การตรวจสอบสภาพแวดล้อมบริเวณน้ำตื้นสำหรับงานด้านอุทกศาสตร์ (Hydrography) การเก็บข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์ (Oceanography)
- ด้านการพาณิชย์ เช่น การสำรวจหาน้้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (Oil and Gas Exploration)
ตัวอย่างของยานผิวน้้ำไร้คนขับ เช่น ยาน C Enduro เป็นยานที่ปฏิบัติงานได้หลายหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ การเฝ้าสังเกตการณ์สภาพแวดล้อม ทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนในการปฏิบัติงานและมีความปลอดภัย ยาน C-Worker 6 สามารถค้นหาและติดตามตรวจสอบทางสิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ต้องอาศัยเรือเป็นฐานสถานี (environmental monitoring without the need of a ship on station) Seaswarm เป็นยานที่สามารถดูดซับ (absorb) น้ำมันที่รั่วไหลลงในทะเลได้ และ RO-BOAT River Cleaning Robot มีความสามารถในการเก็บขยะจากทะเลหรือแม่น้ าลำคลอง
ในทางการทหารของไทย ได้มีการดำเนินการพัฒนายานผิวน้้ำไร้คนขับ เช่น Marsun ได้เปิดตัวแผนพัฒนา SUV-10 ยานสำหรับการตรวจการณ์ในพื้นที่อันตราย โดยตัวเรือ มีความยาว 10 ม. กว้าง 3.2 ม. กินน้ำลึก 0.5 ม. ความจุเชื้อเพลิง 1,000 ลิตร ทำความเร็วได้สูงสุดมากกว่า 45 น๊อต ระยะปฏิบัติการมากกว่า 300 ไมล์ อาวุธปืน .50 นิ้ว ประกอบอยู่บนระบบกันโคลง ระบบตรวจจับด้วยภาพ อินฟราเรด และเรดาห์ ตัวเรือสร้างวัสดุผสม (Composite Meterials) รวมถึงติดตั้งเครื่องยนต์เรือเร็ว Speed Boat สองเครื่อง ซึ่งการออกแบบสร้างจะพยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในตลาด(Off the Shelf) เพื่อลดราคาไม่ให้สูงเท่าระบบ USV ของต่างประเทศ
แหล่งอ้างอิง
- บทความของ วัชราภรณ์ สิทธิพงศ์
- https://www.asianmilitaryreview.com
- http://marsun.th.com