เช็ก 4 ข้อควรระวังในการใช้แบบเหล็กก่อสร้าง

เริ่มโดย nenechan, ต.ค. 17, 2024, 01:47 PM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

nenechan

   ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้น 'ไม้แบบ' ถือเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่มีบทบาทในการวางรากฐานของสิ่งก่อสร้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนทั่วไป โรงงาน สะพาน หรืออาคารประเภทอื่น ๆ ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบที่ผลิตจากพลาสติกและแบบที่ผลิตจากเหล็ก หรือที่เรียกกันว่าแบบเหล็กก่อสร้าง
   และบทความนี้ จะมาบอกเล่าถึงข้อดีและข้อควรระวังในการใช้แบบเหล็กก่อสร้าง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้รับเหมา ช่างก่อสร้าง หรือผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จะได้เลือกใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและทำให้สิ่งก่อสร้างมีความแข็งแรง มั่นคงสูงสุด


   แบบเหล็กก่อสร้าง หมายถึง โครงสร้างชั่วคราวรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ มีให้เลือกใช้งานหลายขนาดและหลายรูปร่าง ใช้ติดตั้งเป็นแบบในการหล่อคอนกรีตในงานโครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเสา คาน พื้น หรือส่วนอื่น ๆ ซึ่งหน้าที่หลักของแบบเหล็ก คือการรับน้ำหนักของคอนกรีตและเป็นตัวช่วยกั้นพื้นที่ให้คอนกรีตที่เทลงไป หล่อออกมาได้ตามรูปร่างที่ต้องการ
   ข้อดีในการใช้แบบเหล็กหล่อคอนกรีตนั้น อยู่ที่ความสามารถในการรับน้ำหนัก ซึ่งสามารถรับได้เยอะ มีความแข็งแรงทนทานสูง ทนต่อแรงดันจากการเทคอนกรีตได้ดีโดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัว สามารถหล่อโครงสร้างออกมาได้อย่างแม่นยำและเที่ยงตรง แม้ว่าจะเป็นแบบหล่อที่ต้องอาศัยความแม่นยำสูง อย่างแบบหล่อคอนกรีตช่องทางน้ำ หรือแบบหล่อรากฐานอาคารขนาดใหญ่ก็ตาม ทำให้สามารถมั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้ชิ้นงานก่อสร้างที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยแน่นอน
   แต่แม้ว่าแบบเหล็กจะมีข้อดีอยู่มากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังที่ผู้ใช้งานไม่ควรมองข้ามเช่นกัน และนี่คือ 4 ข้อควรระวังในการใช้งานแบบเหล็กที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

   มีน้ำหนักมาก ต้องระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย
   ขึ้นชื่อว่าเป็นไม้แบบที่ทำจากเหล็ก ย่อมมีน้ำหนักเยอะกว่าไม้แบบพลาสติกเป็นเท่าตัว โดยแบบเหล็กขนาด 20x120 เมตร จะมีน้ำหนักประมาณ 8.7 กิโลกรัมเลยทีเดียว จึงส่งผลให้เคลื่อนย้ายลำบากและต้องใช้ความระมัดระวังสูง เพราะอาจเป็นอันตรายกับผู้ขนย้ายได้

   ต้องใช้คนจำนวนมากในการประกอบและขนย้าย
   สืบเนื่องมาจากข้อแรก เมื่อแบบเหล็กก่อสร้างมีน้ำหนักมาก ก็ต้องใช้คนจำนวนมากในการประกอบและขนย้าย อาจต้องจ้างแรงงานเพิ่มเพื่อมาทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ ถือเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น

   มีโอกาสเป็นสนิมง่ายหากโดนฝนหรือความชื้น
   แม้ว่าแบบเหล็กจะถูกเคลือบสารกันสนิมมาแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นสนิมได้ จึงต้องหมั่นดูแลรักษาให้ถูกวิธี และหลีกเลี่ยงการให้แบบเหล็กต้องสัมผัสกับฝนหรือความชื้นโดยเด็ดขาด

   ราคาจำหน่ายแบบเหล็กแพงกว่าแบบพลาสติก
   สุดท้ายคือเรื่องของราคาจำหน่าย ซึ่งแบบเหล็กก่อสร้างมีราคาแพงกว่าแบบพลาสติกเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า และหากเป็นการเช่า แบบเหล็กก่อสร้างยังเก็บค่ามัดจำแพงกว่าแบบพลาสติกด้วย

   ทั้งหมดนี้คือข้อดีและข้อควรระวังในการใช้แบบเหล็กก่อสร้าง ซึ่งไม้แบบแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป จะเลือกใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานนั่นเอง