ทำความรู้จักกับการปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์

เริ่มโดย poseidon, ก.ค. 26, 2023, 12:06 PM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

poseidon

การปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ หรือ Hydroponic หมายถึง การปลูกพืชในน้ำที่มีการผสมสารละลายที่เป็นธาตุอาหารเพื่อการปลูกเลี้ยง หรืออีกชื่อนึงคือ ปุ๋ยน้ำ โดยการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ ส่วนใหญ่จะปลูกในผักชนิดที่กินใบ และพืชที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ ในการเก็บเกี่ยว ผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมปลูกกันส่วนมาก ได้แก่ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค กรีนคอส ฟิลเลย์ ผักกาดหอม และบัตเตอร์เฮด ผักดังกล่าวนี้ มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 40-60 วัน และนิยมนำมาประกอบอาหารในเมนูสลัดหรือกินกันสด ๆ นอกจากนี้การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ ยังนิยมนำมาใช้ในการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศ มันฝรั่ง เมล่อน หัวไชเท้า หัวหอมใหญ่ และสตรอเบอร์รี ซึ่งการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในแต่ละชนิดจะต้องคำนึงถึงภาชนะที่ใช้ด้วยเช่นกัน โดยจะต้องเลือกขนาดของภาชนะที่เหมาะสม เพื่อที่พืชจะได้รับปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วน และเติบโตได้อย่างเต็มที่

ระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่นิยมมีอยู่คือ

1.DFT หรือ Deep Flow Technique หรืออีกชื่อหนึ่ง Deep water culture (DWC) คือ ระบบที่ปลูกพืชโดยให้รากแช่อยู่ในสารละลาย เช่น การปลูกพืชบนแผ่นโฟมหรือวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถลอยน้ำเพื่อยึดลำต้น โดยระบบ DFT จะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ Floating Hydroponic Systems หรือ ระบบไฮโดรโปนิกส์ลอยน้ำ ระบบนี้จะนิยมนำมาใช้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยทั่วไป อีกทั้งยังสามารถประยุกต์รางปลูกได้จากหลากหลายวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นกล่องโฟม ท่อน้ำ ขวดพลาสติก หรือถังน้ำ


2.NFT หรือ Nutrient Film Technique คือ ระบบที่ให้น้ำที่ผสมสารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นบาง ๆ บนรางปลูก โดยให้น้ำไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รางปลูกจึงต้องมีความลาดเอียง เพื่อที่จะให้แผ่นน้ำที่ไหลผ่านมีความบางคล้ายฟิล์ม


3.DRFT หรือ Dynamic Root Floating Technique เป็นระบบที่มีการไหลเวียนสารละลายธาตุอาหารผ่านรากพืชเหมือนกับระบบ NFT แต่ระดับน้ำที่ไหลจะมีความลึกกว่าคล้าย ๆ ระบบ DFT สามารถปรับระดับน้ำเพื่อเพิ่มอากาศให้เหมาะสมต่อการเจริญของพืชได้ เหมาะสำหรับการปลูกผัก โดยเพาะผักไทย

4.FAD หรือ Food and Drain คือ การปลูกพืชที่มีรูปแบบผสมผสานระว่าง NFT และ DFT เป็นการให้สารละลายธาตุอาหารพืชท่วมภาชนะปลูก และรากพืชอยู่ระยะเวลาหนึ่ง แล้วค่อย ๆ ระบายออกระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงให้สารละลายท่วมภาชนะอีกครั้ง สลับเช่นนี้เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง


5.Wick หรือ Kratky เป็นระบบที่ค่อนข้างประหยัด เนื่องจากเป็นระบบที่ไม่ต้องใช้ระบบไฟฟ้า ไม่ต้องเปลี่ยนสารอาหาร โดยวิธีนี้ จะทำการเติมสารอาหารใส่ภาชนะปลูก และทิ้งไว้จนครบวงจรชีวิตปลูก น้ำในภาชนะจะค่อย ๆ ระเหยไป ในขณะที่รากจะยาวขึ้น ทำให้รากบางส่วนแช่อยู่ในน้ำเพื่อดูดสารอาหาร และรากบางส่วนอยู่เหนือน้ำเพื่อดูดซึมอ๊อกซิเจน


6.Drip Irrigation หรือ ระบบน้ำหยด เป็นระบบการปลูกโดยมีถังน้ำผสมสารอาหารอยู่ด้านล่าง แล้วใช้ปั๊มสูบน้ำที่มีสารอาหารขึ้นไปใส่ต้นไม้แต่ละต้น ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด และจะมีการระบายน้ำออกจากรางปลูกอยู่เสมอ


สำหรับระบบที่นิยมปลูกในประเทศไทยคือ DFT (Deep Flow Technique) และ NFT (Nutrient Film Technique)

อ้างอิง