เนื่องจากประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งได้กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เพื่อร่วมมือกับประเทศภาคีอื่น ๆ ควบคุมการผลิตการขาย การนำเข้า การส่งออก การนำผ่านหรือการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาททั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มิให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลและสังคม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฉบับ พ.ศ. 2518 ขึ้น
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมออกมาอีกหลายฉบับตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ดังนี้
- พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528
- พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543
- ปี พ.ศ.2559 ได้ยกเลิก พ.ร.บ.ฉบับที่ 1,2,3,4 และได้ใช้ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 แทน
แหล่งอ้างอิง
- http://www.krisdika.go.th
- http://law.longdo.com