มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า วิธีจัด และ ปฏิบัติการของกรมศุลกากรนั้น สมควรจะกำหนดลงไว้ให้เป็นระเบียบสืบไป จึงให้ตราพระราชบัญญัติไว้
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมออกมาตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ดังนี้
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2471
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2472
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2474
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2475
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2480
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2480
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2483
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2534
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2540
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2543
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2543
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2548
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2548
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2557
- พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2557
โดยที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวหลายฉบับ ทําให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บังคับกฎหมายประกอบกับการค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้พัฒนาและขยายตัวมากขึ้น ทําให้มีความจําเป็นต้องปรับปรุงการดําเนินพิธีการศุลกากรและการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
แหล่งอ้างอิง
- http://www.krisdika.go.th
- http://law.longdo.com