Crossing the T หรือ Capping the T เป็นยุทธวิธีการรบทางเรือแบบคลาสสิกที่ใช้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดยที่แนวเรือรบฝ่ายหนึ่งแล่นผ่านหน้าแนวเรือของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดความได้เปรียบในการใช้ปืนเรือ ปืนทั้งหมดของฝ่ายแรกจะโจมตีเรือลำหน้าขบวนของอีกฝ่าย โดยสามารถใช้ปืนจากด้านข้างของเรือที่แล่นตัดหน้าได้พร้อมกันหลายลำ แต่อีกฝ่ายจะใช้ปืนได้เฉพาะเรือลำหน้าและด้านหัวเรือเท่านั้น เมื่อเข้าสู่การรบ เรือจะแล่นตามกัน และโค้งเล็กน้อยตามแนวท้ายเรือ การเคลื่อนไปข้างหน้าแนวข้าศึกในแนวตั้งฉาก (หัวตัว T ) ทำให้เรือรบสามารถระดมยิงที่เป้าหมายเดียวกันได้ทั้งป้อมปืนด้านหน้าและด้านหลัง เพิ่มโอกาสในการโจมตีสูงสุด
ความได้เปรียบนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เรือเป็นแบบปืนด้านข้าง และทางหัวเรือจะมีเพียงกระบอกเดียวซึ่งจะยิงไปด้านหน้าเท่านั้น ยุทธวิธีนี้ล้าสมัยไปมากด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี ขีปนาวุธ และเครื่องบิน เนื่องจากการโจมตีระยะไกลนั้นไม่ค่อยขึ้นอยู่กับทิศทางที่เรือกำลังเผชิญหน้า
การรบที่ใช้เแทคติกนี้ได้แก่
- การรบที่ Tsushima (1905) ระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย
- การรบที่ Elli (1912) ระหว่างกรีกกับตุรกี
- การรบที่ Jutland (1916) ระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน
- การรบที่แหลม Esperance (1942) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
- การรบที่ช่องแคบ Surigao (1944) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
แหล่งอ้างอิง
- https://hmong.in.th
- https://en.wikipedia.org