กองเรือคงชีพ หรือ Fleet in Being เป็นการใช้กองเรือที่มีอำนาจและจำนวนน้อยกว่า เพื่่อปฏิบัติการในทะเล โดยการคือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับข้าศึกที่่เหนือกว่าเพื่อออมกําลังที่มีอยู่น้อยกว่า แต่ก็สามารถแสดงตนเป็นภัยคุกคามต่อกําลังทางเรือของข้าศึกได้ต่อไป ซึ่งจะมีผลทําให้ข้าศึกต้องยุ่งยากในการตกลงใจ
ผู้ที่คิดยุทธศาสตร์นี้คือ พลเรือเอก Arthur Herbert, 1st Earl of Torrington แม่ทัพเรือของอังกฤษในช่วงปี ค.ศ.1690 โดย Herbert เห็นว่า กองเรือฝรั่งเศสตอนนั้นมีความเข้มแข็งกว่ากองเรือของอังกฤษมาก จึงต้องการสงวนกองเรืออังกฤษไว้ที่ช่องแคบอังกฤษเพื่อเป็นการตรึงกองเรือฝรั่งเศสไม่ให้ครองทะเลเพื่อบุกเกาะอังกฤษได้ และเพื่อรอกำลังเสริม แต่ดูเหมือนรัฐบาลอังกฤษจะไม่เข้าใจยุทธวิธีของ Torrington เท่าไหร่ พวกเขาคิดว่า Torrington ขี้ขลาดไม่กล้ารบกับฝรั่งเศสตรงๆ และบังคับให้เขาออกรบ นำมาซึ่งความพ่ายแพ้ต่อกองเรือฝรั่งเศสที่ Beachy Head ในปี ค.ศ.1690 ในเวลาต่อมา
การรักษากำลังตัวเองไว้เพื่อทำให้ข้าศึกที่อยู่ในพื้นที่อิทธิพลของฝ่ายเรารู้สึกพะว้าพะวง เพราะข้าศึกย่อมทราบดีว่าเรายังคงมีกองเรือที่พร้อมใช้งานอยู่ในมือ จะออกทะเลไปทำภารกิจที่อื่นต่อก็ไม่ได้เพราะอาจโดนกองเรือเราซุ่มโจมตี หรือถ้าจะสู้กับฝ่ายเรา เราก็ไม่ยอมออกมาสู้ด้วยสักที ทำได้เพียงตรึงกำลังต่อไป ซึ่งเหมือนเป็นเทคนิคในการเหนี่ยวรั้งข้าศึกไว้นั้นเอง ภัยคุกคามของกองเรือคงชีพสามารถป้องกันกำลังรบที่เหนือกว่าได้ โดยเบี่ยงเบนความสนใจหรือทำให้เกิดความกังวล ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการปฏิเสธการใช้ทะเลของข้าศึก (Sea Denial)
กองเรือคงชีพ ถูกใช้ในครั้งแรกในสมัย สงครามกรีก (Pelonponnesian War) เมื่อ 431-404 ปีก่อนคริสตกาล โดยกองเรือของนครรัฐ Syracuse ใช้ยุทธศาสตร์กองเรือคงชีพในอ่าวทางใต้ของอิตาลี โดยไม่ยอมออกมาสู้กับกองเรือผู้รุกรานของนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในขณะนั้น ทำให้กองเรือเอเธนส์ไม่สามารถครองทะเลและขยายขอบเขตการรบได้ เพราะไม่สามารถทำการส่งกำลังบำรุงทางทะเลได้ เนื่องจากต้องรอรับมือกองเรือของ Syracuse สุดท้ายนครรัฐสปาต้าร์ก็ได้เข้ามาแทรกแซงการรบทำให้ เอเธนส์พ่ายแพ้อย่างยับเยิน แต่แน่นอนว่าชาวกรีกไม่ใช่ผู้จำกัดความคำว่า Fleet-in-being เป็นครั้งแรก
แหล่งอ้างอิง
- http://www.rtnalibrary.com/
- นาวิกศาสตร์ ฉบับ เม.ย. 2556
- https://www.facebook.com/KODETAHARN