⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงคราม เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง (LSM : landing Ship, Medium) ชั้น LSM-1 เดิมชื่อ USS LSM-469 ของประเทศสหรัฐอเมริกา เคยได้ปฏิบัติภารกิจ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก ผ่านสมรภูมิสำคัญในพื้นที่เกาะกวม – ญี่ปุ่น และได้รับเหรียญ NAVY OCCUPATION SERVICE ในสงครามด้วย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้นำไปใช้ในภาคพื้นตะวันออกไกล ช่วง 20 ก.ย. 2488 – 11 เม.ย. 2489 เข้าร่วมกองเรือสำรองในแปซิฟิกเหนือ ประเทศแคนนาดา ในปี พ.ศ.2504 รัฐบาลไทยได้รับมอบ LSM 469 จากรัฐบาลสหรัฐฯ ในโครงการช่วยเหลือทางทหาร เมื่อ 25 พ.ค. 2505 โดยเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบก กองเรือยุทธการ และได้รับชื่อว่า “เรือหลวงคราม(HTMS.KRAM)” จนกระทั่งปี 2545 ตัวเรือได้มีสภาพทรุดโทรมมาก การซ่อมทำเพื่อใช้ราชการต่อไปไม่คุ้มค่า เรือหลวงครามจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นปะการังเทียม เมื่อ 1 ก.พ. 2546 ที่ เกาะไผ่ พัทยา จ.ชลบุรี


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 3 และ หมายเลข 732
    • วางกระดูกงู 27 ม.ค. 2488
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 17 ก.พ. 2488
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐฯ 17 มี.ค. 2488
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 25 พ.ค. 2505
    • ปลดประจำการ 26 ก.พ. 2545
    • ผู้สร้าง อู่ต่อเรือ Brown Shipbuilding Co., Houston, TX ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 61.50 เมตร
    • ความกว้าง 10.51 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.27 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 13.5 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 513 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 912 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,580 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 65 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก 40 มม. แท่นคู่ 1 กระบอก
    • ปืนกล 20 มม. 4 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ดีเซล Fairbanks Morse (model 38D81/8X10, reversible with hydraulic clutch) 1,800 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 100Kw จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 20Kw จำนวน 1 เครื่อง
    • ใบจักร 2 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navsource.org
  • https://km.dmcr.go.th