ความเป็นมาของโครงการ
เรือหลวงนาคา LCS(L)(3)-102 เป็นเรือในชั้น LCS(L)(3) หรือ Landing Craft Support (Large)(Mark 3) เป็นเรือที่กองทัพเรือสหรัฐ ต่อขึ้นมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีหน้าที่สนับสนุนนาวิกโยธินในการยกพลขึ้นบก เรือ LCS(L)(3) ถูกต่อมาทั้งหมด 130 ลำ โดยแต่ละลำจะมีตัวเลขลำดับต่อท้าย โดยลำแรกชื่อว่า LCS(L)(3)-1 และลำสุดท้ายชื่อว่า LCS(L)(3)-130 ต่อมากองทัพเรือสหรัฐได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็น LSSL หรือ Landing Ship Support, Large เรือลำนี้ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการยกพลขึ้นบกของนาวิกโยธินสหรัฐภาคพื้นแปซิฟิก เช่นที่ Iwo Jima, Tarakan, Balikpapan และ Okinawa หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เรือถูกเก็บสำรองราชการ หลายลำถูกฟื้นสภาพนำกลับมาใช้ในสงครามเกาหลี และหลายลำถูกมอบให้กับประเทศพันธมิตรอื่น ๆ ต่อมากองทัพเรือสหรัฐมอบให้กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่นในวันที่ 30 เม.ย. 2496 และเปลี่ยนชื่อเป็น JMSDF Himawari และกองทัพเรือสหรัฐได้ขอคืน และมอบต่อให้กองทัพเรือไทยในปี พ.ศ. 2509 เมื่อวันพุธที่ 23 พ.ค. 2550 ทร.ไทย ได้ส่งมอบ เรือหลวงนาคา ตามความเห็นชอบของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อนำเรือไปเป็นเรือพิพิธภัณฑ์ ทางประวัติศาสตร์ที่ Mare Island Naval Shipyard เมือง Vallejo มลรัฐ California ประเทศสหรัฐฯ ภายใต้ เงื่อนไขการคืนเรือจะกระทำในลักษณะตามสภาพที่เป็นอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบัน (As is Where is) โดยให้ทางการสหรัฐฯ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด และคงชื่อ “H.T.M.S. NAKHA” ไว้เพื่อเป็นเกียรติแก่ ประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 751
- วางกระดูกงู 13 มี.ค. 2488
- ปล่อยเรือลงน้ำ 3 ก.พ. 2488
- ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐฯ 17 ก.พ. 2488
- ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 4 ต.ค. 2509
- ปลดประจำการ 4 ต.ค. 2549
- ผู้สร้าง อู่ต่อเรือ Commercial Iron Works เมือง Portland รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 48 เมตร
- ความกว้าง 7.21 เมตร
- กินน้ำลึก 1.73 เมตร
- ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
- ความเร็วสูงสุด 16.50 นอต
- ระวางขับน้ำปกติ 250 ตัน
- ระวางขับน้ำเต็มที่ 387 ตัน
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 5,500 ไมล์ ที่ 12 นอต
- กำลังพลประจำเรือ 71 นาย
- ระบบอาวุธ
- ปืน 76 มม. 1 กระบอก
- ปืน 40 มม. แท่นคู่ 2 กระบอก
- ปืนกล 20 มม. 4 กระบอก
- แท่นปล่อยจรวด mk7 จำนวน 10 แท่น
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องยนต์ดีเซล 2 เครื่อง
แหล่งอ้างอิง
- https://en.wikipedia.org
- http://www.manager.co.th