Rate this place

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงสุโขทัย(ลำที่ 1) เป็นเรือในชุดเรือหลวงชุดรัตนโกสินทร์ (Rattanakosin-class gunboats) จัดเป็นประเภทเรือปืนเบา ลำที่สอง ต่อที่อู่ของบริษัทอาร์มสตรอง ที่เอส์วิค ในประเทศอังกฤษ เรือหลวงสุโขทัยได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในปีค.ศ.1928 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่19 พฤศจิกายน ค.ศ.1929 ทำการขึ้นระวางประจำการในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ.1930 เรือหลวงในชุดรัตนโกสินทร์ ได้ผ่านช่วงเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์ เช่น ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หลวงศุภชลาสัยได้รับมอบหมายจากคณะผู้ก่อการให้นำหนังสือกราบบังคมทูล เชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ให้ทรงเสด็จกลับมาเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยหลวงศุภชลาสัยได้เดินทางด้วยเรือหลวงสุโขทัยไปยังพระราชวังไกลกังวลซึ่งตอนนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงประทับอยู่ ซึ่งหลวงศุภชลาศัยก็ให้เรือจอดห่างจากชายฝั่งโดยสั่งให้เรือหันปืนทุกกระบอกไปยังพระราชวังไกลกังวลพร้อมที่จะระดมยิงเข้าใส่ แล้วก็มีการสั่งไว้ว่าหากไม่เห็นสัญญาณตามเวลานัดหมายให้ระดมยิงเข้าใส่พระราชวังไกลกังวลทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวหลวงศุภชลาศัยหรือผู้ใดทั้งสิ้น แล้วจึงถือหนังสือไปกับเรือบด ถึงชายฝั่งทหารผู้บัญชาการฝ่ายวังที่อยู่ตรงนั้นให้ทหารจับตัวหลวงศุภชลาศัยโดยหลวงศุภชลาศัยได้ชี้แจงว่ามาในนามทูตฝ่ายคณะราษฎรเพื่อนำหนังสือทูลเกล้าถวาย โดยทหารคนดังกล่าวไม่ยอม หลวงศุภชลาศัยจึงให้ทหารคนดังกล่าวส่องกล้องเพื่อมองที่เรือที่หันปืนใหญ่มาที่วังโดยขู่ด้วยว่าไม่มีปืนที่วังกระบอกไหนที่จะสามารถยิงถึงเรือหลวงสุโขทัย ในขณะที่ปืนจากเรือสามารถยิงมาถึงที่วังนี้ได้ จึงยอมให้หลวงศุภชลาศัยเข้าเฝ้า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงทอดพระเนตรลายมือของกรมพระนครสวรรค์ฯ ที่ได้ลงนามมากับหนังสือดังกล่าว จึงทรงยอมเสด็จกลับไปกับ หลวงศุภชลาศัยโดยทีแรกจะให้เสด็จกลับทางเรือ แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ปฎิเสธเเละเรียกร้องให้ทางคณะราษฎรจัดรถไฟมารับเสด็จเเทน หลวงศุภชลาศัยจึงโทรเลขกลับมาที่กรุงเทพ พระยาพหลฯ ก็มีหนังสือกลับมาว่าจะส่งรถไฟพระที่นั่งมาที่สถานีหัวหินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จึงทรงยอมเสด็จกลับพระนคร


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 2
    • วางกระดูกงู พ.ศ. 2471
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 19 พ.ย. 2472
    • ขึ้นระวางประจำการ ธ.ค. 2473
    • ปลดประจำการ พ.ศ. 2514
    • ตัวเรือสร้างด้วย เหล็ก
    • ผู้สร้าง อู่ต่อเรือ บริษัท Armstrong, Whitworth & Co Ltd ในประเทศอังกฤษ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 53.04 เมตร
    • ความกว้าง 11.30 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.28 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 886 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,000 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,000 ไมล์ ที่ 10 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 103 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 152 มม. แท่นคู่ 2 กระบอก
    • ปืน 76.2 มม. 4 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ เเบบเครื่องจักรไอน้ำ 2 เครื่อง หม้อน้ำ 2 หม้อ 850 เเรงม้า
    • ใบจักร 2 เพลา
ภาพลายเส้น โดยบริษัทต่อเรือ

แหล่งอ้างอิง

  • http://warshipsthailand.blogspot.com
  • http://www.tynebuiltships.co.uk