ความเป็นมา
เรือหลวงธนบุรีเป็นเรือรบประเภทเรือปืนยามฝั่ง จัดอยู่ในชั้นเรือเดียวกันกับเรือหลวงศรีอยุธยา ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือกาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2479 เป็นกำลังสำคัญของกองทัพเรือไทยในช่วงกรณีพิพาทระหว่างไทย – อินโดจีนฝรั่งเศส โดยเรือหลวงธนบุรีได้เข้าทำการรบอย่างกล้าหาญในยุทธนาวีเกาะช้างเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 จนสามารถขับไล่ข้าศึกได้สำเร็จ แต่เรือได้รับความเสียหายอย่างหนักมาก เรือหลวงช้างจึงลากจูงให้มาเกยตื้นในเย็นวันเดียวกันที่แหลมงอบ จังหวัดตราด ภายหลังเมื่อมีการกู้เรือหลวงธนบุรีแล้ว กองทัพเรือได้ลากจูงเรือมาทำการซ่อมใหญ่ในวันที่ 26 ก.ย. 2484 แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเสียหายหนักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ จึงปลดระวางจากการเป็นเรือรบ และใช้เป็นกองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ จนปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2502 ทางราชการจึงได้นำส่วนป้อมปืนเรือและหอบังคับการของเรือหลวงธนบุรีมาจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ภายในโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อของเรือหลวงธนบุรีได้มาจากนาม “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” อันเป็นนามของราชธานีไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2310 – 2325)
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- วางกระดูกงู 12 ม.ค.2479
- ปล่อยเรือลงน้ำ 31 ก.ค. 2480
- ขึ้นระวางประจำการ 5 ต.ค. 2481
- ปลดประจำการ 26 ก.ย. 2484
- ผู้สร้าง คะวะซะกิ เมืองโคเบะ ประเทศญี่ปุ่น
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 77.01 เมตร
- ความกว้าง 14.43 เมตร
- กินน้ำลึก 4.19 เมตร
- ระวางขับน้ำ ปกติ 2,301 ตัน สูงสุด 2,265 ตัน
- ความเร็วมัธยัสถ์ 12.20 นอต
- ความเร็วสูงสุด 15.80 นอต
- ระยะปฏิบัติการ 11,100 ไมล์ ที่ 12.20 นอต
- กำลังพลประจำเรือ 234 นาย
- ระบบอาวุธ
- หมู่ปืนใหญ่ 8 นิ้ว (203 มม.) Naval Gun Type 3 ป้อมละ 2 กระบอก จำนวน 2 ป้อม
- ปืนอเนกประสงค์ 75 มม. Type 51 จำนวน 4 กระบอก
- ปืนกลอากาศ 20 มม. แท่นคู่ จำนวน 2 แท่น
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องยนต์ดีเซล 2 เครื่อง กำลัง 5,200 แรงม้าต่อเครื่อง
- พาราเวนกวาดทุ่นระเบิด 2 ชุด
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือหลวงศรีอยุธยา
- เรือหลวงธนบุรี
แหล่งอ้างอิง
- https://th.wikipedia.org
- http://www.payanakmodel.com