ความเป็นมา
เรือในทะเลของไทยขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ ในยามสงครามก็ใช้ในการรบ ยามปกติก็ใช้ในการค้า โดยแบ่งลักษณะเรือออกเป็น 2 ประเภท อย่างกว้าง ๆ คือ
- เรือแบบตะวันออก ได้แก่ เรือสำเภา หรือเรือแบบจีน
- เรือแบบตะวันตก ได้แก่ เรือกำปั่นแบบฝรั่ง คำว่า “กำปั่น” ซึ่งหมายถึง เรือเดินทะเลแบบฝรั่ง
- เรือชนิดบริก (Brig) เป็นเรือ 2 เสา ทั้งสองเสาใช้ใบตามขวาง และมีใบใหญ่ที่กาฟ์ฟ
- เรือชนิดบาร์ก (Bargue) เป็นเรือ 3 เสาหน้าและเสาใหญ่ใช้ใบตามขวาง เสาหลังใช้ใบตามยาว
- เรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) เป็นเรือ 2 เสา แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เรือบรรทุกสินค้า และแบบเรือยอชท์ สำหรับท่องเที่ยว
ในสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าทางทะเลมีน้อยกว่าในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้สร้างเรือกำปั่นของไทยสำหรับการค้าทางทะเล และมีเรือรบจำพวกเรือเดินทะเล เพราะในขณะนั้นมีศึกสงครามรบกับญวน จำเป็นต้องมีเรือรบไว้ใช้ในราชการมากขึ้น เรือรบไทยได้เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นเรือกำปั่นแบบฝรั่ง โดยเรือวิทยาคมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 – 2380 พระอนุรักษ์โยธา อำนวยการต่อที่จันทบุรี เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด 800 ตัน (บางแห่งว่า 1,400 ตัน) เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ. 2394 และ พ.ศ. 2395 ได้นำราชทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน จอดที่เมืองกวางตุ้ง เรือลำนี้อับปาง แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อใดและที่ใด
แหล่งอ้างอิง
- http://www.kingrama3.or.th
- กรมยุทธการทหารเรือ, ประวัติเรือรบไทย. โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, 2520