Rate this place

⇧ เทคโนโลยีทางเรือ

อากาศยานไร้คนขับ หรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicles: UAVs) เป็นอากาศยานที่ไม่มีนักบินประจำการอยู่บนเครื่อง อากาศยานที่ไร้คนขับแต่สามารถควบคุมได้ อากาศยานไร้คนขับมีรูปร่าง ขนาด รูปแบบ และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามหลักแล้วอากาศยานไร้คนขับ คือ โดรน (Drone) นั่นเอง สามารถควบคุมจากระยะไกล ใช้การควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การควบคุมอัตโนมัติจากระยะไกล และการควบคุมแบบอัตโนมัติโดยใช้ระบบการบินด้วยตนเองซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

อากาศยานไร้คนขับ เกิดจากแนวคิดของ Nikola Tesla ซึ่งเป็นวิศวกรเครื่องกลและไฟฟ้าเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับกองบินอากาศยานไร้คนขับขึ้นในปี พ.ศ. 2458 และในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการสร้างอากาศยานไร้คนขับรุ่นแรก ซึ่งเป็นเป้าฝึกทางอากาศ (Aerial Target) โดย Archibald Montgomery Low (A.M. Low) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์และเป็นนักวิศวกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องบิน จากนั้นอากาศยานไร้คนขับก็มีการพัฒนากันอย่างแพร่หลายมากขึ้นรวมทั้งก่อให้เกิดเครื่องบินอัตโนมัติฮีวิตต์-สเปอร์รี (Hewitt-Sperry Automatic Airplane) ขึ้นมาอีกด้วย

ยุคแรกๆ อากาศยานไร้คนขับถูกสร้างขึ้นมา เพื่อภารกิจการลาดตระเวนหาข่าว และ เนื่องจากอากาศยานไร้คนขับมีจุดเด่นในเรื่องการปราศจากความเสี่ยงในการสูญเสียนักบิน ประหยัดงบประมาณ ในการผลิต เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนมากนัก มีขนาดเล็ก ทำการตรวจจับได้ยาก มีความคล่องตัวสูง ระยะเวลาบิน ไม่ขึ้นอยู่กับความเมื่อยล้าของนักบิน เพราะใช้นักบินภายนอก (External Pilot) ดังนั้นอากาศยานไร้คนขับจึงได้ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้น และใช้ในภารกิจหลากหลายมากขึ้น เช่น การค้นหาเป้าหมาย (Target Acquisition) เพื่อชี้เป้า และในปี พ.ศ. 2507 ได้มีอากาศยานไร้คนขับของกระทรวงกลาโหมประเทศต่าง ๆ เกิดขึ้นถึง 11 แบบ เช่น Hunter Pioneer Predator ของกองทัพสหรัฐ Phoenix ของประเทศอังกฤษ Searcher ของประเทศอิสราเอล เป็นต้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2533 อากาศยานไร้คนขับจึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับสงครามในปัจจุบันและอนาคต เป็นเครื่องมือเฝ้าตรวจจากระยะไกลที่สามารถส่งภาพกลับให้ผู้บังคับบัญชาเห็นได้ในเวลาจริงหรือใกล้เวลาจริง


ในปัจจุบัน ผลิต UAV เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานหลากหลาย ทั้งการใช้งานเพื่อเกมกีฬา เพื่อความเพลิดเพลิน หรือเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการถ่ายภาพ เป็นต้น ดังนี้

  • ใช้บันทึกภาพมุมสูง โดยการนำกล้องมาติดที่ตัวโดรนเพื่อถ่ายรูปจากมุมมองแปลกๆ ใหม่ๆ และในมุมที่เราไม่สามารถถ่ายได้ด้วยตัวเอง
  • ใช้บันทึกภาพการถ่ายทอดสดต่างๆ มีลักษณะการใช้งานคล้ายการติดกล้องเพื่อถ่ายรูป แต่เปลี่ยนมาเป็นกล้องวีดิโอเพื่อบันทึกภาพเคลื่อนไหวจากมุมต่างๆ แทน การใช้โดรนในลักษณะนี้ส่วนมากเราพบได้ในการถ่ายทอดกีฬาหรือคอนเสิร์ต เป็นต้น
  • ใช้เป็นพาหนะในการขนส่งสินค้า โดยมีบริษัทใหญ่เริ่มนำร่องการใช้งานโดรนเพื่อโลจิสติกส์คือ Google และ Amazon
  • ใช้เพื่อฉีดพ่นปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ ในด้านการเกษตร เป็นการลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีโดยตรงของมนุษย์
  • ใช้ติดกล้องเพื่อการสำรวจ สภาพการจราจรและลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศต่างๆ
  • ใช้ด้านความปลอดภัยและความมั่นคง โดยในระยะหลังโดรนสามารถใช้ร่วมกับการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น ดินถล่ม หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อากาศยานไร้คนขับที่ใช้ทางทะเล ประเภทต่าง ๆ แบ่งได้ดังนี้

  • อากาศยานไร้คนขับแบบเพดานบินปานกลาง (Medium-altitude, long Endurance Unmanned Aerial Vehicles (MALE UAV) สามารถบินลาดตระเวนได้ไกล มีเพดานบินสูงประมาณ 18,000 – 60,000 ฟุต บินได้นาน 10 – 48 ชม. บรรทุกได้ระหว่าง 1,000 – 30,000 ปอนด์ ตัวอย่างเช่น ยาน Hermes 900 MALE UAV ผลิตโดยบริษัท Elbit Systems ของอิสราเอล
  • อากาศยานไร้คนขับแบบเพดานบินสูง (High-altitude, long Endurance Unmanned Aerial Vehicles (HALE UAV) สามารถที่จะบินลาดตระเวนได้ไกล พดานบินสูงมากกว่า 60,000 ฟุต บินได้นาน 10 – 48 ชม. บรรทุก Payload ได้ระหว่าง 1,000 – 30,000 ปอนด์ ตัวอย่างเช่น ยาน MQ-4C Triton HALE UAV พัฒนาโดยบริษัท Northrop Grumman
  • อากาศยานไร้คนขับที่ปฏิบัติการบนเรือ (Shipboard UAS) เป็นอากาศยานไร้คนขับที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถบินขึ้นและลงจอดบนเรือได้ มีทั้งแบบปีกหมุนและปีกนิ่ง แต่อากาศยานแบบปีกหมุนจะเป็นที่นิยมใช้มากกว่า เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ในการบินขึ้นเหมือนกับอากาศยานแบบปีกนิ่ง อีกทั้งไม่ต้องใช้ร่มในการลงจอด ท าให้สามารถบินขึ้นและลงจอดทางดิ่งบนเรือได้สะดวก ตัวอย่างเช่น ยาน V-200 Block 20 UAS ปัจจุบันเข้าประจำการในกองทัพเรือของแคนาดาและเยอรมนี เป็นอากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุน

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.oncb.go.t
  • http://dspace.dti.or.th