รังกา หรือ crow’s nest มีลักษณะเป็นคอกที่กั้นเป็นวงหรือสี่เหลี่ยมบนยอดเสากระโดงเรือ มีไว้สำหรับยามยอดเสา ยืนสังเกตการณ์สิ่งต่างๆ รอบเรือที่ไกลออกไป เช่น เรือลำอื่น จุดอันตราย หรือ เกาะ หินโผล่พ้นน้ำ ต่างๆ จุดเริ่มต้นมาจาก ในสมัยโบราณ ทหารเรือของนอร์เวย์ได้นำกรงใส่กาไปผูกไว้บนยอดเสา เมื่อหลงทางหรือหาทางเข้าฝั่งไม่ได้ จะปล่อยกาออกไปหนึ่งตัว และสังเกตว่ามันบินไปทางไหน ก็จะหันหัวเรือไปทางทิศนั้นเพื่อไปยังแผ่นดิน ซึ่งเป็นวิธีการเดินเรืออย่างหยาบ ๆ แต่ใช้งานได้ดีตามวิทยาการในสมัยนั้น ในภายหลัง การมาของเรดาห์ทำให้ความจำเป็นของการรังกาลดน้อยลงไปตามลำดับ แต่ก็ยังมีพบเห็นอยู่
ในปัจจุบัน ในวงการทหารเรือ ยังใช้วิธีแบบยามรังกาอยู่ แต่เรียกว่า ยามทัศนะ เป็นยามที่ยืนอยู่บนดาดฟ้าทัศนะ (ทัศนสัญญาณ) คือยืนอยู่ ณ จุดสูงๆ อาจอยู่บนหลังคาสะพานเดินเรือ โดยยามทัศนะหรือยามรังกานี้ มีหน้าที่ รอชักธงสัญญาณ ส่ง-รับ ข่าวทางทัศนะกับเรือพวกเดียวกัน เช่น ธงประมวลไทย/สากล international code ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารที่ปลอดภัยมากที่สุดวิธีหนึ่งของทหาร เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการดักรับการสื่อสารน้อย อีกทั้งยามทัศนะนี้ ยังมีหน้าที่ตรวจการณ์ระยะไกลทางสายตาด้วยกล้องส่องทางไกลอีกด้วย ซึ่งมีหลายๆครั้งที่เรดาห์ไม่สามารถตรวจพบได้
แหล่งอ้างอิง
- https://en.wikipedia.org
- https://iamjasonbrown.wordpress.com
- หนังสือขนบธรรมเนียม ประเพณีทหารเรือ