⇧ เหตุการณ์สำคัญ

หลังการฝึกร่วม ปี 16 ตามแผนยุทธการสามชัย ในการปราบปราม ผกค. ที่ภูหินร่องกล้า บริเวณพื้นที่รอยต่อของจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และ เลย ได้เสร็จสิ้นไปด้วยความสำเร็จผลอย่างงดงามแล้ว บก.ทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้มีการฝึกร่วมในปี 17 อีกครั้งหนึ่ง ตามแผนยุทธการผาภูมิ เพื่อปราบปราม ผกค. ที่ดอยผาจิ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน ยุทธการผาภูมิเป็นการฝึกร่วม ประจำปี 2517 ระหว่าง 3 เหล่าทัพ ร่วมกับกำลังตำรวจและพลเรือน เป็นการฝึกในลักษณะจริงคือ การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมูนิสต์ มีกองทัพบกเป็นผู้รับผิดชอบประสานการปฏิบัติโดยตรงกับกองทัพเริอ กองทัพอากาศ ตำรวจและพลเรือน ตามคำสั่ง บก.ทหารสูงสุด ให้ ทร. จัดกำลังร่วมในการฝึก จึงขอให้ ทร. จัดตั้งกองอำนวยการฝึกร่วมฝ่ายทหารเรือ ปี 17 (กอฝ.ทร.17) วางแผน ควบคุม และ อำนวยการ ด้านการสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยกำลัง ทร. ตามแผนการฝึกร่วม ปี 17 จัดตั้งกำลังเฉพาะกิจนาวิกโยธินเข้าร่วมการฝึก โดยมอบให้ขึ้นการควบคุมอำนวยการแก่ กอฝ.ทร.17 ตั้งแต่ขั้นเตรียมการจนเสร็จสิ้น การฝึก (กองทัพเรือ มอบให้ กรมนาวิกโยธิน เป็นหน่วยจัดกำลัง 1 กองพันทหารราบเพิ่มเติมกำลัง) การจัด ฉก.นย. 171 การจัดกำลัง 1 กองพันทหารราบเพิ่มเติมกำลังครั้งนี้ มีชื่อเรียกหน่วยนี้เป็นทางราชการว่า “หน่วยกำลังเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 171” เรียก ชื่อย่อ ว่า “ฉก.นย. 171” ยุทธการผาภูมิ เหตุผลที่เรียกชื่อหน่วยนี้เป็นตัวเลขว่า “ฉก.นย. 171” เนื่องจากในขณะนั้น พลเรือโทโสภณ สุญาน เศรษฐกร เป็น ผบ.นย. มีแนวความคิดว่า หากในปีนี้เรียกชื่อหน่วยนี้ว่า พัน.ฉก.นย. อีก ชื่อนี้ ก็จะซ้ำกับ พัน.ฉก.นย. ในการปราบปราม ผกค. ที่ภูหินร่องกล้าของปีที่แล้ว ผบ.นย. จึงกำหนดนโยบายในการให้ตัวเลขของหน่วยว่า “ตัวเลข 2 ตัวแรกจะเป็นปีของ พ.ศ. ที่ออกปฏิบัติการและตัวเลขตัวหลังจะเป็นจำนวนครั้งของทหาร นย. ที่ออกปฏิบีติการในปี งป. นั้น ซึ่งในปีนี้นับเป็นปีแรกที่ นย. ใช้ระบบการเรียกชื่อของหน่วยเป็นตัวเลขอย่างนี้ และ นย. ใช้ระบบนี้อยู่หลายปี จนกระทั่งเลิกใช้ เมื่อ งป.27 ฉะนั้น ฉก.นย. 171 จึงมีความหมายว่า นย. จัด ฉก.นย. หน่วยนี้ออกปฏิบัติการใน ปี งป.17 เป็น ครั้งที่ 1 ของปีงปประมาณนั้น สำหรับ ผบ.หน่วย ฉก.นย.171 คือ น.อ.ผลึก สระวาสี เป็น ผบ.ฉก.นย.171 น.ท.เสริมศักดิ์ สังขจันทรานนท์ เป็น รอง ผบ.ฉก.นย.171 และ น.ท.ธรรมนูญ นาคสกุล เป็น เสธ.ฉก.นย.171 มียอดกำลังพลรวม 1,247 นาย


ในการเคลื่อนย้ายไปพื้นที่ปฏิบัติการของ ฉก.นย. 171 นั้น เริ่มสนธิกำลังที่สัตหีบ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของทหารนาวิกโยธินที่ได้เคลื่อนย้ายกำลังทั้งกองพันเพิ่มเติมกำลังด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศ จากสัตหีบไปจังหวัดเชียงราย สำหรับพลทหารนั้นตื่นเต้นมาก เพราะตลอดชีวิตนี้อาจจะไม่มีโอกาสได้ขึ้นเครื่องบินอย่างนี้อีก ฉก.นย.171 ขึ้นเครื่องบินของกองทัพอากาศ ชนิด ซี.123 ออกเดินทางจากสนามบินกองบิน 7 สัตหีบ (บน.7 ขณะนั้นยังเป็นของกองทัพอากาศ) ไปลงที่สนามบิน อ.เชียงคำ จว.เชียงราย ต่อจากนั้นเคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์เข้าพื้นที่ปฏิบีติการที่ ดอยผาจิ จว.เชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน ตามแผนยุทธการผาภูมิ บก.ทหารสูงสุดได้กำหนดการปฏิบัติออกเป็น 2 ช่วง คือ

  • ช่วงแรกตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2516 เป็นการฝึกเสริมความมั่นคงเพื่อให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยแก่ราษฎรในหมู่บ้านให้คำแนะนำในการป้องกันหมู่บ้านสำรวจความเป็นอยู่ของราษฎร ปฏิบัติการจิตวิทยารวมทั้งการดำเนินการต่างๆ เพื่อตัดความสัมพันธ์ระหว่าง ผกค. ในป่ากับราษฎรในหมู่บ้าน
  • ช่วงที่ 2 เป็นการปฏิบัติการขั้นแตกหักตั้งแต่วันที่ 9 – 30 ธันวาคม 2516 รวมระยะเวลาในการปฏิบัติการรบครั้งนี้ 22 วัน โดยได้รับมอบพื้นที่ปฏิบัติการ ที่ บ.ขุนน้ำยัด ดอยผาจิ อ.ปง จว.เชียงราย ได้ใช้กำลังพิสูจน์ทราบและกวาดล้าง ผกค. ตามพิกัดเป้าหมาย ที่ได้รับมอบจากหน่วยเหนือและสามารถยึดที่หมายต่างๆ ไว้ได้สำเร็จตามภารกิจที่ได้รับมอบ และได้เดินทางกลับสู่พื้นที่ราบถึงฐาน บ.ผาตั้ง เมื่อ วันที่ 30 ธันวาคม 2516

ฉก.นย.171 เมื่อสำเร็จภารกิจที่ได้รับมอบและจบการฝึกร่วม ปี 17 ตามแผนยุทธการผาภูมิแล้ว ได้เคลื่อนย้ายกลับที่ตั้งปกติ โดยทางรถไฟถึงสถานีรถไฟหัวลำโพงและเคลื่อนย้ายต่อด้วยยานยนต์ กลับสัตหีบถึงที่ตั้งปกติเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2517 รวมเวลาในการเดินทางไปปฏิบัติการครั้งนี้ 84 วัน บทเรียนจากการรบ


แหล่งอ้างอิง

  • https://www.facebook.com/warofhistory