ที่มาของการจัดทหารนาวิกโยธินปราบปรามการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในเขตจังหวัดภาคใต้ สืบเนื่องจากค่ายกรุงชิงซึ่งเป็นค่าย ผกค. อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบ ของกองทัพภาคที่ 4 ของกองทัพบกและกองทัพภาคที่ 4 ได้ส่งกำลังเข้าปราบปราม ผกค. ณ ที่แห่งนี้หลายครั้งแต่ ผกค. ในพื้นที่ส่วนนี้ก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวไม่หมดสิ้น ต่อมาเนื่องจากการขาดแคลนกำลังพล ของกองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกจึงได้ขอกำลังทหารนาวิกโยธิน จำนวน 1 กองพันทหารราบ เพิ่มเติมเพื่อมากำลังสนับสนุนในการปราบปราม ผกค. กลุ่มนี้ และในที่สุดกองบัญชาการทหารสูงสุดก็ได้อนุมัติ ตามข้อเสนอของกองทัพบก และได้เข้าปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. 2520 โดยประกอบกำลังเป็นหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 201 (ฉก.นย.201) โดยจัดกำลังจาก พัน.ร.8 ผส.นย. สมทบด้วย ตชด. 1 หมวด จำนวน 25 นาย และ ทบ. 1 หมวด ซึ่งมี น.ท.ศุภนิตย์ จูฑะพุทธิ ผบ.พัน.ร.8 ผส.นย. เป็น ผบ.ฉก. ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ ทภ.4 ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. 2520 ถึงวันที่ 20 ต.ค. 2520 โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญได้แก่ การนำกำลังเข้าปราบปราม ผกค. ที่ค่ายกรุงชิง ต.นพพิตำ อ.ท่าศาลา จว.นครศรีธรรมราช ได้ยึดและทำลายค่ายกรุงชิงสำเร็จ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2520 ต่อมาปี 2520 กองทัพบกพิจารณาเห็นว่า “ทหารนาวิกโยธิน” มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการด้านการรบบนบกได้ดีเช่นเดียวกับทหารบก จึงได้ร้องขอไปยังกองทัพเรือให้พิจารณาจัดทหารนาวิกโยธิน ไปช่วยปฏิบัติราชการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 4 ดังนั้นกองทัพเรือจึงได้มอบหมายให้กองพันทหารราบที่ 8 กรมผสมนาวิกโยธินออกไปปฏิบัติราชการ ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ตามแผนยุทธการที่ 1 ของศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพบก ในท้องที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ 23 กุมภาพันธ์ 2520 ถึง 16 ตุลาคม 2520 ในนาม “หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 201” หรือ “หน่วยเฉพาะกิจทักษิณ” “กรุงชิง” เป็นชื่อเรียกขานของชาวบ้านมาช้านาน อยู่ในเขตบ้านนพพิตำ ต.โรงเหล็ก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ลักษณะพื้นที่ภูมิประเทศเป็นก้นกะทะป่ารกทึบมีเขาหลวง, เขาปรายกะทูน, เขาเคี่ยม, เขากลม และเขาหลวงล้อมรอบ มีคลองกรุงชิงไหลผ่านออกสู่คลองกลาย และออกสู่ทะเลจากสถานการณ์ปี พ.ศ.๒๕๑๔ – ๒๕๑๙ ผกค. .. โดยต่อมาในเขต อ.ฉวาง กิ่ง อ.พิปูน และ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ได้พากันเริ่มออกเคลื่อนไหวปลุกระดมมวลชน โฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนรวบรวมสมัครพรรคพวกไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลสูงขึ้น สามารถรวบรวมอาวุธ ซึ่งได้จากการโจมตีเจ้าหน้าที่รวมทั้งยึดเครื่องมือสื่อสารได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์รวมตัวจัดตั้ง เป็น “กองทัพ ปลดแอกประชาชน แห่งประเทศไทย” ในเขตนครศรีธรรมราชเพิ่มความรุนแรงในการปฏิบัติการต่อต้านโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลมากขึ้น และยังสามารถขยายเขตงานออกเป็น 4 เขต ดังนี้
- เขตงาน 31 ตั้งอยู่บริเวณ อ่าวกรุงชิง บ้านนพพิตำ ต.โรงเหล็ก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช มีนายจิตร จงจิตร เป็นหัวหน้า
- เขตงาน 32 ตั้งอยู่บริเวณเหนือคลองใหญ่ กิ่ง อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช
- เขตงาน 33 ตั้งอยู่บริเวณ ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
- เขตงาน 34 ตั้งอยู่บริเวณ อ่าวศรีเมือง ต.สามตำบล อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
ฉก.นย.201 ได้เคลื่อนย้ายด้วยขบวนรถยนต์ เข้าพื้นที่ปฏิบัติการ ณ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมี ร้อย.ปล.ที่ 1 เข้าปฏิบัติการ บริเวณ บ้านวังเลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ร้อย.ปล.ที่ 2 และ ร้อย.ป. เข้าตั้งฐานบริเวณบ้านโรงเหล็ก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และ ร้อย.ปล.ที่ 3 เข้าตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณ บ้านวังเลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช แล้วก็หน่วย ทก.ฉก.นย.201 มว.ส., มว.ช., มว.ลว. และ มว.พ. เข้าตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณ บ้านในถุ้ง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ภารกิจในขั้นต้นของ ฉก.นย.201 นั้น ได้ทำการด้านการข่าว โดยออกไปพบปะประชาชนรอบๆ ฐานปฏิบัติการ พร้อมกับทำการลาดตระเวนในพื้นที่ ยุทธการครั้งนี้ถือเป็นยุทธการครั้งสำคัญของ “ทหารนาวิกโยธิน” ที่ได้ถูกกำหนดตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค. 2520 โดยกองร้อยที่ 1, 2 และ 3 ได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่เป้าหมาย
ผลการปะทะ และความสูญเสีย
- ฝ่ายเรา เสียชีวิต 8 นาย บาดเจ็บ สาหัส 39 นาย บาดเจ็บเล็กน้อย 27 นาย
- ฝ่ายข้าศึก เสียชีวิต 5 คน มอบตัว 52 คน แนวร่วมถูกจับกุม 124 คน
- ปะทะกับ ผกค. 32 ครั้ง ถูกกับระเบิดของ ผกค. 25 ครั้ง ถูก ผกค.ซุ่มโจมตี 25 ครั้ง ถูก ผกค.ยิงรบกวนฐานปฏิบัติการ 25 ครั้ง ยึดค่ายพักของ ผกค.ได้ 81 หลัง ยึดยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกได้ 4 หลัง ยึดโรงยาสูบของ ผกค.ได้ 2 หลัง ยึดโรงเลื่อยของ ผกค.ได้ 2 หลัง ยึดไร่ผักขนาดใหญ่ได้ 2 แห่ง
แหล่งอ้างอิง
- https://www.facebook.com/warofhistory