⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงนเรศวร จัดเป็นเรือประเภทเรือฟริเกต (FRIGATE) ซึ่งกองทัพเรือได้สั่งต่อจาก ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน นับเป็นเรือฟริเกตลำที่ 5 เป็นเรือที่กองทัพเรือออกแบบใหม่ร่วมกับบริษัท CHINA STATE SHIPBUILDING COORPERATION (CSSC) โดยใช้ระบบอาวุธ และเครื่องจักรส่วนใหญ่ของยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก จึงทำให้มีขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการรบที่ทันสมัย มีระยะปฏิบัติการไกล เรือหลวงนเรศวรต่อที่ อู่จงหัว เมืองเซียงไฮ้ วางกระดูกงูเมื่อปี พ.ศ. 2534 ทำพิธีปล่อยลงน้ำเดือน พ.ค.2536 ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ 15 ธ.ค. 2537 เรือหลวงนเรศวร ได้รับการติดตั้งระบบอาวุธบางส่วนที่ทำโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นระบบอาวุธที่ได้รับการพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้นกว่า ที่กองทัพเรือได้เคยมีไว้ใช้งาน เช่น ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ แบบ MIRAGE ระบบโซนาร์ติดตั้งหัวเรือแบบ SJD-7 , ระบบปืน 37 มม. รุ่นใหม่ และเรดาร์ตรวจการณ์อากาศพื้นน้ำ แบบ 360 และที่พิเศษกว่านั้นคือ มีความสามารถในการป้องกันภัย จากสงครามนิวเคลียร์ ชีวะเคมี ทั้งยังได้รับการติดตั้งระบบอาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่ของประเทศแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา อาทิเช่น เรดาร์ตรวจการณ์อากาศระยะไกล แบบ LW O8 , ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี HARPOON , ระบบควบคุมการยิง แบบ STIR , ปืน 5 นิ้ว มาร์ค 45 , ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ มาร์ค 46 และระบบสนับสนุนการปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งใช้เครื่องยนต์ MTU แบบ 1163 และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ แบบ LM-2500 เป็นระบบขับเคลื่อนซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในบรรดาเรือฟริเกต ต่าง ๆ ที่กองทัพเรือมีใช้อยู่ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นเรือที่ได้รับการออกแบบตัวเรือได้สวยงามที่สุดตามหลักเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ช่วยลดการสะท้อนคลื่น นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่กองทัพเรือมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากคือ การที่สามารถเชื่อมต่อระบบอาวุธจากหลายประเทศดังกล่าวข้างต้นได้สำเร็จด้วยฝีมือคนไทย ซึ่งก่อนหน้านี้มีบางประเทศเคยกล่าวว่าเรือลำนี้จะไม่มีทางสำเร็จลงได้

โครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร

ในปีงบประมาณ2553 กองทัพเรือได้ขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด เรือหลวงนเรศวร ซึ่งใช้งานมากว่า 15 ปี ให้มีความทันสมัยและมีความสามารถ ที่จะทำการรบร่วมกับกองทัพอากาศได้อย่างสมบูรณ์ และได้รับอนุมัติให้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2554 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ จึงต้องแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ

  • โครงการระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2554 – 2557) ลงนามในสัญญาซื้อขาย เมื่อ 3 มิถุนายน 2557
  • โครงการระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2555 – 2556)
  • โครงการระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ 2556 – 2558)


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 421
    • วางกระดูกงู 2534
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 2536
    • ขึ้นระวางประจำการ 15 ธ.ค. 2537
    • ผู้สร้าง อู่จงหัว เมืองเซียงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 120.50 เมตร
    • ความกว้าง 13.70 เมตร
    • กินน้ำลึก 6 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 32 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 2,985 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 4,000 ไมล์ ที่ 18 นอต
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6
    • กำลังพลประจำเรือ 150 นาย
    • ระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบ Raytheon Anschutz MINS 2 (ring laser gyro)
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ Saab Sea Giraffe AMD 3D
    • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง แบบ Saab CEROS 200 with CWI 2 ตัว
    • เรดาร์ค้นหาระยะไกล Thales LW08
    • เรดาร์ควบคุมการยิง Thales STIR
    • ศูนย์เล็งกำหนดเป้าหมาย แบบ Saab Bridge Pointers TDS
    • ระบบพิสูจน์ฝ่าย แบบ Selex SIT422 interogator และ Selex M425 transponder
    • ระบบ radar ESM แบบ ITT ES-3601 (AN/SLQ-4)
    • ระบบ communication ESM
    • โซนาร์หัวเรือ Atlas Elektronic DSQS-24
  • ระบบสื่อสาร
    • ระบบรวมการสื่อสาร แบบ Saab TactiCall ICS
    • ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Saab Link-E/G (TIDLS)
    • ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ AviaSatcom Link-RTN
    • ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Link-11 (TADIL-A)
    • ระบบแสดงตนอัตโนมัติสำหรับเรือ (AIS)
    • ระบบอุตุนิยมวิทยา
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบอำนวยการรบ แบบ Saab 9LV Mk.4
    • ปืน 5 นิ้ว/54(127 มม.) ปืนใหญ่เรือ MK-45 MOD-2
    • ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS-30MR/Mk.44 ขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว 2 กระบอก
    • ท่อยิง Mk.41 Vls สำหรับ 32 x [RIM-162 ESSM]] 8 ท่อยิง
    • RGM-84 Harpoon 8 ท่อยิง
    • ตอร์ปิโดแฝดสาม 324 มม. MK-32 MOD-5 2 แท่น
    • แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma DL-12T แท่นละ 12 ท่อยิง 2 แท่น
    • แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma Mk.137 แท่นละ 6 ท่อยิง 4 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • 1 x เจเนอรัลอีเลคทริค LM2500+ แก็สเทอร์ไบน์ และ 2 × เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู 20V1163 TB83
    • ใบจักร แบบ CPP 2 พวง
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.dockyard.navy.mi.th
  • https://www.dek-d.com
  • https://th.wikipedia.org