ความเป็นมาของโครงการ
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือชั้นฟริเกต ต่อขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยพัฒนาขึ้นจากเรือพิฆาตชั้น ควังแกโทมหาราช (Gwanggaeto the Great-class destroyer) เรือลำนี้ถือเป็นเรือลำแรกในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทย สามารถปฏิบัติการรบ 3 มิติ ทั้งผิวน้ำ ใต้น้ำ และทางอากาศ มีชื่อเดิมคือ เรือหลวงท่าจีน(ลำที่ 3) ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อใหม่โดย รัชกาลที่ 10 มีชื่อว่า เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ตามพระราชนามของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เรือ DW3000F หรือ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (HTMS Bhumibol Adulyadej) เป็นโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือจำนวน 2 ลำ โครงการเริ่มขึ้นในปี 2555 และลงนามจัดซื้อในปี 2556 จากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) จากประเทศเกาหลีใต้ 1 ลำ โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,997 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นงบประมาณผูกพันระยะเวลา 6 ปี
การดำเนินการสร้าง
เรือถูกพัฒนาปรับปรุงมาจากเรือพิฆาตชั้น Gwanggaeto the Great-class destroyer (KDX-I) ของกองทัพเรือเกาหลีใต้ โดยการสร้างเรือดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ในระหว่างปี 2556 – 2561 ตัวเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology ทั้งตัวเรือและระบบต่างๆ เน้นลดการถูกตรวจจับโดยฝ่ายตรงข้าม ทั้งลดการแผ่รังสีความร้อน ลดการสะท้อนของเรดาร์และลดเสียง มีการเชื่อมโยงระบบการรบของเรือรบกองทัพเรือกับเครื่องบินของกองทัพอากาศ ทั้ง Link E, Link RTN โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับเรือหลวงฟริเกตชุดตากสิน-นเรศวร และเรือหลวงจักรีนฤเบศร กับ Link G, เครื่องบิน Gripen เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบ Network Centric Warfare เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้าง รองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง (VLS) ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ได้ทำพิธีรับมอบเรือ ณ อู่ต่อเรือ Okpo-Dong ของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) ใน Geoje, South Gyeongsang, Busan สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2561
ภารกิจของหน่วย
- ภารกิจในยามสงคราม ป้องกันอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง
- ภารกิจในยามสงบ รักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และรักษากฎหมายตามกฎหมายให้อำนาจทหารเรือ
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 471
- วางกระดูกงู 15 พ.ค. 2559
- ปล่อยเรือลงน้ำ 23 ม.ค. 2560
- ขึ้นระวางประจำการ 7 ม.ค. 2562
- ผู้สร้าง Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME),นครปูซาน ประเทศเกาหลีใต้
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 124.10 เมตร
- ความกว้าง 14.40 เมตร
- กินน้ำลึก 8 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 33.3 นอต
- ความเร็วมัธยัสถ์ 18 นอต
- ระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 4,000 ไมล์ ที่ 18 นอต
- ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6
- กำลังพลประจำเรือ 141 นาย
- ลาน ฮ. รับน้ำหนักได้ 10 ตัน สำหรับ S-70B หรือ MH-60S Knight hawk
- มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์สำหรับ ฮ. 1 เครื่อง พร้อมระบบชักลาก
- ระบบตรวจการณ์
- เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ ระยะไกลแบบ Saab SEA GIRAFFE ER(SEA GIRAFFE 4A)
- เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติ ระยะปานกลางแบบ Saab SEA GIRAFFE AMB
- เรดาร์เดินเรือ X band
- เรดาร์เดินเรือ s band แบบ IP radar
- ระบบ Warship Electronic Chart and Display System (WECDIS)
- กล้องตรวจการณ์ (TV and thermal imager)
- โซนาร์ DSQS-24 Atlas Hull Mounted
- โซนาร์ ACTAS Atlas ELEKTRONIK Towed Array
- 2 x IFF
- Automatic Dependent Surveillance-Broadcast (ADS-B)
- ระบบอำนวยการรบ
- 15 x Multi-Function Consoles แบบ Saab 9LV Mk4
- 2 x เรดาร์ควบคุมการยิงแบบ Saab CEROS 200
- 2 x Continuous Wave Illuminators
- Saab EOS 500 Electro Optical Fire Control
- 2 x Target Designation Sight: Bridge Pointer
- ระบบอาวุธ
- ปืนหลัก OTO Melara 76/62 มม. Super rapid จำนวน 1 กระบอก
- 8 x Advance Harpoon Weapon Control System: RGM/AGM-84L (Block 2)
- 8 x Mk.41 VLS สำหรับ 32 x อาวุธปล่อยนำวิถี RIM-162 ESSM Block II หรือ จรวดต่อต้านเรือดำน้ำ RUM-139C VL ASROC ท่อยิงละ 1 นัด รวม 8 นัด หรือ เป้าลวงอาวุธปล่อยนำวิถี Mk.234 Nulka ท่อยิงละ 4 นัด หรือผสมกัน (ในอนาคตสามารถติดตั้ง Mk.41 VLS เพิ่มเติมได้อีก 8 cell และ สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี SM-2MR ได้)
- ระบบป้องกันระยะประชิด (CIWS) แบบ Raytheon Mk 15 Phalanx block 1B ขนาด 20 มม./99 คาลิเบอร์ 6 ลำกล้องหมุน
- ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk 44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว จำนวน 2 แท่น
- ปืนกล .50 นิ้ว แท่นเดี่ยว 2 แท่น
- แท่นยิง J+S DMTLS สำหรับตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำแบบ Mark 54 แท่นละ 3 ท่อยิง จำนวน 2 แท่น
- ระบบสงครามอิเลคทรอนิกส์
- เรดาร์ ESM
- Communication ESM (CESM)
- แท่นปล่อยเป้าลวง 6 แท่น
- Active-off board ECM
- ระบบเป้าลวงต่อต้านอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ และระบบเป้าลวงตอร์ปิโดแบบ CANTO-V
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- ระบบขับเคลื่อนแบบ Combine Diesel and Gas turbine (CODAG)
- เครื่องจักรใหญ่ 2 x MTU 16V1163 M94 ขนาด 8,000 แรงม้า
- เครื่องยนต์กังหันก๊าซ General Electric LM2500 ขนาด 29,000 แรงม้า
- ใบจักร แบบ Ship Service Power Generation(each 830 Kw) 4 พวง
แหล่งอ้างอิง
- http://wikipedia.org
- https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage