ความเป็นมาของโครงการ
กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือได้เริ่มกิจการเครื่องหมายช่วยการเดินเรือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 โดยได้ดำเนินการจัดวางทุ่นเครื่องหมายทางเรือ และติดตั้งกระโจมไฟในบริเวณพื้นที่ ที่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ บริเวณปากทางเข้าร่องน้ำ บริเวณตำบลที่มีความสำคัญต่อการเดินเรือ รวมทั้งจัดการดูแลและซ่อมบำรุงอุปกรณ์เหล่านี้ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานเครื่องหมายทางเรือ ได้ทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากความต้องการความปลอดภัยในการเดินเรือ และความเป็นมาตรฐานสากล กรมอุทกศาสตร์จึงได้ตั้งโครงการพัฒนาเครื่องหมายช่วยการเดินเรือขึ้นในปี พ.ศ.2515 – 2519 เพื่อให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และได้รับงบประมาณเพื่อต่อเรือสำหรับใช้การนี้ เป็นเงิน 52,517,000 บาท โดยกองทัพเรือได้ดำเนินการสั่งต่อเรือกับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ในปี พ.ศ.2519 และได้ตั้งชื่อเรือลำนี้ว่า ร.ล.สุริยะ
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 821
- สัญญาณสากล HSXW
- วางกระดูกงู 10 ส.ค. 2519
- ขึ้นระวางประจำการ 15 ม.ค. 2522
- ผู้สร้าง บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 54.20 เมตร
- ความกว้าง 10.16 เมตร
- กินน้ำลึกหัว 2.78 เมตร ท้าย 3.20 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 12 นอต
- ระวางขับน้ำ 960 ตัน
- กำลังพล 60 นาย
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,000 ไมล์ ที่ 10 นอต
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องยนต์ดีเซล 2 เครื่อง
- เพลาใบจักร 2 พวง
- เครื่องผลักดันหัวเรือ (bow thruster)
- ระบบสนับสนุนอื่นๆ
- เครนประจำที่สำหรับยกทุ่น 1 ชุด
แหล่งอ้างอิง
- กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ
- https://www.facebook.com/River-is-life-128892643799770/