ความเป็นมา
เรือหลวงบางปะกง เป็นเรือคอร์เวต ชั้น Flower ของราชนาวีอังกฤษ เดิมชื่อ HMS Burnet (K348) สั่งต่อเมื่อ 22 ก.ค. 2485 ขึ้นระวางประจำการ ทร.อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2488 ได้ถูกส่งมอบโดยทันที ให้ ทร.อินเดีย โดยใช้ชื่อว่า HMIS Gondwana และได้ถูกส่งมอบกลับให้ ทร.อังกฤษใน พ.ศ. 2489 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และได้ขายต่อให้ ทร.ไทย ในปี พ.ศ. 2490 และใช้ชื่อว่า ร.ล.บางปะกง
การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกงในช่วงสงครามเกาหลี
- การปฏิบัติการระดมยิงชายฝั่งตะวันออกของเกาหลีเหนือครั้งแรก เริ่ม 3 มกราคม 2494 โดยได้ระดมยิงชายฝั่งบริเวณเส้น ละติจูดที่ 38 – 39 องศาเหนือ ระหว่างแนวเมืองชังจอน กับเมืองยังยัง วันที่ 5 และ 6 มกราคม 2494 ได้ทำการระดมยิงสถานีรถไฟ เส้นทางคมนาคม และสิ่งปลูกสร้างทางทหาร บริเวณเมืองโชโด
- การระดมยิงฝั่งเมืองวอนชานครั้งที่ 1 (16 เมษายน – 13 พฤษภาคม 2494) เรือหลวงบางปะกงร่วมกับเรือรบสหรัฐฯ ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ไปยังอ่าววอนชาน เรือหลวงบางปะกงได้ทำการระดมยิง หน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งของข้าศึกบนแหลมกัลมากัก ใช้เวลาปฏิบัติการ 18 วัน (13 พฤษภาคม ได้ทำการผลัดเปลี่ยนกำลังพล ทำเสร็จใน 1 มิถุนายน 2494)
- การระดมยิงฝั่งเมืองวอนชานครั้งที่ 2 (13 – 18 มิถุนายน 2494) เรือหลวงบางปะกง และเรือฟรีเกต สหรัฐฯ ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ถึงอ่าววอนชาน ได้ระดมยิงที่หมาย หน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งที่ตำบลฮัมจิ กับเส้นทางลำเลียงบริเวณชองดอง การปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับคำชมเชยเป็นอันมาก ในเดือนสิงหาคม 2494 กำลังพลประจำเรือ รุ่นที่ 2 จำนวน 55 คน ได้เข้าผลัดเปลี่ยนรุ่นที่ 1 ส่วนที่เหลือ
- การปฏิบัติการที่เมืองวอนชานครั้งที่ 3 (3 – 10 กันยายน 2494) เรือหลวงบางปะกงเดินทางถึงอ่าววอนชาน ได้รับมอบภารกิจเป็นเรือรักษาด่าน วันต่อมาได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามแผนการลาดตระเวณ ได้รับคำสั่งให้ยิงที่หมายโดยอิสระ ได้ระดมยิงที่หมายทางรถไฟ และสะพานรถไฟชายฝั่งเมืองชองจิน วันต่อมาทำหน้าที่รักษาด่าน และเข้ายิงที่หมายเส้นทางลำเลียงบริเวณเหนือแหลมโฮโด ปันโด ในอ่าววอนชาน เข้ายิงที่หมายหน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งของข้าศึก บริเวณปลายแหลมโฮโดปันโดในอ่าววอนชาน แล้วออกลาดตระเวณไปยังชองจิน วันต่อมายิงที่หมายทางรถไฟ สถานีรถไฟ สะพานรถไฟ บริเวณชายฝั่งเมืองชองจิน วันต่อมาทำหน้าที่รักษาด่านเขตทิ้งระเบิด และยิงที่หมายบริเวณอ่าววอนชาน
- การปฏิบัติการที่เมืองวอนชาน ครั้งที่ 4 (24 ตุลาคม 2494) ได้ไปปฏิบัติการ ณ เมืองวอนชาน โดยทำการลาดตระเวณฝั่งตะวันออก ขึ้นไปทางเหนือแหลมไฮโดปันโด ป้องกันเรือเล็กข้าศึกลอบเข้าไปวางทุ่นระเบิด หรือทำการลำเลียงทหาร
- การปฏิบัติการที่เมืองวอนชาน ครั้งที่ 5 (17 – 19 พฤศจิกายน 2494) ทำหน้าที่รักษาด่านเวลากลางคืน และลาดตระเวณเวลากลางวัน
- เรือหลวงบางปะกงเดินทางกลับประเทศไทย 29 ธันวาคม 2494 เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส (ลำใหม่) เรียกว่า หมู่เรือฟรีเกต (มฟ.) ได้เดินทางมาถึงฐานทัพเรือซาเซโบ กองทัพเรือได้กำหนดให้เรือหลวงบางปะกงพ้นจากหน้าที่ ให้เข้าอู่ซ่อมใหญ่ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากที่ซ่อมเสร็จเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ และได้เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ 11 มีนาคม 2495
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- เรือในชุดเดียวกัน ร.ล.ประแส(ลำที่ 1)
- ปล่อยเรือลงน้ำ 31 พ.ค. 2486
- ชื่อเดิม HMS Burnet ของ ทร.อังกฤษ
- ชื่อเดิม HMIS Gondwana ของ ทร.อินเดีย
- ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 15 พ.ค. 2490
- ปลดประจำการ ระหว่าง พ.ศ. 2525-2528
- ผู้สร้าง บริษัท Ferguson Shipbuilders, Limited เมืองกลาสโกลว์ ประเทศอังกฤษ
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 63.40 เมตร
- ความกว้าง 10.06 เมตร
- กินน้ำลึก 3.35 เมตร
- ระวางขับน้ำ ปกติ 1,031 ตัน เต็มที่ 1,137 ตัน
- ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
- ความเร็วสูงสุด 16 นอต
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,500 ไมล์ ที่ 12 นอต
- กำลังพลประจำเรือ 90 นาย
- ระบบตรวจจับ
- เรดาร์ Type 271 SW2C
- โซนาร์ Type 144
- ระบบอาวุธ
- ปินใหญ่ 4 นิ้ว (102 มม.) BL Mk.IX แท่นเดี่ยว 1 กระบอก
- ปืนต่อสู้อากาศยาน Mk.VIII single “pom-pom” 2 ท่อยิง จำนวน 1 ชุด
- ปืนกล 20 มม Oerlikon แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
- แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำแบบ Hedgehog จำนวน 1 แท่นยิง
- เครื่องยิงระเบิดลึก Mk.II depth charge จำนวน 4 แท่นยิง
- รางปล่อยลูกระเบิดน้ำลึก 2 ราง พร้อมลูกระเบิดน้ำลึก 70 ลูก
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- ระบบขับเคลื่อน เครื่องยนต์กังหันไอน้ำ 1 เครื่องยนต์ ให้กำลังขับเคลื่อน 2,750 แรงม้า
- ใบจักร จำนวน 1 เพลาใบจักร
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือหลวงประแส(ลำที่ 1)
- เรือหลวงบางปะกง(ลำที่ 1)
แหล่งอ้างอิง
- https://th.wikipedia.org
- https://en.wikipedia.org
- https://www.baanjomyut.com