Category: Uncategorized

เรือหลวงพงัน(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

หลังพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478 ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น โดยมีนาวาเอกพระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นหัวเรือหลัก เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่กองทัพเรือไทยเคยมีมา เป็นการขยายกำลังรบทางเรือมากกว่าเดิมชนิดหลายเท่าตัว ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลทยอยแบ่งจ่ายให้เป็นเวลา 6 ปีเต็มปีล่ะ 3 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท (รวมงบประมาณประจำปีจำนวน 1 ล้านบาทต่อปีด้วย) จึงสามารถจัดหาเรือรบหลากหลายรูปแบบเข้าประจำการตามความต้องการของกองทัพเรือ นอกจากเรือรบทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ทั้งผิวน้ำและใต้น้ำแล้ว เรือลำเลียงพลก็เป็นอีกหนึ่งความต้องการที่สำคัญมาก ในปี พ.ศ. 2480 กองทัพเรือไทยจึงสั่งต่อเรือลำเลียงพลจำนวน 2 ลำ ได้แก่ เรือหลวงสีชัง และเรือหลวงพงัน จากอู่ฮาริมา เมืองโกเบ ในวงเงิน 677,000 บาท


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • พิธีรับมอบเรือ 30 ส.ค. 2480
    • ขึ้นระวางประจำการ 5 ต.ค. 2481
    • ผู้สร้าง อู่ฮาริมา เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 58.50 เมตร
    • ความกว้าง 9.30 เมตร
    • ระวางขับน้ำ 1,374 ตัน
    • ความเร็วสูงสุด 12.80 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,051 ไมล์ ที่ 15 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่ลำกล้องสั้น Japanese 76/25 มม. แท่นเดี่ยว 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors 40/60 มม. แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Oerlikon 20 มม. แท่นเดี่ยว จำนวน 1 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องจักรดีเซล
เรือหลวงพงัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://pantip.com
  • http://thaimilitary.blogspot.com

เรือหลวงหนองสาหร่าย(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

กองทัพเรือได้พยายามดำเนินการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศมาเป็นเวลานานประมาณ 30 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยงบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงทำให้กองทัพเรือมีเรือรบไม่เพียงพอต่อการป้องกันประเทศทางทะเล “โครงการบำรุงกำลังทางเรือ” เพิ่งจะมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 8 ปี พ.ศ. 2478 โดยมี นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เสนาธิการทหารเรือ และรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้เสนอโครงการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผ่านผู้บัญชาการทหารเรือ (นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ บุญชัย สวาทะสุข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม) จนถึงคณะรัฐบาล โดยทำเป็น “พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478” นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในการประชุมสภาครั้งที่ 62/2477 และได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้น ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2478 กองทัพเรือจึงได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น มีนายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของคณะกรรมการฯ คือ นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นหัวเรือหลัก เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยมีมา เป็นการขยายกำลังรบทางเรือมากกว่าเดิมชนิดหลายเท่าตัว โครงการนี้เดินหน้าได้ด้วยเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลทยอยแบ่งจ่าย ให้เป็นเวลา 6 ปีเต็มปีล่ะ 3 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท (รวมงบประมาณประจำปีจำนวน 1 ล้านบาทต่อปีด้วย) จึงสามารถจัดหาเรือรบหลากหลายรูปแบบเข้าประจำการตามความต้องการของกองทัพเรือ ประกอบไปด้วย

  • เรือปืนหนัก 2 ลำ
  • เรือฝึกหัดนักเรียน 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดใหญ่ 7 ลำ (ร.ล.ตราด และ ร.ล.ภูเก็ต สร้างด้วยงบประมาณพิเศษก่อนพระราชบัญญัติฯ นี้ )
  • เรือทุ่นระเบิด 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดเล็ก 3 ลำ
  • เรือดำน้ำ 4 ลำ
  • เรือลำเลียง 2 ลำ
  • เครื่องบินทะเล 6 เครื่อง และ อาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เช่น ปืนใหญ่ ทุ่นระเบิด ฯลฯ

พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ฉบับนี้นับว่าเป็น “ฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ และของประเทศไทย” และเป็นฉบับเดียวมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้

สำหรับเรือวางทุ่นระเบิดจำนวน 2 ลำ จากประเทศอิตาลี ได้ทำสัญญาพร้อมกับเรือตอร์ปิโดใหญ่ชั้นเรือหลวงตราดเฟส 2 จำนวน 7 ลำ คือเรือหลวงบางระจันและเรือหลวงหนองสาหร่าย หลังต่อเรือเสร็จมีพิธีส่งมอบเรือในวันที่ 26 พ.ค. 2480 และเข้าประจำการวันที่ 5 ต.ค. 2481 พร้อมเรือตอร์ปิโดใหญ่ที่ต่อจากอู่ต่อเรือเดียวกัน

เรือได้มีการปรับปรุงใหญ่เมื่อครบวงรอบอายุ เฉกเช่นเรือลำอื่นๆ ได้มีการซ่อมแซมเรือทั้งลำเพื่อคงสภาพสมบูรณ์ สร้างห้องวิทยุหลักเพิ่มเติมรวมทั้งติดตั้งเรดาร์เดินเรือจำนวน 1 ตัว ติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors 40/60 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอก และปืนต่อสู้อากาศยาน Oerlikon 20 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอกทดแทนของเดิม เรือวางทุ่นระเบิดชั้นเรือหลวงบางระจัน ปลดประจำการวันที่ 8 ก.ค. 2523 พร้อมกันทั้ง 2 ลำ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือวางทุ่นระเบิด
    • ขึ้นระวางประจำการ 5 ต.ค. 2481
    • ปลดประจำการ 7 ก.ค. 2523
    • ผู้สร้าง อู่กันดิเอริ ริอูนิดิ เดลลัดดริอาดิ โก ประเทศอิตาลี
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 49.12 เมตร
    • ความกว้าง 7.91 เมตร
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 395 ตัน
    • ความเร็วสูงสุด 13 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • รางทุ่นระเบิด 2 ราง
    • บรรทุกทุ่นระเบิดได้ 142 ทุ่น
    • ปืนใหญ่ QF Mk I HA 76/40 มม.จำนวน 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Madsen 20 มม.แท่นเดี่ยว 1 กระบอก ภายหลังเปลี่ยนเป็น ปืนต่อสู้อากาศยาน Oerlikon 20 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors 40/60 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรดีเซล
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th
  • http://thaimilitary.blogspot.com
  • http://shipbucket.com

เรือหลวงบางระจัน(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

กองทัพเรือได้พยายามดำเนินการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศมาเป็นเวลานานประมาณ 30 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยงบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงทำให้กองทัพเรือมีเรือรบไม่เพียงพอต่อการป้องกันประเทศทางทะเล “โครงการบำรุงกำลังทางเรือ” เพิ่งจะมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 8 ปี พ.ศ. 2478 โดยมี นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เสนาธิการทหารเรือ และรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้เสนอโครงการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผ่านผู้บัญชาการทหารเรือ (นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ บุญชัย สวาทะสุข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม) จนถึงคณะรัฐบาล โดยทำเป็น “พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478” นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในการประชุมสภาครั้งที่ 62/2477 และได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้น ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2478 กองทัพเรือจึงได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น มีนายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของคณะกรรมการฯ คือ นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นหัวเรือหลัก เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยมีมา เป็นการขยายกำลังรบทางเรือมากกว่าเดิมชนิดหลายเท่าตัว โครงการนี้เดินหน้าได้ด้วยเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลทยอยแบ่งจ่าย ให้เป็นเวลา 6 ปีเต็มปีล่ะ 3 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท (รวมงบประมาณประจำปีจำนวน 1 ล้านบาทต่อปีด้วย) จึงสามารถจัดหาเรือรบหลากหลายรูปแบบเข้าประจำการตามความต้องการของกองทัพเรือ ประกอบไปด้วย

  • เรือปืนหนัก 2 ลำ
  • เรือฝึกหัดนักเรียน 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดใหญ่ 7 ลำ (ร.ล.ตราด และ ร.ล.ภูเก็ต สร้างด้วยงบประมาณพิเศษก่อนพระราชบัญญัติฯ นี้ )
  • เรือทุ่นระเบิด 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดเล็ก 3 ลำ
  • เรือดำน้ำ 4 ลำ
  • เรือลำเลียง 2 ลำ
  • เครื่องบินทะเล 6 เครื่อง และ อาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เช่น ปืนใหญ่ ทุ่นระเบิด ฯลฯ

พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ฉบับนี้นับว่าเป็น “ฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ และของประเทศไทย” และเป็นฉบับเดียวมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้

สำหรับเรือวางทุ่นระเบิดจำนวน 2 ลำ จากประเทศอิตาลี ได้ทำสัญญาพร้อมกับเรือตอร์ปิโดใหญ่ชั้นเรือหลวงตราดเฟส 2 จำนวน 7 ลำ คือเรือหลวงบางระจันและเรือหลวงหนองสาหร่าย หลังต่อเรือเสร็จมีพิธีส่งมอบเรือในวันที่ 26 พ.ค. 2480 และเข้าประจำการวันที่ 5 ต.ค. 2481 พร้อมเรือตอร์ปิโดใหญ่ที่ต่อจากอู่ต่อเรือเดียวกัน

เรือได้มีการปรับปรุงใหญ่เมื่อครบวงรอบอายุ เฉกเช่นเรือลำอื่นๆ ได้มีการซ่อมแซมเรือทั้งลำเพื่อคงสภาพสมบูรณ์ สร้างห้องวิทยุหลักเพิ่มเติมรวมทั้งติดตั้งเรดาร์เดินเรือจำนวน 1 ตัว ติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors 40/60 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอก และปืนต่อสู้อากาศยาน Oerlikon 20 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอกทดแทนของเดิม เรือวางทุ่นระเบิดชั้นเรือหลวงบางระจัน ปลดประจำการวันที่ 8 ก.ค. 2523 พร้อมกันทั้ง 2 ลำ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือวางทุ่นระเบิด
    • ขึ้นระวางประจำการ 5 ต.ค. 2481
    • ปลดประจำการ 7 ก.ค. 2523
    • ผู้สร้าง อู่กันดิเอริ ริอูนิดิ เดลลัดดริอาดิ โก ประเทศอิตาลี
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 49.12 เมตร
    • ความกว้าง 7.91 เมตร
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 395 ตัน
    • ความเร็วสูงสุด 13 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • รางทุ่นระเบิด 2 ราง
    • บรรทุกทุ่นระเบิดได้ 142 ทุ่น
    • ปืนใหญ่ QF Mk I HA 76/40 มม.จำนวน 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Madsen 20 มม.แท่นเดี่ยว 1 กระบอก ภายหลังเปลี่ยนเป็น ปืนต่อสู้อากาศยาน Oerlikon 20 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors 40/60 มม.แท่นเดี่ยวจำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรดีเซล
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th
  • http://thaimilitary.blogspot.com

เรือหลวงสีชัง(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

หลังพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478 ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น โดยมีนาวาเอกพระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นหัวเรือหลัก เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่กองทัพเรือไทยเคยมีมา เป็นการขยายกำลังรบทางเรือมากกว่าเดิมชนิดหลายเท่าตัว ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลทยอยแบ่งจ่ายให้เป็นเวลา 6 ปีเต็มปีล่ะ 3 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท (รวมงบประมาณประจำปีจำนวน 1 ล้านบาทต่อปีด้วย) จึงสามารถจัดหาเรือรบหลากหลายรูปแบบเข้าประจำการตามความต้องการของกองทัพเรือ นอกจากเรือรบทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ทั้งผิวน้ำและใต้น้ำแล้ว เรือลำเลียงพลก็เป็นอีกหนึ่งความต้องการที่สำคัญมาก ในปี พ.ศ. 2480 กองทัพเรือไทยจึงสั่งต่อเรือลำเลียงพลจำนวน 2 ลำ ได้แก่ เรือหลวงสีชัง และเรือหลวงพงัน จากอู่ฮาริมา เมืองโกเบ ในวงเงิน 677,000 บาท

เรือหลวงสีชังได้รับภารกิจสำคัญในกรณีสงครามเกาหลี เพื่อปฏิบัติราชการร่วมกับองค์การสหประชาชาติ มีหน้าที่ลำเลียงทหารของกรมผสมที่ 21 หน่วยทหารไทย และหน่วยพยาบาลจากสภากาชาดไทย และเป็นเรือลำเลียงของหน่วยทหารไทยประจำเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อเล็งเห็นว่าไม่มีภารกิจที่เหมาะสมในการใช้งานอีกแล้ว เรือหลวงสีชังจึงเดินทางกลับถึงประเทศไทยวันที่ 21 สิงหาคม 2494 เรือลำเลียงพลชั้นเรือหลวงสีชัง ผ่านสงครามใหญ่ถึง 3 สมรภูมิด้วยกันคือ กรณีพิพาทระหว่างไทย – อินโดจีนฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี ซึ่งถือเป็นการอวดธงราชนาวีไทย ต่อนานาประเทศทั่วโลก และยังคงรับใช้ชาติในฐานะเรือลำเลียงพลต่อไปอย่างยาวนาน กระทั่งปลดประจำการวันที่ 23 ธันวาคม 2526


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • พิธีรับมอบเรือ 30 ส.ค. 2480
    • ขึ้นระวางประจำการ 5 ต.ค. 2481
    • ปลดประจำการ 23 ธ.ค. 2526
    • ผู้สร้าง อู่ฮาริมา เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 58.50 เมตร
    • ความกว้าง 9.30 เมตร
    • ระวางขับน้ำ 1,374 ตัน
    • ความเร็วสูงสุด 12.80 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,051 ไมล์ ที่ 15 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่ลำกล้องสั้น Japanese 76/25 มม. แท่นเดี่ยว 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors 40/60 มม. แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Oerlikon 20 มม. แท่นเดี่ยว จำนวน 1 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องจักรดีเซล
เรือหลวงสีชัง

แหล่งอ้างอิง

  • http://pantip.com
  • http://thaimilitary.blogspot.com

เรือหลวงสุริยะ(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงสุริยะ เป็นประเภทเรือช่วยรบ ต่อโดยบริษัทใน ฮ่องกง เดิมชื่อ เรือหลวงถลาง เป็นเรือที่ใช้ในการสนุบสนุนงานบำรุงรักษาระหว่างเกาะภูเก็ตและแผนดินใหญ่ ถูกยิงจม ณ ท่านเรศวร ตำบลทุ่งคา จว.ภูเก็ต เมื่อ 25 ก.ค. 2488 ภายหลัง นำกลับมาซ่อมทำที่ กรมอู่ทหารเรือ และเมื่อ พ.ศ. 2493 กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ได้ใช้ในภารกิจสำรวจแผนที่ และเปลี่ยนชื่อเป็น เรือหลวงสุริยะ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือช่วยรบ
    • ปลดประจำการ 10 พ.ค. 2505
    • ผู้สร้าง อู่ บริษัทฮ่องกงและแวมโป
    • กำลังพล 42 นาย
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 53.32 เมตร
    • ความกว้าง 10.67 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.10 เมตร
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 920 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 5.50 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 8.035 นอต
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำชนิดข้อเสือข้อต่อ จำนวน 1 เครื่อง กำลัง 655 แรงม้า

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th

เรือหลวงกันตัง(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

กองทัพเรือได้พยายามดำเนินการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศมาเป็นเวลานานประมาณ 30 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยงบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงทำให้กองทัพเรือมีเรือรบไม่เพียงพอต่อการป้องกันประเทศทางทะเล “โครงการบำรุงกำลังทางเรือ” เพิ่งจะมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 8 ปี พ.ศ. 2478 โดยมี นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เสนาธิการทหารเรือ และรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้เสนอโครงการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผ่านผู้บัญชาการทหารเรือ (นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ บุญชัย สวาทะสุข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม) จนถึงคณะรัฐบาล โดยทำเป็น “พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478” นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในการประชุมสภาครั้งที่ 62/2477 และได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้น ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2478 กองทัพเรือจึงได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น มีนายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของคณะกรรมการฯ คือ นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นหัวเรือหลัก เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยมีมา เป็นการขยายกำลังรบทางเรือมากกว่าเดิมชนิดหลายเท่าตัว โครงการนี้เดินหน้าได้ด้วยเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลทยอยแบ่งจ่าย ให้เป็นเวลา 6 ปีเต็มปีล่ะ 3 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท (รวมงบประมาณประจำปีจำนวน 1 ล้านบาทต่อปีด้วย) จึงสามารถจัดหาเรือรบหลากหลายรูปแบบเข้าประจำการตามความต้องการของกองทัพเรือ ประกอบไปด้วย

  • เรือปืนหนัก 2 ลำ
  • เรือฝึกหัดนักเรียน 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดใหญ่ 7 ลำ (ร.ล.ตราด และ ร.ล.ภูเก็ต สร้างด้วยงบประมาณพิเศษก่อนพระราชบัญญัติฯ นี้ )
  • เรือทุ่นระเบิด 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดเล็ก 3 ลำ
  • เรือดำน้ำ 4 ลำ
  • เรือลำเลียง 2 ลำ
  • เครื่องบินทะเล 6 เครื่อง และ อาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เช่น ปืนใหญ่ ทุ่นระเบิด ฯลฯ

พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ฉบับนี้นับว่าเป็น “ฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ และของประเทศไทย” และเป็นฉบับเดียวมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้ สำหรับเรือหลวงกันตังเป็นเรือตอร์ปิโดเล็ก เดิมชื่อเรือตอร์ปิโด 6 ในชุดมี 3 ลำ ได้แก่ เรือหลวงคลองใหญ่ เรือหลวงตากใบ และเรือหลวงกันตัง


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือตอร์ปิโดเล็ก
    • หมายเลข 7
    • วางกระดูกงู 3 ต.ค. 2479
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 26 มี.ค. 2480
    • ขึ้นระวางประจำการ 26 ก.ย. 2480
    • ปลดประจำการ 26 ม.ค. 2513
    • ผู้สร้าง อู่ อิชิกาวาจิมา กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 41.80 เมตร
    • ความกว้าง 4.60 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.45 เมตร
    • ระวางขับน้ำ ปกติ 135 ตัน สูงสุด 142 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 18 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 830 ไมล์ ที่ 12 นอต และ 450 ไมล์ ที่ 18 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 50 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล 20 ม.ม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล 40/60 มม. จำนวน 1 กระบอก
    • ตอร์ปิโด 45 ซม. แท่นคู่ 1 แท่น(2 ท่อยิง) จำนวน 4 ท่อ
    • แท่นยิงระเบิดลึก 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรกังหันไอน้ำ(บราวน์เคอติส) จำนวน 2 เครื่อง 1,125 แรงม้า
    • ใบจักรคู่
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th
  • http://thaimilitary.blogspot.com

เรือหลวงตากใบ(ลำที่1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

กองทัพเรือได้พยายามดำเนินการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศมาเป็นเวลานานประมาณ 30 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยงบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงทำให้กองทัพเรือมีเรือรบไม่เพียงพอต่อการป้องกันประเทศทางทะเล “โครงการบำรุงกำลังทางเรือ” เพิ่งจะมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 8 ปี พ.ศ. 2478 โดยมี นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เสนาธิการทหารเรือ และรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้เสนอโครงการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผ่านผู้บัญชาการทหารเรือ (นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ บุญชัย สวาทะสุข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม) จนถึงคณะรัฐบาล โดยทำเป็น “พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478” นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในการประชุมสภาครั้งที่ 62/2477 และได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้น ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2478 กองทัพเรือจึงได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น มีนายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของคณะกรรมการฯ คือ นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นหัวเรือหลัก เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยมีมา เป็นการขยายกำลังรบทางเรือมากกว่าเดิมชนิดหลายเท่าตัว โครงการนี้เดินหน้าได้ด้วยเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลทยอยแบ่งจ่าย ให้เป็นเวลา 6 ปีเต็มปีล่ะ 3 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท (รวมงบประมาณประจำปีจำนวน 1 ล้านบาทต่อปีด้วย) จึงสามารถจัดหาเรือรบหลากหลายรูปแบบเข้าประจำการตามความต้องการของกองทัพเรือ ประกอบไปด้วย

  • เรือปืนหนัก 2 ลำ
  • เรือฝึกหัดนักเรียน 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดใหญ่ 7 ลำ (ร.ล.ตราด และ ร.ล.ภูเก็ต สร้างด้วยงบประมาณพิเศษก่อนพระราชบัญญัติฯ นี้ )
  • เรือทุ่นระเบิด 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดเล็ก 3 ลำ
  • เรือดำน้ำ 4 ลำ
  • เรือลำเลียง 2 ลำ
  • เครื่องบินทะเล 6 เครื่อง และ อาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เช่น ปืนใหญ่ ทุ่นระเบิด ฯลฯ

พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ฉบับนี้นับว่าเป็น “ฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ และของประเทศไทย” และเป็นฉบับเดียวมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้ สำหรับเรือหลวงตากใบเป็นเรือตอร์ปิโดเล็ก เดิมชื่อเรือตอร์ปิโด 6 ในชุดมี 3 ลำ ได้แก่ เรือหลวงคลองใหญ่ เรือหลวงตากใบ และเรือหลวงกันตัง


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือตอร์ปิโดเล็ก
    • หมายเลข 6
    • วางกระดูกงู 3 ต.ค. 2479
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 26 มี.ค. 2480
    • ขึ้นระวางประจำการ 26 ก.ย. 2480
    • ปลดประจำการ 26 ม.ค. 2513
    • ผู้สร้าง อู่ อิชิกาวาจิมา กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 41.80 เมตร
    • ความกว้าง 4.60 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.45 เมตร
    • ระวางขับน้ำ ปกติ 135 ตัน สูงสุด 142 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 18 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 830 ไมล์ ที่ 12 นอต และ 450 ไมล์ ที่ 18 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 50 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล 20 ม.ม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล 40/60 มม. จำนวน 1 กระบอก
    • ตอร์ปิโด 45 ซม. แท่นคู่ 1 แท่น(2 ท่อยิง) จำนวน 4 ท่อ
    • แท่นยิงระเบิดลึก 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรกังหันไอน้ำ(บราวน์เคอติส) จำนวน 2 เครื่อง 1,125 แรงม้า
    • ใบจักรคู่

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th
  • http://thaimilitary.blogspot.com

เรือหลวงคลองใหญ่(ลำที่1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

กองทัพเรือได้พยายามดำเนินการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศมาเป็นเวลานานประมาณ 30 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยงบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงทำให้กองทัพเรือมีเรือรบไม่เพียงพอต่อการป้องกันประเทศทางทะเล “โครงการบำรุงกำลังทางเรือ” เพิ่งจะมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 8 ปี พ.ศ. 2478 โดยมี นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เสนาธิการทหารเรือ และรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้เสนอโครงการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผ่านผู้บัญชาการทหารเรือ (นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ บุญชัย สวาทะสุข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม) จนถึงคณะรัฐบาล โดยทำเป็น “พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478” นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในการประชุมสภาครั้งที่ 62/2477 และได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้น ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2478 กองทัพเรือจึงได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น มีนายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของคณะกรรมการฯ คือ นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นหัวเรือหลัก เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยมีมา เป็นการขยายกำลังรบทางเรือมากกว่าเดิมชนิดหลายเท่าตัว โครงการนี้เดินหน้าได้ด้วยเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นงบประมาณพิเศษที่รัฐบาลทยอยแบ่งจ่าย ให้เป็นเวลา 6 ปีเต็มปีล่ะ 3 ล้านบาทรวมเป็นเงิน 18 ล้านบาท (รวมงบประมาณประจำปีจำนวน 1 ล้านบาทต่อปีด้วย) จึงสามารถจัดหาเรือรบหลากหลายรูปแบบเข้าประจำการตามความต้องการของกองทัพเรือ ประกอบไปด้วย

  • เรือปืนหนัก 2 ลำ
  • เรือฝึกหัดนักเรียน 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดใหญ่ 7 ลำ (ร.ล.ตราด และ ร.ล.ภูเก็ต สร้างด้วยงบประมาณพิเศษก่อนพระราชบัญญัติฯ นี้ )
  • เรือทุ่นระเบิด 2 ลำ
  • เรือตอร์ปิโดเล็ก 3 ลำ
  • เรือดำน้ำ 4 ลำ
  • เรือลำเลียง 2 ลำ
  • เครื่องบินทะเล 6 เครื่อง และ อาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เช่น ปืนใหญ่ ทุ่นระเบิด ฯลฯ

พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 ฉบับนี้นับว่าเป็น “ฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ และของประเทศไทย” และเป็นฉบับเดียวมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้ สำหรับเรือหลวงคลองใหญ่เป็นเรือตอร์ปิโดเล็ก เดิมชื่อเรือตอร์ปิโด 5 ในชุดมี 3 ลำ ได้แก่ เรือหลวงคลองใหญ่ เรือหลวงตากใบ และเรือหลวงกันตัง


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือตอร์ปิโดเล็ก
    • หมายเลข 5
    • วางกระดูกงู 3 ต.ค. 2479
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 26 มี.ค. 2480
    • ขึ้นระวางประจำการ 26 ก.ย. 2480
    • ปลดประจำการ 26 ม.ค. 2513
    • ผู้สร้าง อู่ อิชิกาวาจิมา กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 41.80 เมตร
    • ความกว้าง 4.60 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.45 เมตร
    • ระวางขับน้ำ ปกติ 135 ตัน สูงสุด 142 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 18 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 830 ไมล์ ที่ 12 นอต และ 450 ไมล์ ที่ 18 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 50 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล 20 ม.ม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล 40/60 มม. จำนวน 1 กระบอก
    • ตอร์ปิโด 45 ซม. แท่นคู่ 1 แท่น(2 ท่อยิง) จำนวน 4 ท่อ
    • แท่นยิงระเบิดลึก 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรกังหันไอน้ำ(บราวน์เคอติส) จำนวน 2 เครื่อง 1,125 แรงม้า
    • ใบจักรคู่

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th
  • http://thaimilitary.blogspot.com

เรือหลวงถลาง(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงถลาง เป็นเรือช่วยรบ ต่อโดยบริษัทใน ฮ่องกง เป็นเรือที่ใช้ในการสนุบสนุนงานบำรุงรักษาระหว่างเกาะภูเก็ตและแผนดินใหญ่ ถูกยิงจม ณ ท่านเรศวร ตำบลทุ่งคา จว.ภูเก็ต เมื่อ 25 ก.ค. 2488 ภายหลัง นำกลับมาซ่อมทำที่ กรมอู่ทหารเรือ และเมื่อ พ.ศ. 2493 กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ได้ใช้ในภารกิจสำรวจแผนที่ และเปลี่ยนชื่อเป็น เรือหลวงสุริยะ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือช่วยรบ
    • ปลดประจำการ 10 พ.ค. 2505
    • ผู้สร้าง อู่ บริษัทฮ่องกงและแวมโป
    • กำลังพล 42 นาย
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 53.32 เมตร
    • ความกว้าง 10.67 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.10 เมตร
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 920 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 5.50 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 8.035 นอต
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำชนิดข้อเสือข้อต่อ จำนวน 1 เครื่อง กำลัง 655 แรงม้า
ข้อความที่กล่าวถึงจากหนังสือพิมพ์ของสิงคโปร์

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th
  • The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser (1884-1942), 31 December 1929, Page 17

เรือหลวงเกล็ดแก้ว(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงเกล็ดแก้ว สังกัดกองเรือยุทธบริการ มีภารกิจหลักของเรือ คือ การลำเลียงเสบียง แต่เดิมนั้นเป็นเรือห้องเย็น มีชื่อว่า นอร์เฟอร์ส (NORFROST) ของประเทศนอร์เวย์ เป็นเรือสำหรับล่าปลาวาฬ ต่อขึ้นที่อู่ PUSNES MEKANISKE VERTED เมืองอารีดาล (AREDAL) เมื่อปี พ.ศ. 2491 ซึ่งกองทัพเรือได้ทำการซื้อขายกับบริษัทเอกชน และนำกลับมา เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2497 และกองทัพเรือรับอนุมัติไว้ใช้ในราชการ เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2498 จากนั้นกองเรือยุทธการมารับ เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2499 ขึ้นประจำการในสังกัด หมวดเรืออุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.2499 โดยใช้ชื่อเรือ อป.9 (องค์การประมง) จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น อศ.3 เมื่อวันที่ 13 ต.ค.2505 ใช้เป็นยานพาหนะในการสำรวจ สมุทรศาสตร์ วางทุ่นประโจมไฟ ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง จากเรือ อศ.3 เป็นเรือหลวงเกล็ดแก้ว โดยโอนจากกรมอุทกศาสตร์ ไปสังกัดกองเรือบริการ กองเรือยุทธการ เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2505 เพื่อใช้เป็นเรือขนเสบียง ปลดระวางเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2554 รวมระยะเวลา 55 ปี กองทัพเรือ ต่อมาได้มอบให้จังหวัดกระบี่ นำไปเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ตามโครงการอุทยานเรียนรู้ใต้ท้องทะเล โดยนำไปเป็นประการังเทียม บริเวณเกาะพีพีเล จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2557


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 861 และ หมายเลข 7
    • ขึ้นระวางประจำการ 9 เม.ย. 2499
    • ปลดประจำการ ต.ค. 2554
    • ผู้สร้าง บริษัท M. Haldorsen and Son of Norway ประเทศนอร์เวย์
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 47.20 เมตร
    • ความกว้าง 7.80 เมตร
    • ระวางขับน้ำ ปกติ 382 ตัน เต็มที่ 450 ตัน
    • กินน้ำลึก 2.80 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 11 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 53 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Koden
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon Mk.4 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 3 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล Wishman กำลัง 600 แรงม้า 1 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 1 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaiarmedforce.com
  • http://www.manager.co.th
  • https://km.dmcr.go.th

Copyright © 2025 Seafarer

Theme by Anders NorenUp ↑