⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

ในอดีต เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประภาสทางทะเล กองทัพเรือ ได้จัด เรือหลวงจันทร เป็นเรือหลวงพระที่นั่ง ซึ่งในขณะนั้นได้มีคณะนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ตามเสด็จหลายท่าน ทำให้การจัดที่พักรับรองไม่สามารถกระทำได้อย่างสมฐานะ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านห้องพักรับรองมีจำนวนไม่พอ สมุหราชองครักษ์ในขณะนั้น จึงได้เสนอต่อทางกองทัพว่า กองทัพเรือควรจะมีเรือที่มีขนาดใหญ่กว่า ร.ล.จันทร จัดถวายเป็นเรือพระที่นั่ง เพื่อให้การเสด็จประภาสทางทะเลมีความสะดวกพอสมควร ซึ่งประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ขณะนั้น มีความต้องการ เรือสำรวจสมุทรศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในการสำรวจทางสมุทรศาสตร์เพื่อการทางทหารและทรัพยากรทางทะเล ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 3 กองทัพเรือพิจารณาเห็นชอบว่าควรดำเนินการ ตามที่กรมอุทกศาสตร์เสนอ แต่ให้เพิ่มขนาดเรือให้มีความใหญ่กว่าความต้องการนิดหน่อย เพื่อรองรับภารกิจด้านการรับรองการเสด็จประภาสทางทะเลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยใช้ชื่อว่า ร.ล.ศุกร์


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 812
    • วางกระดูกงู 30 พ.ย. 2520
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 8 ก.ย. 2524
    • ขึ้นระวางประจำการ 3 มี.ค. 2525
    • ผู้สร้าง บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 62.90 เมตร
    • ความกว้าง 11.50 เมตร
    • กินน้ำลึก 4.00 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 15 นอต
    • ระวางขับน้ำ 1,526 ตัน
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 วัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 5,000 ไมล์ ที่ 12 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ดีเซล 2 เครื่อง
    • ใบจักร 2 พวง
  • ระบบสนับสนุนอื่นๆ
    • เรือเล็ก 3 ลำ

แหล่งอ้างอิง

  • กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ