ความเป็นมาของโครงการ
กองทัพเรือได้รับอนุมัติงบประมาณพัฒนากำลังรบทางเรือให้มีสมรรถนะสูงขึ้นตามแผนป้องกันประเทศ โดยการจัดหาเรือรบประเภทพิฆาตคุ้มกัน หรือเรือฟริเกต ซึ่งเหมาะสมกับภารกิจของกองทัพเรือ กองทัพเรือได้ลงนามสัญญาสร้างเรือกับบริษัท ยาร์โรว์ จำกัด เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2512 โดยมี พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผบ.ทร.ในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามฝ่าย ทร.ไทย
การตั้งชื่อเรือ
แต่เดิมกองทัพเรือตั้งใจจะใช้ชื่อว่า ร.ล.เจ้าพระยาแต่ในระหว่างที่เรือยังสร้างไม่เสร็จ ได้มีพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2515 กองทัพเรือจึงได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็นเรือหลวงมกุฎราชกุมาร เพื่อเป็นการถวายเทิดพระเกียรติ นับได้ว่าเป็นเรือลำที่ สอง ที่ได้รับชื่อนี้ การสร้างเรือได้กระทำตามเทคนิคสมัยใหม่ ไม่มีการวางกระดูกงู โดยในวันที่ 18 พ.ย.2514 ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำ มี คุณหญิง ดุษฎีศุภมงคล ภริยาเอกอัคราชฑูตไทยประจำสหราชอาณาจักรเป็นผู้กระทำพิธี ร.ล.มกุฎราชกุมารได้ขึ้นระวางประจำการในวันจันทร์ที่ 7 พ.ค.2516 โดยมี พล.ร.อ.จิตต์ สังขดุลย์ เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามรับมอบ
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 433
- ไม่มีการวางกระดูกงู
- ปล่อยเรือลงน้ำ 18 พ.ย.2514
- ขึ้นระวางประจำการ 7 พ.ค. 2516
- ผู้สร้าง บริษัท Yarrow Shipbuilers Limited สหราชอาณ่าจักร
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 97.56 เมตร
- ความกว้าง 10.97 เมตร
- กินน้ำลึก หัว 4.50 เมตร ท้าย 2.8 เมตร
- ความเร็วมัธยัสถ์ 18 นอต
- ความเร็วสูงสุด 25 นอต
- ระวางขับน้ำปกติ 1,948 ตัน
- ระวางขับน้ำสูงสุด 2,072 ตัน
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 5,940 ไมล์
- กำลังพลประจำเรือ 150 นาย
- ระบบตรวจการณ์
- เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Thales ZW06
- เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ Thales DA05
- เรดาร์ควบคุมการยิง Thales WM22 mod.61
- ศูนย์เล็งกำหนดเป้าหมาย Thales TDS
- เรดาร์เดินเรือ Koden และ Furuno
- โซนาร์ Atlas Elektronik DSQS-21C
- ระบบอาวุธ
- ปืนหลัก 4.5 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
- ปืนกล 40/70 มม.แท่นคู่ จำนวน 2 กระบอก
- ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 4 กระบอก
- แท่นยิงจรวดส่องสว่าง จำนวน 2 แท่น
- แท่นยิง CHAFF MK 135 จำนวน 2 แท่น
- ท่อยิงตอร์ปิโด PMW-49A จำนวน 2 แท่น
- อาวุธปราบเรือดำน้ำ MORTAR จำนวน 1 แท่น
- รางปล่อยระเบิดลึก จำนวน 1 ราง
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องจักรใหญ่ระบบ CODAG
- เครื่องยนต์ดีเซล Man Diesel 12PC2V 1 เครื่อง
- เครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์ Twin Spool Axial Flow 1 เครื่อง
- เพลาใบจักร 2 เพลา
- ระบบสนับสนุนอื่นๆ
- ระบบรวมการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Elettronica Newton
- ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ Elettronica ELT-211
- ระบบรบกวนสัญญาณเรดาร์ แบบ noise jammer Elettronica ELT-318
- ระบบอำนวยการรบ Thales SEWACO (FORESEE-TH)
- ระบบควบคุมการยิงเป้าลวง Sippican Mk.33 RBOC
- ระบบถามสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย แบบ Mk.X (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ DA05) BAE AN/TPX-54
- ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี Thales Link-Y
แหล่งอ้างอิง
- http://www.frigate1.com/
- http://chaoprayanews.com