
ความเป็นมาของโครงการ
กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่ เข้าประจำการ ในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกลำเก่า (เรือหลวงช้างลำที่ 2) ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือระยะ 20 ปี พ.ศ.2560 – 2579 ที่ได้กำหนดความต้องการ เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ไว้ จำนวน 4 ลำ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 3 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียงและเป็นเรือบัญชาการ และการสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือและกู้ภัยเรือดำน้ำ และการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ
กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือยกพลขึ้นบก กำหนดให้ตั้งชื่อตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เรือหลวงช้าง” (เกาะช้าง จังหวัดตราด) ซึ่งเป็นลำที่ 3 ที่ใช้ชื่อนี้
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 792
- วางกระดูกงู 20 ก.ค.2564
- ปล่อยเรือลงน้ำ 4 ม.ค.2566
- ขึ้นระวางประจำการ (ประมาณ เม.ย.2566)
- ผู้สร้าง บริษัท Hudong-Zhonghua Shipbuilding สาธารณรัฐประชาชนจีน
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 23 เมตร
- ความกว้าง 28 เมตร
- กินน้ำลึก 17.4 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 25 นอต
- ระวางขับน้ำสูงสุด 20,003 ตัน
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 10,000 ไมล์
- ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 9
- บรรทุกกำลังรบยกพลขึ้นบกได้ 600 นาย
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่ 3)
- เรือหลวงช้าง (ลำที่ 3)

แหล่งอ้างอิง
- เฟซบุ๊ค กองทัพเรือ
- https://www.facebook.com/THAINAVY792/
- https://aagth1.blogspot.com/