⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

ช่วงก่อนที่จะมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ทร. ได้เล็งเห้นถึงความจำเป็นของการเตรียมการเรื่องท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการมีเรือขนาดใหญ่ในอนาคต จึงได้มีการปรับปรุงท่าเรือที่ฐานทัพเรือสัตหีบ รวมทั้งขยายท่าเทียบเรือสัตหีบให้มากขึ้น ส่งผลให้ พื้นที่จอดเรือภายในอ่าวมีความแออัด คับแคบ เป็นอุปสรรคต่อการนำเรือเข้าเทียบ โดยเฉพาะเรือขนาดใหญ่ หากไม่ใช้เรือลากจูงช่วยการเข้าเทียบ จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะหากมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เข้าประจำการ จำเป็นที่จะต้องใช้เรือลากจูงถึง 2 ลำ ช่วยการดันหรือจูง ซึ่งในยุคนั้น ยังขาดแคลนเรือลากจูงอยู่มาก ทำให้มีความต้องจัดหาเพิ่มเติมจำนวน 2 ลำ โดยครั้งแรกจะจัดหาประเภทเรือ coastal and harbour tug boat ซึ่งมีขีดความสามารถจูงเรือนอกชายฝั่งได้ด้วย แต่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นประเภท harbour tug boat เท่านั้น จึงจะสามารถต่อ 2 ลำตามที่ต้องการได้ ต่อมา ทร. ได้รับอนุมัติให้ทำการต่อเรือ โดยซื้อแบบและวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศในลักษณะ package deal มีบริษัทโอ๊คเวล คอร์เปอเรชั่น ไทยแลนด์ จำกัด และ เสรีสรรพกิจ จำกัด เป็นตัวกลางในการจัดหาวัสดุ ซึ่งดำเนินการต่อโดยกรมอู่ทหารเรือ นับว่าเรือทั้งสองลำมีความสำคัญมาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในภารกิจ ดับเพลิง ช่วยเหลือเรือที่ขัดข้องกลางทะเลได้อีกด้วย


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 856
    • วางกระดูกงู 5 มี.ค.2536
    • ขึ้นระวางประจำการ 20 พ.ย. 2537
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 25.0 เมตร
    • ความกว้าง 8.50 เมตร
    • กินน้ำลึก 4.60 เมตร
    • ระวางขับน้ำ ปกติ 328 ตัน เด็มที่ 385 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 8 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 10 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,598 ไมล์ ที่ 8 นอต
    • กำลังดัน 18 ตัน
    • กำลังพลประจำเรือ 22 นาย
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล Caterpillar MOD 3512 กำลัง 900 แรงม้า 2 เครื่อง
    • เครื่องไฟฟ้า Caterpillar MOD3304T จำนวน 2 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 2 เพลา
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://thaiarmedforce.com
  • สมรภูมิ ฉบับ 730 วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2538