⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงบางปะกง เป็นเรือคอร์เวต ชั้น Flower ของราชนาวีอังกฤษ เดิมชื่อ HMS Burnet (K348) สั่งต่อเมื่อ 22 ก.ค. 2485 ขึ้นระวางประจำการ ทร.อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2488 ได้ถูกส่งมอบโดยทันที ให้ ทร.อินเดีย โดยใช้ชื่อว่า HMIS Gondwana และได้ถูกส่งมอบกลับให้ ทร.อังกฤษใน พ.ศ. 2489 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และได้ขายต่อให้ ทร.ไทย ในปี พ.ศ. 2490 และใช้ชื่อว่า ร.ล.บางปะกง

การปฏิบัติการของเรือหลวงบางปะกงในช่วงสงครามเกาหลี

  • การปฏิบัติการระดมยิงชายฝั่งตะวันออกของเกาหลีเหนือครั้งแรก เริ่ม 3 มกราคม 2494 โดยได้ระดมยิงชายฝั่งบริเวณเส้น ละติจูดที่ 38 – 39 องศาเหนือ ระหว่างแนวเมืองชังจอน กับเมืองยังยัง วันที่ 5 และ 6 มกราคม 2494 ได้ทำการระดมยิงสถานีรถไฟ เส้นทางคมนาคม และสิ่งปลูกสร้างทางทหาร บริเวณเมืองโชโด
  • การระดมยิงฝั่งเมืองวอนชานครั้งที่ 1 (16 เมษายน – 13 พฤษภาคม 2494) เรือหลวงบางปะกงร่วมกับเรือรบสหรัฐฯ ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ไปยังอ่าววอนชาน เรือหลวงบางปะกงได้ทำการระดมยิง หน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งของข้าศึกบนแหลมกัลมากัก ใช้เวลาปฏิบัติการ 18 วัน (13 พฤษภาคม ได้ทำการผลัดเปลี่ยนกำลังพล ทำเสร็จใน 1 มิถุนายน 2494)
  • การระดมยิงฝั่งเมืองวอนชานครั้งที่ 2 (13 – 18 มิถุนายน 2494) เรือหลวงบางปะกง และเรือฟรีเกต สหรัฐฯ ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซาเซโบ ถึงอ่าววอนชาน ได้ระดมยิงที่หมาย หน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งที่ตำบลฮัมจิ กับเส้นทางลำเลียงบริเวณชองดอง การปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับคำชมเชยเป็นอันมาก ในเดือนสิงหาคม 2494 กำลังพลประจำเรือ รุ่นที่ 2 จำนวน 55 คน ได้เข้าผลัดเปลี่ยนรุ่นที่ 1 ส่วนที่เหลือ
  • การปฏิบัติการที่เมืองวอนชานครั้งที่ 3 (3 – 10 กันยายน 2494) เรือหลวงบางปะกงเดินทางถึงอ่าววอนชาน ได้รับมอบภารกิจเป็นเรือรักษาด่าน วันต่อมาได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามแผนการลาดตระเวณ ได้รับคำสั่งให้ยิงที่หมายโดยอิสระ ได้ระดมยิงที่หมายทางรถไฟ และสะพานรถไฟชายฝั่งเมืองชองจิน วันต่อมาทำหน้าที่รักษาด่าน และเข้ายิงที่หมายเส้นทางลำเลียงบริเวณเหนือแหลมโฮโด ปันโด ในอ่าววอนชาน เข้ายิงที่หมายหน่วยปืนใหญ่รักษาฝั่งของข้าศึก บริเวณปลายแหลมโฮโดปันโดในอ่าววอนชาน แล้วออกลาดตระเวณไปยังชองจิน วันต่อมายิงที่หมายทางรถไฟ สถานีรถไฟ สะพานรถไฟ บริเวณชายฝั่งเมืองชองจิน วันต่อมาทำหน้าที่รักษาด่านเขตทิ้งระเบิด และยิงที่หมายบริเวณอ่าววอนชาน
  • การปฏิบัติการที่เมืองวอนชาน ครั้งที่ 4 (24 ตุลาคม 2494) ได้ไปปฏิบัติการ ณ เมืองวอนชาน โดยทำการลาดตระเวณฝั่งตะวันออก ขึ้นไปทางเหนือแหลมไฮโดปันโด ป้องกันเรือเล็กข้าศึกลอบเข้าไปวางทุ่นระเบิด หรือทำการลำเลียงทหาร
  • การปฏิบัติการที่เมืองวอนชาน ครั้งที่ 5 (17 – 19 พฤศจิกายน 2494) ทำหน้าที่รักษาด่านเวลากลางคืน และลาดตระเวณเวลากลางวัน
  • เรือหลวงบางปะกงเดินทางกลับประเทศไทย 29 ธันวาคม 2494 เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส (ลำใหม่) เรียกว่า หมู่เรือฟรีเกต (มฟ.) ได้เดินทางมาถึงฐานทัพเรือซาเซโบ กองทัพเรือได้กำหนดให้เรือหลวงบางปะกงพ้นจากหน้าที่ ให้เข้าอู่ซ่อมใหญ่ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากที่ซ่อมเสร็จเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ และได้เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ 11 มีนาคม 2495


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • เรือในชุดเดียวกัน ร.ล.ประแส(ลำที่ 1)
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 31 พ.ค. 2486
    • ชื่อเดิม HMS Burnet ของ ทร.อังกฤษ
    • ชื่อเดิม HMIS Gondwana ของ ทร.อินเดีย
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 15 พ.ค. 2490
    • ปลดประจำการ ระหว่าง พ.ศ. 2525-2528
    • ผู้สร้าง บริษัท Ferguson Shipbuilders, Limited เมืองกลาสโกลว์ ประเทศอังกฤษ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 63.40 เมตร
    • ความกว้าง 10.06 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.35 เมตร
    • ระวางขับน้ำ ปกติ 1,031 ตัน เต็มที่ 1,137 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 16 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,500 ไมล์ ที่ 12 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 90 นาย
  • ระบบตรวจจับ
    • เรดาร์ Type 271 SW2C
    • โซนาร์ Type 144
  • ระบบอาวุธ
    • ปินใหญ่ 4 นิ้ว (102 มม.) BL Mk.IX แท่นเดี่ยว 1 กระบอก
    • ปืนต่อสู้อากาศยาน Mk.VIII single “pom-pom” 2 ท่อยิง จำนวน 1 ชุด
    • ปืนกล 20 มม Oerlikon แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
    • แท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำแบบ Hedgehog จำนวน 1 แท่นยิง
    • เครื่องยิงระเบิดลึก Mk.II depth charge จำนวน 4 แท่นยิง
    • รางปล่อยลูกระเบิดน้ำลึก 2 ราง พร้อมลูกระเบิดน้ำลึก 70 ลูก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • ระบบขับเคลื่อน เครื่องยนต์กังหันไอน้ำ 1 เครื่องยนต์ ให้กำลังขับเคลื่อน 2,750 แรงม้า
    • ใบจักร จำนวน 1 เพลาใบจักร

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org
  • https://en.wikipedia.org
  • https://www.baanjomyut.com