ความเป็นมาของโครงการ
เรือหลวงจุฬา เป็นเรือบรรทุกน้ำมัน ในชุด 2TM ของญี่ปุ่น สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือในชุดเดียวกันมีจำนวน 34 ลำ
การดำเนินการสร้าง
การออกแบบสร้าง มุ่งเน้นสร้างเรือให้ได้จำนวนมาก ตัวเรือมีเฟรมตามแนวขวางน้อยกว่าเรือปกติทั่วไป ทำให้บอบบางต่อการป้องกันความเสียหาย นอกจากนี้ยังไม่ได้ออกแบบ เป็นตัวเรือสองชั้นด้านใต้ ในภาพรวมการใช้งานมีความเร็วน้อยและเป็นเป้าหมายต่อการถูกโจมตีได้ง่าย
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 2
- สร้างช่วง ปี พ.ศ. 2487-2488
- ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย ปี พ.ศ. 2489
- ปลดประจำการ ปี พ.ศ. 2522
- ผู้สร้าง บริษัท ฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 328 ฟุต
- ความกว้าง 43.50 ฟุต
- กินน้ำลึก 25 ฟุต
- ความเร็วมัธยัสถ์ 9.50 นอต
- ความเร็วสูงสุด 11.50 นอต
- ระวางขับน้ำปกติ 2,395 ตัน
- ระวางขับน้ำเต็มที่ 4,744 ตัน
- ระยะปฏิบัติการ 5,000 ไมล์ ที่ 9.5 นอต
- ระบบสนับสนุน
- บรรทุกน้ำมัน 3,500 ตัน
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องจักรไอน้ำ
- เพลาใบจักร 1 เพลา
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือหลวงจุฬา(ลำที่ 2)
- เรือหลวงมาตรา(ลำที่ 1)
แหล่งอ้างอิง
- http://www.combinedfleet.com
- https://www.history.navy.mil/
- https://stefsap.wordpress.com/2015/12/07/the-thai-navy/
- http://global-mariner.com
- http://pwencycl.kgbudge.com