⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐได้มีการดัดแปลงเรือไม้และเรือเหล็กที่ใช้สำหรับปราบเรือดำน้ำ (submarine chaser) เป็นเรือยนต์ปืน (motor gunboat) เพื่อใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือตรวจการณ์ โดยมีการเพิ่มเติมอาวุธปืนลงไป อย่างไรก็ตาม การดัดแปลงดังกล่าว ทำให้ความเร็วเรือลดลง แต่ก็ยังสามารถนำไปใช้งานในด้านการกวาดทุ่นระเบิดได้ดี ซึ่งต่อมา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้มีการส่งมอบเรือที่ต่อโดยใช้รูปแบบดังกล่าวให้ ทร. ตามข้อตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกา จำนวน 10 ลำ ได้แก่ PGM-71(ต.11) PGM-79(ต.12) PGM-107(ต.13) PGM-113(ต.14) PGM-114(ต.15) PGM-115(ต.16) PGM-116(ต.17) PGM-117(ต.18) PGM-123(ต.19) และ PGM-124(ต.110) ภายหลังปลดประจำการ ถูกนำไปเป็นประการังเทียม ไว้บริเวณทะเลเขาหลัก จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2557


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 13
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 13 เม.ย. 2510
    • ส่งมอบให้ไทย 28 ส.ค. 2510
    • ขึ้นระวางประจำการ 8 มี.ค. 2511
    • ปลดประจำการ 1 ต.ค. 2554
    • ผู้สร้าง บริษัท Peterson Builders ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 30.30 เมตร
    • ความกว้าง 6.40 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.70 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 18 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 146 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,411 ไมล์ ที่ 15 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 30 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Furuno
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-CO1 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 แท่น
    • เครื่องยิงลูกระเบิด Mk 81 mod 2 ขนาด 81 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล Detroit Diesel 6-71 จำนวน 2 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 2 เพลา
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • กองเรือยามฝั่ง
  • http://www.thaiarmedforce.com/
  • http://www.navsource.org
  • https://km.dmcr.go.th