ความเป็นมาของโครงการ
เมื่อปี 2503 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาทยุโรป ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งของกองทัพเรือเยอรมัน จึงทรงมีพระราชดำริว่า “กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่างๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ” จึงทำให้กองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือรับสนองพระราชดำริโดยการต่อเรือในชุดเรือ ต.91 ขึ้น ซึ่งในระหว่างการดำเนินการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการต่อเรือ รวมถึงทรงเป็นธุระติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้ทำการทดสอบแบบของเรือ ต.91 ให้ แม้แต่การทดสอบเรือในทะเล พระองค์ก็ทรงเสด็จไปร่วมทดสอบด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงตรวจแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ จนทำให้การต่อเรือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จไปประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.91 ลงน้ำ และนับจากนั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเรือในชุด ต.91 เพิ่มเติมอีกคือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98 และ ต.99 ในระหว่างปี 2514-2530
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 97
- ขึ้นระวางประจำการ 16 ก.ย. 2526
- ปลดประจำการ ( – )
- ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 34 เมตร
- ความกว้าง 5.70 เมตร
- กินน้ำลึก 1.60 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 27 นอต
- ระวางขับน้ำสูงสุด 134 ตัน
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 973 ไมล์ ที่ 21 นอต
- กำลังพลประจำเรือ 28 นาย
- ระบบตรวจการณ์
- เรดาร์เดินเรือ Decca
- ระบบอาวุธ
- ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
- ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 538 TB80-82 จำนวน 2 เครื่อง
- เรือในชุดเดียวกัน
แหล่งอ้างอิง
- http://www.thaiarmedforce.com/
- http://www.thailand24news.com