ขนบธรรมเนียม ประเพณี ทหารเรือ

การฉลองเรือ เป็นพิธีที่มีขึ้นในโอกาสที่เรือรบที่ได้ตั้งชื่อเรือตามชื่อเมืองของตนได้เดินทางมาเยี่ยมชาวเมืองเป็นครั้งแรก ซึ่งชาวเมืองนั้น ๆ ถือว่า เรือรบที่ได้ตั้งตามชื่อเมืองของตนนั้นเป็นเกียรติประวัติ เป็นสิริมงคล และเป็นมิ่งขวัญอย่างสูงยิ่ง จึงจัดให้มีการฉลองเรือ เป็นงานมหกรรมพิเศษ และเป็นประเพณีสืบเนื่อง ในปีหนึ่ง ๆ เรือรบจะต้องไปเยี่ยมเมืองอันเป็นชื่อเรือของตน

สำหรับราชนาวีไทย ในสมัยก่อนมีการสั่งต่อเรือจากต่างประเทศ พิธีฉลองเรือมีขึ้นในโอกาสที่เรือหลวงได้สร้าง หรือซื้อจากต่างประเทศเดินทางมาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรก ส่วนสถานที่กำหนดพิธีฉลองเรือที่ใดนั้น อาจกระทำในกรุงเทพมหานครหรือต่างจังหวัดนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของเรือที่ตั้งชื่อ ตามระเบียบกองทัพเรือว่าด้วย การแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง พ.ศ.2527 ในภายหลัง เรือรบไทยสามารถดำเนินการต่อได้เองภายในประเทศ พิธีฉลองเรือก็กระทำเช่นเดียวกับที่ต่างประเทศปฏิบัติคือกระทำเมื่อเดินทางไปยังเมือง หรือ จังหวัดตามชื่อเรือนั้นๆ

เรือหลวงที่ได้รับพระราชทานตามชื่อตัว บรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ หรือตามชื่อประเภทของเรืออื่น ๆ อาจมีพิธีฉลองเรือในกรุงเทพมหานคร เช่น พิธีฉลอง ร.ล.พระร่วง ได้กระทำที่ท่าราชวรดิฐ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 – 10 ตุลาคม 2463 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ส่วนเรือหลวงที่ได้รับพระราชทานตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ ตามชื่อเมือง หรือตำบลชายทะเลที่สำคัญ ได้มีพิธีฉลองเรือตามต่างจังหวัดที่มีเรือของตน ในอดีตมาแล้ว มีการมอบพระพุทธรูป โล่ประจำจังหวัดให้แก่เรือหลวงนั้น ๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้มีพิธีฉลอง ร.ล.แม่กลอง ร.ล.จันทบุรี ร.ล.ระยอง ร.ล.ตราด ร.ล.ชลบุรี ร.ล.สงขลา และ ร.ล.ภูเก็ต เป็นต้น


การฉลองเรือ เป็นพิธีที่มีขึ้นในโอกาสที่เรือรบที่ได้ตั้งชื่อเรือตามชื่อเมืองของตนได้เดินทางมาเยี่ยมชาวเมืองเป็นครั้งแรก ซึ่งชาวเมืองนั้น ๆ ถือว่า เรือรบที่ได้ตั้งตามชื่อเมืองของตนนั้นเป็นเกียรติประวัติ เป็นสิริมงคล และเป็นมิ่งขวัญอย่างสูงยิ่ง จึงจัดให้มีการฉลองเรือ เป็นงานมหกรรมพิเศษ และเป็นประเพณีสืบเนื่อง ในปีหนึ่ง ๆ เรือรบจะต้องไปเยี่ยมเมืองอันเป็นชื่อเรือของตน

สำหรับราชนาวีไทย ในสมัยก่อนมีการสั่งต่อเรือจากต่างประเทศ พิธีฉลองเรือมีขึ้นในโอกาสที่เรือหลวงได้สร้าง หรือซื้อจากต่างประเทศเดินทางมาถึงประเทศไทยเป็นครั้งแรก ส่วนสถานที่กำหนดพิธีฉลองเรือที่ใดนั้น อาจกระทำในกรุงเทพมหานครหรือต่างจังหวัดนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของเรือที่ตั้งชื่อ ตามระเบียบกองทัพเรือว่าด้วย การแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง พ.ศ.2527 ในภายหลัง เรือรบไทยสามารถดำเนินการต่อได้เองภายในประเทศ พิธีฉลองเรือก็กระทำเช่นเดียวกับที่ต่างประเทศปฏิบัติคือกระทำเมื่อเดินทางไปยังเมือง หรือ จังหวัดตามชื่อเรือนั้นๆ

เรือหลวงที่ได้รับพระราชทานตามชื่อตัว บรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ หรือตามชื่อประเภทของเรืออื่น ๆ อาจมีพิธีฉลองเรือในกรุงเทพมหานคร เช่น พิธีฉลอง ร.ล.พระร่วง ได้กระทำที่ท่าราชวรดิฐ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 – 10 ตุลาคม 2463 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ส่วนเรือหลวงที่ได้รับพระราชทานตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ ตามชื่อเมือง หรือตำบลชายทะเลที่สำคัญ ได้มีพิธีฉลองเรือตามต่างจังหวัดที่มีเรือของตน ในอดีตมาแล้ว มีการมอบพระพุทธรูป โล่ประจำจังหวัดให้แก่เรือหลวงนั้น ๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้มีพิธีฉลอง ร.ล.แม่กลอง ร.ล.จันทบุรี ร.ล.ระยอง ร.ล.ตราด ร.ล.ชลบุรี ร.ล.สงขลา และ ร.ล.ภูเก็ต เป็นต้น

ในปัจจุบันได้กำหนดพิธีฉลองเรือของราชนาวีไทย พอสังเขปดังต่อไปนี้

  • พิธี ประกอบด้วย พิธีทางศาสนา มอบเรือจำลอง มอบพระพุทธรูป เจิมเรือ คล้องพวงมาลัยหัวเรือ มีมหรสพสมโภช เปิดให้ประชาชนขึ้นชมเรือ
  • ผู้ประกอบพิธี ผบ.ทร. หรือผู้ที่ ผบ.ทร. พิจารณาเห็นสมควร เป็นประธานพิธีฝ่ายทหารเรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน เป็นประธานพิธีฝ่ายจังหวัด
  • กำหนดเวลาทำพิธี ไม่กำหนดฤกษ์ยาม

แหล่งอ้างอิง

  • หนังสือ ขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ