ขนบธรรมเนียม ประเพณี ทหารเรือ

การตั้งชื่อเรือ เดิมนิยมตั้งตามชื่อตัวสำคัญในนิยายที่เก่งกล้าสามารถ ไม่มีใครสู้ได้ ต่อมานิยมตั้งชื่อตามเมืองหลวงเก่า เมืองสำคัญ ตำบลที่สำคัญชายทะเลหรือพระนามของพระเจ้าแผ่นดิน และบุคคลที่มีคุณแก่ชาติ ในปัจจุบันการตั้งชื่อเรือรบไทย ปฏิบัติตามระเบียบกองทัพเรือว่าด้วย การแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง พ.ศ.2527 คือ


  • เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว
  • เรือฟรีเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ
  • เรือคอวร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง หรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์
  • เรือเร็วโจมตี
    • เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลสมัยโบราณที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ
    • เรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล
  • เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิพลในนิยายหรือวรรณคดี เกี่ยวกับการดำน้ำ
  • เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ
  • เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง เรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ
  • เรือตรวจการณ์
    • เรือตรวจการณ์ปืน ตั้งตามชื่ออำเภอชายทะเล
    • เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ
  • เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ
  • เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ

แหล่งอ้างอิง

  • หนังสือ ขนบธรรมเนียม ประเพณีทหารเรือ