ความเป็นมาของโครงการ
เรือหลวงเจ้าพระยา (HTMS Chao phraya) เป็นเรือฟริเกตในชั้นเจ้าพระยา ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือหูต่ง ประเทศจีน โดยปรับปรุงแบบจากเรือฟริเกต ประเภท 053 HT (ชั้นเจียงหู III) ของจีน มีเรือในชั้นเดียวกันอีกสามลำคือ เรือหลวงบางปะกง, เรือหลวงกระบุรี , และเรือหลวงสายบุรี เรือหลวงเจ้าพระยาลำปัจจุบันนี้ เป็นเรือหลวงลำที่สองที่ใช้ชื่อ เจ้าพระยา โดยเรือลำแรกเป็นเรือสลุปในสมัย พ.ศ. 2466
การตั้งชื่อเรือ
“เจ้าพระยา” เป็นชื่อของแม่น้ำสายหลักที่สำคัญสายหนึ่งในประเทศไทย แม่น้ำเจ้าพระยามีต้นกำเนิดมาจาก แม่น้ำสายเล็ก ๆ 4 สาย ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งไหลมาบรรจบกันทางตอนกลางของประเทศ และกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเมืองที่สำคัญของประเทศหลายเมืองได้แก่ อยุธยา ธนบุรี และกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ชื่อของ แม่น้ำเจ้าพระยา นี้ในอดีตเคยเป็นชื่อของเรือรบของประเทศไทยมาก่อน ซึ่งปัจจุบันได้ปลดระวางประจำการไปแล้ว ต่อมากองทัพเรือได้สั่งต่อเรือฟริเกต ขึ้นใหม่จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ พระราชทานนามว่า “เรือหลวงเจ้าพระยา”
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 455
- นามเรียกขานสากล HSMA
- ขึ้นระวางประจำการ 8 เม.ย. 2534
- ผู้สร้าง บริษัท HUDONG SHIPYARD สาธารณรัฐประชาชนจีน
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 102.87 เมตร
- ความกว้าง 11.36 เมตร
- กินน้ำลึก 3.1 เมตร
- ความเร็วมัธยัสถ์ 18 นอต
- ความเร็วสูงสุด 30 นอต
- ระวางขับน้ำปกติ 1.676 ตัน
- ระวางขับน้ำสูงสุด 1,924 ตัน
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,500 ไมล์
- ระบบตรวจการณ์
- เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Type 354 Eye Shield
- เรดาร์ควบคุมการยิง Type 341 Rice Lamp
- เรดาร์ควบคุมการยิง Type 343 Sun Visor
- เรดาร์ควบคุมการยิง Type 352 Square Tie
- เเรดาร์เดินเรือ Sperry Marine BridgeMaster E และ Furuno
- โซนาร์หัวเรือ SJD-5
- ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ Type 923-1 Jug Pair
- ระบบรบกวนสัญญาณเรดาร์ แบบ noise jammer Type 981-2
- ESM
- ระบบอาวุธ
- ปืนใหญ่เรือ ขนาด 100 มม.แท่นคู่ 2 แท่น
- อาวุธปล่อยนำวิถี C-801 4 แท่น แท่นละ 2 ท่อยิง
- ปืนใหญ่กล ขนาด 37 มม.แท่นคู่ 4 แท่น
- ปืนกล .50 นิ้ว 2 แท่น
- จรวดปราบเรือดำน้ำ RBU-1200 จำนวน 2 แท่น
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- CODAD เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 30 V 1163 TB 83 จำนวน 4 เครื่อง
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU 6V 396 TB53 จำนวน 4 เครื่อง
- เพลาใบจักร 2 เพลา ใบจักร Wartsila Lips Defence แบบปรับมุมได้
- ระบบสนับสนุนอื่นๆ
- ระบบอำนวยการรบ ZKJ-3A
- ระบบ IFF (ติดตั้งคู่กับเรดาร์ Type 354) Type 651
- ระบบวิทยุสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT-M
- NOISE JAMMER
- PASSIVE JAMMER
- แท่นยิงเป้าลวง 2 แท่น แท่นละ 26 ท่อยิง
- ระบบลบล้างสนามแม่เหล็กตัวเรือ XC-4D
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือหลวงเจ้าพระยา (ลำที่ 2)
- เรือหลวงบางปะกง(ลำที่ 2)
- เรือหลวงกระบุรี
- เรือหลวงสายบุรี
แหล่งอ้างอิง
- hhttp://www.rtna.ac.th
- https://th.wikipedia.org
- http://thaidefense-news.blogspot.com