ความเป็นมา
เมื่อพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478 ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว กองทัพเรือต้องการต่อเรือตอร์ปิโดชั้นเรือหลวงตราดเพิ่มเติม 4 ลำ ในโครงการเฟส 2 ได้มีการเรียกประกวดราคาเรือและราคาอาวุธต่างๆแยกกันออกไป โดยเลือกใช้ปืนเรือจากสวีเดนและตอร์ปิโดจากเดนมาร์คทดแทนของเดิม ส่งผลให้ราคาต่อเรือหนึ่งลำไม่รวมอาวุธเหลือแค่เพียง 571,300 บาท ทำให้สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้ถึง 7 ลำในวงเงิน 3.999 ล้านบาท และเมื่อติดตั้งอาวุธครบครันแล้วมีราคาต่อลำแค่เพียง 8 แสนบาทเท่านั้น พอรวมกับเรือเดิมอีก 2 ลำแล้ว จึงเท่ากับมีเรือชั้นเดียวกันถึง 9 ลำ กองทัพเรือสามารถจัดกำลังรบเป็นหมู่ละ 3 ลำได้ถึง 3 หมู่ เรือตอร์ปิโดชั้นเรือหลวงตราดเฟส 2 เข้าประจำการพร้อมกันทุกลำวันที่ 5 ตุลาคม 2481 เรือมีระวางขับน้ำลดลงมาประมาณ 10 ตันคือ 460 ตัน ความเร็วลดลงมาประมาณ 1.5 นอตคือ 30.5 นอต มีการปรับปรุงในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งสามารถบรรทุกน้ำมันได้มากขึ้นกว่าเดิม จึงมีระยะทำการไกลสุดเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 33
- ขึ้นระวางประจำการ 5 ต.ค. 2481
- จมในการรบที่เกาะช้าง 17 ม.ค. 2484
- ผู้สร้าง อู่กันติเอริ ริอูนิติ เดลล์ดดริอาติโก มองฟัลโกเน เมืองตริเอสเต (Cantieri Riuniti dell’ Adriatico in Monfalcone) ประเทศอิตาลี
- กำลังพล 112 นาย
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 68.5 เมตร
- ความกว้าง 6.55 เมตร
- กินน้ำลึก 2.80 เมตร
- ระวางขับน้ำสูงสุด 460 ตัน
- ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
- ความเร็วสูงสุด 30.5 นอต
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,530 ไมล์ ที่ 12 นอต และ 867 ไมล์ ที่ 30 นอต
- ระบบอาวุธ
- ตอร์ปิโด 44 ซม. 4 ท่อยิง
- ปืน 75/51 มม. 2 กระบอก
- ปืนต่อสู้อากาศยาน Madsen 20 มม. 2 กระบอก
- ปืน 40/60 มม. Bofors 1 กระบอก
- ปืนกล Lewis 7.7 มม จำนวน 2 – 4 กระบอก
- ระบบขับเคลื่อน
- เครื่องจักรไอน้ำ แบบพาร์สัน (ไอเบา 2 ครั้ง) 2 เครื่อง
- ใบจักรคู่
- เรือในชุดเดียวกันเรือหลวงตราด
แหล่งอ้างอิง
- http://www.rtni.org
- http://thaimilitary.blogspot.com