Category: Uncategorized

เรือหลวงหัวหิน

⇑ กำลังทางเรือ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 541
    • ขึ้นระวางประจำการ 17 ก.ค. 2544
    • ผู้สร้าง บริษัท Asian Marine Services
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 61.67 เมตร
    • ความกว้าง 8.90 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.64 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 25 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ546 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 624 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,667 ไมล์
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 45 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine 2 ชุด
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่เรือ Mk 22 mod 0 ขนาด 76 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MAN Diesel (Paxman) 12VP185 3 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 3 เพลา ใบจักรแบบปรับมุมได้ 1 ชุด และแบบมุมตายตัว 2 ชุด
  • เรือในชุดเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง

  • http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/
  • https://sites.google.com/site/vichayasan1812/

เรือหลวงท้ายเหมือง

⇑ กำลังทางเรือ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 526
    • ขึ้นระวางประจำการ 20 ก.พ. 2529
    • ผู้สร้าง บริษัท Italthai Marine
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 50.14 เมตร
    • ความกว้าง 7.28 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.80 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 260 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,270 ไมล์
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Decca
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่เรือ Bofors ขนาด 76 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Bofors ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล (MTU 16V568TB92) จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง

  • http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/
  • https://th.wikipedia.org/

เรือหลวงเทพา

⇑ กำลังทางเรือ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 525
    • ขึ้นระวางประจำการ 4 พ.ย. 2528
    • ผู้สร้าง บริษัท Italthai Marine
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 50.14 เมตร
    • ความกว้าง 7.28 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.80 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 260 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,270 ไมล์
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Decca
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่เรือ Bofors ขนาด 76 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Bofors ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล (MTU 16V568TB92) จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง

  • http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/
  • https://th.wikipedia.org/

เรือหลวงกันตัง(ลำที่ 2)

⇑ กำลังทางเรือ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 524
    • ขึ้นระวางประจำการ 2 ธ.ค. 2528
    • ผู้สร้าง บริษัท Italthai Marine
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 50.14 เมตร
    • ความกว้าง 7.28 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.80 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 260 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,270 ไมล์
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Decca
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่เรือ Bofors ขนาด 76 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Bofors ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล (MTU 16V568TB92) จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง

  • http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/
  • https://th.wikipedia.org/

เรือหลวงตากใบ(ลำที่ 2)

⇑ กำลังทางเรือ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 523
    • ขึ้นระวางประจำการ 17 ก.ค. 2528
    • ผู้สร้าง บริษัท Italthai Marine
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 50.14 เมตร
    • ความกว้าง 7.28 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.80 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 260 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,500 ไมล์
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Furuno
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
    • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara Compact ขนาด 76 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Breda ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล (MTU 16V568TB92) จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง

  • http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/
  • https://th.wikipedia.org/

เรือหลวงคลองใหญ่(ลำที่ 2)

⇑ กำลังทางเรือ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 522
    • ขึ้นระวางประจำการ 10 เม.ย. 2527
    • ผู้สร้าง บริษัท Italthai Marine
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 50.14 เมตร
    • ความกว้าง 7.28 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.80 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 260 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,500 ไมล์
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Furuno
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
    • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara Compact ขนาด 76 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Breda ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล (MTU 16V568TB92) จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง

  • http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/
  • https://th.wikipedia.org/

เรือหลวงสัตหีบ

⇑ กำลังทางเรือ

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 521
    • ขึ้นระวางประจำการ 16 ก.ย. 2526
    • ผู้สร้าง บริษัท Italthai Marine
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 50.14 เมตร
    • ความกว้าง 7.28 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.80 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 260 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,500 ไมล์
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Furuno
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบอำนวยการรบ Thales TACTICOS
    • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara Compact ขนาด 76 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Breda ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล (MTU 16V568TB92) จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน



แหล่งอ้างอิง

  • http://www2.fleet.navy.mi.th/patrolsqdn/
  • https://th.wikipedia.org/

เรือหลวงแหลมสิงห์

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลางตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พุทธศักราช 2551 – 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบได้ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำและการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ โดยกองทัพเรือจัดซื้อแบบแปลนรายละเอียด และพัสดุสำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนจาก บริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 699,459,000 บาท และมอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบในการสร้างเรือ ใช้พื้นที่ของอู่ทหารเรือธนบุรีเป็นสถานที่ต่อเรือ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกรมอู่ทหารเรือในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน หลังจากที่กรมอู่ทหารเรือประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือและรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัย และล่าสุดคือ เรือหลวงกระบี่ ซึ่งเป็นเรือประเภท เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่และสมรรถนะสูง

การดำเนินการสร้าง

การสร้างเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือ ออกเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน และหลังจากนั้น จะนำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร) รวมถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยในระยะที่ 2 มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน ถึงกลางเดือนมิถุนายน 2559

ภารกิจของหน่วย

มีภารกิจในการตรวจการณ์ ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมในทะเล คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ สาขาต่าง ๆ ตลอดจน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่ง


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 561
    • วางกระดูกงู 4 ส.ค. 2557
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 25 ส.ค. 2558
    • ขึ้นระวางประจำการ 21 ก.ย. 2559
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 58 เมตร
    • ความกว้าง 9.30 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.50 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 24 นอต
    • ตัวเรือทำด้วย สตีล/อลูมิเนียม
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,500 ไมล์
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5
    • ปฏิบัติงานในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 7 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 53 นาย + 1 VIP
  • ระบบเดินเรือ
    • เรดาร์ S Band
    • เรดาร์ X Band
    • ECDIS
    • ไยโร แบบ Ring Laser
    • GPS
  • ระบบสื่อสาร
    • วิทยุ HF/SSB
    • วิทยุ HF/SSB Frequency Hopping
    • UHF AM/FM
    • VHF/UHF
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก OTO Melara 76 มม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล 30 มม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ CAT 3516 C จำนวน 3 เครื่อง
    • ใบจักร พวงกลางแบบ CPP, 2 พวงข้างแบบ FPP
    • เครื่องไฟฟ้า MAN D2876 LE301/Leroy Somer LSAM 47.2 M7 จำนวน 3 เครื่อง

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.sctr.navy.mi.th
  • http://www.marsun.th.com

เรือหลวงกระบี่

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

การสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา ใน 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 และเป็นส่วนหนึ่ง ของการพัฒนากําลังรบ ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ เพื่อรองรับกับบทบาท และหน้าที่ของกองทัพเรือในด้าน การปฏิบัติการทางทหาร ในการป้องกันประเทศ การรักษากฎหมาย และการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง มีขีดความสามารถในการลาดตระเวน ตรวจการณ์รักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึมทางทะเล คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และการรักษากฎหมายในทะเล ตามอํานาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ขอบเขตของโครงการ เป็นการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จํานวน 1 ลํา ในวงเงินรวม 2,871 ล้านบาท ระยะเวลาการดําเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 ถึง 2555 ในการนี้ กองทัพเรืออนุมัติให้กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยสร้างเรือ และกําหนดให้ใช้พื้นที่ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ เป็นสถานที่สร้างเรือ อันเป็นการดําเนินการตามแนวพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนา ขีดความสามารถของกรมอู่ทหารเรือ ในการสร้างเรือตรวจการณ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หลังจากที่ประสบความสําเร็จ ในการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.991 และนําไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงในการสร้างเรือ ชุดเรือ ต.994 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนิน แทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีวางกระดูกงู เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันจันทร์ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2553 และต่อมาได้พระราชทาน ชื่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำนี้ว่า เรือหลวงกระบี่ หมายเลข ประจําเรือ 551 อีกทั้ง ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังเสด็จแทนพระองค์ ทรงเป็นประธานในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ และได้มีพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา หรือ “เรือหลวงกระบี่” ณ ท่าเรือแหลมเทียน สัตหีบ ชลบุรี เมื่อ 26 สิงหาคม 2556 โดย พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธี

การดำเนินการสร้าง

ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาการซื้อขายแบบรายละเอียดและพัสดุ รวมทั้งการบริการทางเทคนิคต่าง ๆ การสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จะใช้แบบสร้าง ของบริษัท BVT Surface Fleet สหราชอาณาจักร โดยมีโปรแกรม Tribon มาช่วยในการสร้างเรือ เนื่องจากการสร้างเรือเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอน การออกแบบ การปรับปรุงแบบรายละเอียด และการผลิตเอกสารและข้อมูลที่เพียงพอสําหรับการสร้าง เพื่อให้การบริหารจัดการการสร้างเรือ โดยรวมมีความถูกต้อง ใช้เวลาน้อย ลดการทํางานที่ซ้ำซ้อน และมีประสิทธิภาพตรงตามแบบ โปรแกรม Tribon จึงมีบทบาทอย่างมากในการช่วยในการออกแบบและสร้างเรือ โดยในแนวทางการสร้างเรือ ตามที่ระบุไว้ในกลยุทธ์การสร้างเรือ (Build Strategy) กําหนดให้แบ่งตัวเรือออกเป็นทั้งหมด 17 บล็อกใหญ่ และ 31 บล็อกย่อย เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งอํานวยความสะดวก และพื้นที่ ๆ ใช้ในการสร้างเรือของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ทั้งนี้เนื่องจากบล็อกตัวเรือในแต่ละบล็อกมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก หากไม่แบ่งย่อย ออกเป็นบล็อกเล็ก ๆ (Sub Block) จะทําให้การเคลื่อนย้ายและยกบล็อกต่าง ๆ เป็นไปด้วยความลําบากและเพื่อให้สะดวกรวดเร็วในการสร้างเรือ ซึ่งตามแผนหลักการสร้างเรือ กําหนดให้ใช้พื้นที่บริเวณหัวอู่แห้งและพื้นที่ลานสร้างเรือ เป็นพื้นที่ ๆ ใช้ในการสร้างและประกอบโครงสร้าง รวมทั้งส่วนประกอบของตัวเรือในแต่ละบล็อก(Block Assembly) เมื่อการสร้างประกอบบล็อกตัวเรือแต่ละบล็อกแล้วเสร็จ จะทยอยยกบล็อกตัวเรือต่าง ๆ ลงมาเชื่อมประกอบเข้าด้วยกัน (Block Erection) ตามลําดับ ในอู่แห้งต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างการสร้างประกอบบล็อกตัวเรือ และการเชื่อมประกอบบล็อกตัวเรือเข้าด้วยกันแล้ว งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการดําเนินการในลักษณะคู่ขนานกัน เช่น งานส่วนประกอบตัวเรือทั้งภายในและภายนอก (Outfitting) งานของระบบกลจักร ระบบไฟฟ้า ระบบท่อทาง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ งานระบบสรรพาวุธ

ภารกิจของหน่วย

มีภารกิจในการปฏิบัติการทางทหารในการป้องกันประเทศ และการรักษากฎหมายและช่วยเหลือประชาชน โดยให้มีขีดความสามารถในการ ลาดตระเวน ตรวจการณ์ รักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 551
    • วางกระดูกงู 23 ส.ค. 2553
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 2 ธ.ค. 2554
    • ขึ้นระวางประจำการ 1 ส.ค. 2556
    • ผู้สร้าง อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร
    • ความกว้าง 13.50 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.80 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 23 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 1,969 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,500 ไมล์ ที่ 15 นอต
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 14 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 92 นาย
    • ลาน ฮ. รับน้ำหนักได้ 11 ตัน
    • อากาศยานประจำเรือ Super Lynx 300
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ 2D Thales Variant
    • เรดาร์ และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales LIROD Mk.2
    • เรดาร์เดินเรือ X Band
    • เรดาร์เดินเรือ S Band
    • กล้องตรวจการณ์ 1 ระบบ
    • ระบบพิสูจน์ฝ่าย Thales TSA 2525 (IFF)
  • ระบบสื่อสาร
    • ระบบรวมการสื่อสาร 1 ระบบ
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก OTO Melara 76/62 มม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล 30 มม. จำนวน 2 กระบอก
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ 2 x Diesels
    • ใบจักร แบบ CPP 2 พวง
    • เครื่องไฟฟ้า จำนวน 4 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน
อวดธง ในงานสวนสนามทางเรือ ณ อ่าวซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.dockyard.navy.mi.th
  • http://theopv.com

เรือหลวงนราธิวาส

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

กองทัพเรือได้เสนออนุมัติ กระทรวงกลาโหม ขออนุมัติโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (ตกก.) จำนวน 2 ลำ ซึ่ง กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติ โครงการดังกล่าว เป็นโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพประจำปี 2544 เมื่อ 13 ส.ค.2542 โดยกองทัพเรือได้ทำการสั่งต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้ว่าจ้าง บริษัท ไชน่าชิป บิวดิ้ง เทรดดิ้ง จำกัด จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ผูกพันงบประมาณข้ามปี ระหว่างปี พ.ศ.2544 – 2548 ในวงเงิน 3200 ล้านบาท เพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจ ในการรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมไปถึงการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย การปราบปราม การกระทำผิดทางทะเล ตามที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารเรือ ซึ่งรวมถึงการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวที่ผ่านมา กองทัพเรือได้จัดเรือ และอากาศยานปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาที่มักพบคือ เมื่อต้องปฏิบัติการบริเวณไกลฝั่ง จำเป็นต้องใช้ เรือขนาดใหญ่ที่มีความคงทนทะเลสูง ซึ่งปกติจะใช้เรือฟริเกตเป็นหลัก แต่เนื่องจากเรือฟริเกตเป็นเรือ ที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการรบโดยตรง จึงมียุทโธปกรณ์ และกำลังพลจำนวนมาก ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองสูง ทั้งการใช้งานและการบำรุงรักษา กองทัพเรือจึงได้ดำเนินการ จัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 2 ลำ ซึ่งเป็นเรือที่มีขนาดใกล้เคียงกับเรือฟริเกตเข้าปฏิบัติงานแทน

การดำเนินการสร้าง

การต่อเรือนั้นดำเนินการที่ประเทศจีน โดยทำติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิคต่าง ๆ ซึ่งเป็นของยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ ฯลฯ ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือไทยในขณะนั้น และนำเรือเปล่ากลับมาติดอาวุธที่เมืองไทย เรือหลวงนราธิวาส ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับเรือหลวงปัตตานี โดยเรือหลวงนราธิวาส เป็นเรือลำที่สองที่ต่อเสร็จ และได้ออกเดินทางจากเมืองเซียงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงประเทศไทยเมื่อ ก.พ. 2549

การตั้งชื่อเรือ

ประเทศไทยประสบปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองทัพเรือพิจารณาแล้วเห็นว่า สมควรนำชื่อจังหวัดชายแดนภาคใต้มาพิจารณาเป็นพิเศษ ในการนี้ กระทรวงมหาดไทยได้เคยขอร้องกองทัพเรือ ให้ตั้งชื่อเรือตามจังหวัดนราธิวาสมาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อให้ชื่อเรือของกองทัพเรือมีประวัติสืบต่อเนื่องกัน กองทัพเรือจึงของพระราชทานนามชื่อเรือ ตกก. ทั้ง 2 ลำว่า เรือหลวงปัตตานี (H.T.M.S.Pattani) และ เรือหลวงนราธิวาส (H.T.M.S.Narathiwat) ตามลำดับ

ภารกิจของหน่วย

ภารกิจหลัก ลาดตระเวนตรวจการณ์ และปฏิบัติการรบผิวน้ำ เพื่อป้องกันการแทรกซึม และการละเมิดอธิปไตยทางทะเล

ภารกิจรอง คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

หน้าที่

  • ลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลทั้งในยามปกติและยามสงคราม
  • คุ้มครองการลำเลียงขนส่งทางทะเลในยามสงคราม
  • ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลในยามสงคราม
  • คุ้มครองเรือประมงและการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆในทะเล
  • ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล
  • ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 512
    • ขึ้นระวางประจำการ 16 เม.ย. 2549
    • ผู้สร้าง อู่ Hudong-Zhonghua เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 94.50 เมตร
    • ความกว้าง 11.80 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.30 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 25 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 1,635 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,500 ไมล์
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 20 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 84 นาย
    • ลาน ฮ. รับน้ำหนักได้ 7 ตัน
    • อากาศยานประจำเรือ Super Lynx 300
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Selex RAN-30 X/I
    • เรดาร์ทางยุทธวิธี LPI
    • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Rhienmetall TMX/EO
    • เรดาร์เดินเรือ X Band
    • เรดาร์เดินเรือ S Band
    • กล้องตรวจการณ์ 1 ระบบ
  • ระบบสื่อสาร
    • ระบบรวมการสื่อสาร 1 ระบบ ของบริษัท Rohde & Schwarz
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก OTO Melara 76/62 มม. Super Rapid Fire จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล 20 มม. Oerlikon GAM-C01 จำนวน 2 กระบอก
    • ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ MAN RUSTON 16 RK270 2 x Diesels
    • ใบจักร แบบ CPP 2 พวง
    • เครื่องไฟฟ้า จำนวน 4 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.patrolsqdn.com
  • https://th.wikipedia.org

Copyright © 2025 Seafarer Library

Theme by Anders NorenUp ↑