Category: Uncategorized

เรือหลวงเกล็ดแก้ว(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงเกล็ดแก้ว เป็นเรือประเภทเรือลำเลียง เดิมมีชื่อว่า เรือหลวงบริพารพาหน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรือหลวงเกล็ดแก้ว เมื่อ 3 ธ.ค. 2484


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือลำเลียง
    • ขึ้นระวางประจำการ 2 พ.ย. 2479
    • ปลดประจำการ 20 ธ.ค. 2503
    • ผู้สร้าง อู่ Bangkok Dock Co., Ltd. (ปัจจุบันคือ Bangkok Dock company (1957) Limited.)
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 28.35 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.20 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 6 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 10 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 123.40 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด ที่ 10 นอต 1,200 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 15 นาย
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ 4 จังหวะ จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 5 สูบ กำลัง 300 แรงม้า

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th

เรือหลวงสมุย(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เมื่อ 25 พ.ย. 2480 เรือหลวงสมุย ทำหน้าที่เป็นเรือฝึกหัดสำหรับทหาร เพื่อไปรับเรือลำเลียง ณ ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2484 – 2488 กองทัพเรือได้ทำหน้าที่รักษาเส้นทางลำเลียงในน่านน้ำไทยทำการกวาดทุ่นระเบิด และในเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ล.สมุย ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศ ร.ล.สมุย ปฏิบัติภารกิจสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ด้วยความสามารถของ ผบ.เรือ และทหารประจำเรือหลายครั้งต้องหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึก แต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ถึง 17 ครั้ง จนกระทั้งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นเที่ยวสุดท้าย ขณะที่ ร.ล.สมุย ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงกลับ วันที่ 17 มี.ค. 2488 เวลา 0245 บริเวณด้านตะวันออกของเกาะคาปัส ประเทศไทยต้องสูญเสีย ร.ล.สมุย พร้อมด้วยลูกเรือบางส่วนไปโดยถูกตอร์ปิโดถึง 2 ลูกซ้อนจากเรือดำน้ำข้าศึก ระเบิดไฟไหม้หัวเรือจมดิ่งสู่ก้นทะเลเหลือผู้รอดชีวิต 17 นาย เสียชีวิตไป 31 นาย นาวาตรีประวิทย์ รัตนอุบล ผบ.เรือ รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของ ร.ล.สมุย และทหารประจำเรือ

วันที่ 17 ส.ค. 2485 เรือสมุยได้ออกเดินทางไปสิงคโปร์เป็นเที่ยวแรก เหตุการณ์ดีเป็นที่เรียบร้อย เที่ยวหนึ่งๆ ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนเศษ สุดแต่ว่าทางการจะเร่งเอาน้ำมันหรือไม่ ถ้าระยะเวลาไหนเร่งก็ออกเรือกระชั้นหน่อย เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เข้าอู่ปรับเครื่องกันเสียเลย จนกระทั่งเที่ยวที่ 18 นาวาตรี (นาวาเอก) ประวิทย์ รัตนอุบล นำเรือออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2488 ระหว่างทางเครื่องจักรใหญ่ขัดข้อง จึงแวะซ่อมเครื่องอยู่ที่โคตาบารูหลายวัน เมื่อเสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไปถึงโชนัน โดยปลอดภัย

วันที่ 2 มี.ค. 2488 สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ได้ทั้งประเทศ และเลื่อนฐานะเรือดำน้ำมาที่ฟิลิปปินส์ ทำให้ใกล้เส้นทางเดินเรือของไทยเข้ามาอีกมาก เรือหลวงสมัยรับน้ำมันจากโชนันมาเต็มที่ คือบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มระวาง และถึงมีน้ำมันเบนซิน บรรจุใส่ถัง 200 ลิตร วางไว้บนดาดฟ้าเต็มไปหมด และออกเดินทางจากโชนัน ในวันที่ 15 มีนาคมตอนเช้า

วันที่ 16 มี.ค. 2488 เวลาเช้าเครื่องบินทะเลของญี่ปุ่นเครื่องหนึ่งมาวนเวียนเหนือเรือ และโบกธงแดง แต่ทางเรือมิได้หยุดเรือคงเดินหน้าต่อไป เครื่องบินนั้นได้บินไปไกล แล้วบินกลับมาที่เรือสมุยอีก และโบกธงแดงอีกหลายครั้ง ต่อจากนั้นเครื่องบินนั้นก็หายไป ส่วนเรือสมุยคงเดินทางต่อมาตามเดิม เข็ม 324 ตั้งใจไว้ว่า เมื่อมาถึงเกาะลาปัสแล้ว จึงจะเปลี่ยนเข็มใหม่ เรือดำน้ำอเมริกัน ชื่อ Sea Lion II ผู้บังคับการเรือ ชื่อ นาวาตรี C.P. Putnam ได้คอยดักโจมตีอยู่บริเวณนั้น

วันที่ 17 มี.ค. 2488 เวลา 02.45 เรืออยู่ทางตะวันออกของเกาะคาบัสห่าง 7 ไมล์ ประมาณ 5, 18, 103 ได้ถูกตอร์ปิโด จากเรือดำน้ำซีไลออน นัดแรกถูกหัวเรือขวา และได้ยินเสียงระเบิดในเรือระยะติดๆ กันนั้น ก็ถูกยิงอีกนัดหนึ่งตรงกลางลำค่อนไปทางหัวเรือเกิดระเบิดขึ้นในเรือทำให้ไฟไหม้ และหัวเรือจมดิ่งลงต่อจากนั้นไฟได้ลุกติดน้ำมันซึ่งลอยเป็นฝาอยู่รอบๆ ตำบลที่เรือจม และเรือได้จมภายใน 3 นาทีเรือ ทหารได้โดดลงน้ำ พยายามว่ายเข้าหาฝั่งฝ่าเพลิงที่ลุกอยู่ทั่วไป เวลานั้นคลื่นจากตะวันออกใหญ่มาก บางคนเกาะเศษไม้และสิ่งของต่างๆ ลอยตามคลื่นที่พัดเข้าฝั่ง บางคนลอยคออยู่ในน้ำนานตั้ง 14 ชั่วโมง และไปสลบอยู่ตามชายฝั่งอำเภอมารัง จังหวัด ตรังกานู รวม 17 คน เรือไว (เรือโบตชนิดหนึ่ง) ของเรือหลวงสมุยลอยไปติดเกาะคาปัส ในเรือนี้ไม่มีคนมีแต่เสื้อนอกของ ตาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล 1 ตัว ผู้ที่ตายมีจำนวน 31 คน ในจำนวนนี้มี นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบลด้วย เรือหลงสมุย ซึ่งมีระวางขับน้ำ 1,850 ตัน( แก้ไข 3,025 ตัน ) เป็นเรือรบไทยลำแรกที่จมในสงครามครั้งนี้


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือน้ำมัน
    • ต่อเมื่อ 27 ก.ค. 2478
    • ขึ้นระวางประจำการ 18 ก.ย. 2479
    • ถูกยิงจม เมื่อ 17 มี.ค. 2488 โดย เรือดำน้ำสหรัฐ นอกเกาะคาปัส แหลมมาลายู
    • ผู้สร้าง อู่ ฮาโกดาเต เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
    • กำลังพล 51 นาย
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 238 ฟุต
    • ความกว้าง 39 ฟุต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 3,025 ตัน
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 76/35 จำนวน 1 กระบอก
    • ระเบิดน้ำลึก 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล 2 เครื่อง กำลัง 2,141 แรงม้า
  • ระบบอื่นๆ
    • ถังน้ำมัน เคโรซีน (น้ำมันก๊าซ) 26,648 ลูกบาศก์ฟุต ครุตออย (Crude Oil หรือ น้ำมันดิบ) 39,924 ลูกบาศก์ฟุต รวม 1,300 กล.
    • มีระวางสำหรับบรรทุกน้ำมันที่เป็นถังและของอื่นๆ อีก ๒ ระวาง รวม 33,332 ลูกบาศก์ฟุต
    • เคยบรรทุกถังน้ำมัน (ขนาด 200 ลิตร) ได้อีก 500 ถัง ซึ่งเป็นจำนวนน้ำมันราว 100 กล.

แหล่งอ้างอิง

  • https://nathoncity.com
  • http://www.navy.mi.th

เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงอ่างทอง (HTMS Angthong 711) เดิมคือ USS LST-924 เป็นเรือในชั้น LST-542 ของ ทร.สหรัฐฯ เคยทำหน้าที่สนับสนุนการรบที่สำคัญหลายครั้งในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น การรบที่อ่าวเลเต้ อ่าว Lingayen การยกพลที่ Visayan ปฏิบัติการที่เกาะ Tarakan ต่อมาได้ขายต่อไทย ทร.ไทย เมื่อ 5 พ.ค. 2490 ทางกองทัพเรือได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็น “อ่างทอง(LST-1)” ในช่วงปี พ.ศ. 2521 ได้ยกเลิกการใช้งานชั่วคราว แต่ต่อมาภายหลังได้นำกลับมาใช้งานอีก ช่วงปี พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนหมายเลขเป็น LST-711 และได้ใช้งานเรื่อยมาถึงปี พ.ศ. 2549


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 711
    • วางกระดูกงู 8 พ.ค. 2487
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 17 มิ.ย. 2487
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐ ฯ 10 ก.ค. 2487
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 5 พ.ค. 2490
    • ปลดประจำการ พ.ศ. 2549
    • ผู้สร้าง บริษัท Bethlehem-Hingham Shipyard, Hingham, Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 100 เมตร
    • ความกว้าง 15 เมตร
    • กินน้ำลึกหัว 2.49 เมตร ท้าย 4.29 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 11.6 นอต
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 9 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 1,625 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 4,080 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 24,000 ไมล์ ที่ 9 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 117 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 40 มม. โบฟอร์ท แท่นคู่ จำนวน 2 กระบอก
    • ปืน 40 มม. โบฟอร์ท แท่นเดี่ยว จำนวน 4 กระบอก
    • ปืนกล 20 มม. เออริคอน จำนวน 12 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ดีเซล General Motors 12-567 จำนวน 2 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 2 เพลา
การยกพลขึ้นบกที่เกาะ Tarakan บอร์เนียว เมื่อ 1 พ.ค. 2488

แหล่งอ้างอิง

  • https://en.wikipedia.org
  • http://www.navsource.org

เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

หลังจากที่เรือพระที่นั่งมหาจักรี ( ลำที่ 1 ) ปลดระวางจากราชการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2459 ทางราชการได้ขายเรือนี้ ( ยกเว้นเครื่องจักร ) ให้แก่บริษัทกาวาซากี โกเบ ( Kawasaki Dockyard Co.Ltd., Kobe ) ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้จัดคนมารับเรือนี้ไปจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2459 บริษัทกาวาซากี ได้รับสร้างเรือพระที่นั่งมหาจักร ( ลำที่ 2 ) โดยใช้เครื่องจักรของเรือพระที่นั่งมหาจักรี ( ลำที่ 1 ) สำหรับเรือพระที่นั่งมหาจักรี ( ลำที่ 2 ) ขึ้นระวางประจำการในวันที่ 4 ก.พ. 2461 จนปี พ.ศ. 2478 ถูกปลดจากเรือพระที่นั่งมาอยู่ในฐานะเรือช่วยรบแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเรืออ่างทอง(ลำที่ 1) จากนั้นวันที่ 1 มิ.ย. 2488 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เรืออ่างทองถูกเครื่องบินข้าศึกของสหรัฐอเมริกา ทิ้งระเบิดจมที่อ่าวสัตหีบ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ขึ้นระวางประจำการ พ.ศ. 2478
    • ปลดประจำการ พ.ศ. 2488
    • ผู้สร้าง บริษัท กาวาซากี โกเบ ( Kawasaki Dockyard Co.Ltd.,Kobe ) ประเทศญี่ปุ่น

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.facebook.com/ILoveRoyalThaiNavy

เรือหลวงสุโขทัย(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงสุโขทัย(ลำที่ 1) เป็นเรือในชุดเรือหลวงชุดรัตนโกสินทร์ (Rattanakosin-class gunboats) จัดเป็นประเภทเรือปืนเบา ลำที่สอง ต่อที่อู่ของบริษัทอาร์มสตรอง ที่เอส์วิค ในประเทศอังกฤษ เรือหลวงสุโขทัยได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในปีค.ศ.1928 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่19 พฤศจิกายน ค.ศ.1929 ทำการขึ้นระวางประจำการในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ.1930 เรือหลวงในชุดรัตนโกสินทร์ ได้ผ่านช่วงเหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์ เช่น ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หลวงศุภชลาสัยได้รับมอบหมายจากคณะผู้ก่อการให้นำหนังสือกราบบังคมทูล เชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ให้ทรงเสด็จกลับมาเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยหลวงศุภชลาสัยได้เดินทางด้วยเรือหลวงสุโขทัยไปยังพระราชวังไกลกังวลซึ่งตอนนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงประทับอยู่ ซึ่งหลวงศุภชลาศัยก็ให้เรือจอดห่างจากชายฝั่งโดยสั่งให้เรือหันปืนทุกกระบอกไปยังพระราชวังไกลกังวลพร้อมที่จะระดมยิงเข้าใส่ แล้วก็มีการสั่งไว้ว่าหากไม่เห็นสัญญาณตามเวลานัดหมายให้ระดมยิงเข้าใส่พระราชวังไกลกังวลทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวหลวงศุภชลาศัยหรือผู้ใดทั้งสิ้น แล้วจึงถือหนังสือไปกับเรือบด ถึงชายฝั่งทหารผู้บัญชาการฝ่ายวังที่อยู่ตรงนั้นให้ทหารจับตัวหลวงศุภชลาศัยโดยหลวงศุภชลาศัยได้ชี้แจงว่ามาในนามทูตฝ่ายคณะราษฎรเพื่อนำหนังสือทูลเกล้าถวาย โดยทหารคนดังกล่าวไม่ยอม หลวงศุภชลาศัยจึงให้ทหารคนดังกล่าวส่องกล้องเพื่อมองที่เรือที่หันปืนใหญ่มาที่วังโดยขู่ด้วยว่าไม่มีปืนที่วังกระบอกไหนที่จะสามารถยิงถึงเรือหลวงสุโขทัย ในขณะที่ปืนจากเรือสามารถยิงมาถึงที่วังนี้ได้ จึงยอมให้หลวงศุภชลาศัยเข้าเฝ้า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงทอดพระเนตรลายมือของกรมพระนครสวรรค์ฯ ที่ได้ลงนามมากับหนังสือดังกล่าว จึงทรงยอมเสด็จกลับไปกับ หลวงศุภชลาศัยโดยทีแรกจะให้เสด็จกลับทางเรือ แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ปฎิเสธเเละเรียกร้องให้ทางคณะราษฎรจัดรถไฟมารับเสด็จเเทน หลวงศุภชลาศัยจึงโทรเลขกลับมาที่กรุงเทพ พระยาพหลฯ ก็มีหนังสือกลับมาว่าจะส่งรถไฟพระที่นั่งมาที่สถานีหัวหินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จึงทรงยอมเสด็จกลับพระนคร


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 2
    • วางกระดูกงู พ.ศ. 2471
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 19 พ.ย. 2472
    • ขึ้นระวางประจำการ ธ.ค. 2473
    • ปลดประจำการ พ.ศ. 2514
    • ตัวเรือสร้างด้วย เหล็ก
    • ผู้สร้าง อู่ต่อเรือ บริษัท Armstrong, Whitworth & Co Ltd ในประเทศอังกฤษ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 53.04 เมตร
    • ความกว้าง 11.30 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.28 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 886 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,000 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,000 ไมล์ ที่ 10 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 103 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 152 มม. แท่นคู่ 2 กระบอก
    • ปืน 76.2 มม. 4 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ เเบบเครื่องจักรไอน้ำ 2 เครื่อง หม้อน้ำ 2 หม้อ 850 เเรงม้า
    • ใบจักร 2 เพลา
ภาพลายเส้น โดยบริษัทต่อเรือ

แหล่งอ้างอิง

  • http://warshipsthailand.blogspot.com
  • http://www.tynebuiltships.co.uk

เรือหลวงจวง(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงจวง เดิมมีชื่อว่า เรือหลวงพระยม ซึ่งเป็นลำที่สองที่ใช้ชื่อนี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรือหลวงจวง เมื่อ 20 ม.ค. 2478


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือลากจูง(ตัวเรือเป็นไม้)
    • ขึ้นระวางประจำการ 9 มิ.ย. 2469
    • ปลดประจำการ 20 ธ.ค. 2503
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ (เดิมเรียกกรมยุทธโยธาทหารเรือ)
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 35.55 เมตร
    • ความกว้าง 5.49 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.85 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 6 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 9 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 140.18 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด ที่ 9 นอต 1,463 ไมล์ และ ที่ 6 นอต 1,953 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 27 นาย
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำชนิดข้อเสือข้อต่อ 2 สูบ จำนวน 1 เครื่อง กำลัง 225 แรงม้า
    • เพลาใบจักร 1 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th

เรือหลวงรัตนโกสินทร์(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงรัตนโกสินทร์ลำเเรก หมายเลข 1 (HTMS Rattnakosin) เป็นประเภทเรือปืนเบา เป็นเรือลำเเรกของเรือหลวงในชุดรัตนโกสินทร์ ส่วนลำที่สองคือเรือหลวงสุโขทัย เรือต่อที่อู่ของบริษัทอาร์มสตรอง ที่เอส์วิค ในประเทศอังกฤษ โดยมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือ เรือหลวงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มทำการวางกระดูกงู ในวันที่ 29 ก.ค. 2467 เเละทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 21 เม.ย. 2468 ขึ้นระวางประจำการในวันที่ 10 ส.ค. 2468 ช่วงสุดท้ายของเรือ คาดว่าแยกชิ้นส่วนขายเป็นเศษเหล็ก


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 1
    • วางกระดูกงู 29 ก.ย. 2467
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 21 เม.ย. 2468
    • ขึ้นระวางประจำการ 10 ส.ค. 2468
    • ปลดประจำการ 2 ส.ค. 2511
    • ตัวเรือสร้างด้วย เหล็ก
    • ผู้สร้าง อู่ต่อเรือ บริษัท Armstrong, Whitworth & Co Ltd ในประเทศอังกฤษ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 53.04 เมตร
    • ความกว้าง 11.30 เมตร
    • กินน้ำลึก 3.28 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 886 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,000 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,000 ไมล์ ที่ 10 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 103 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 152 มม. แท่นคู่ 2 กระบอก
    • ปืน 76.2 มม. 4 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ เเบบเครื่องจักรไอน้ำ 2 เครื่อง หม้อน้ำ 2 หม้อ 850 เเรงม้า
    • ใบจักร 2 เพลา
ภาพโดยบริษัทต่อเรือ
ภาพลายเส้นของเรือ

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.facebook.com/warshipthai/
  • http://www.tynebuiltships.co.uk

เรือหลวงเจ้าพระยา(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงเจ้าพระยา เดิมเป็นเรือวางทุ่นระเบิดของ ทร.อังกฤษ ชื่อ H.M.S.HAVANT ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทัพเรือไทยได้ซื้อต่อมา เพื่อมาเป็นเรือฝึกหัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรือหลวงเจ้าพระยา


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือสลุป
    • ต่อเมื่อ พ.ศ. 2460
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.อังกฤษ พ.ศ. 2562
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 8 พ.ค. 2566
    • ปลดประจำการ 24 ส.ค. 2514
    • ผู้สร้าง อู่ Eltringhams, S. Shields ประเทศอังกฤษ
    • กำลังพล 99 นาย
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 70.64 เมตร
    • ความกว้าง 8.74 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.70 เมตร
    • ระวางขับน้ำปกติ 675 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 762 ตัน
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,880 ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์ และ 1,680 ไมล์ ที่ 12 นอต
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 75/51 มม. 2 กระบอก
    • ปืนกล 40/60 มม. แท่นเดี่ยว 1 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำ 3 สูบ 2 เครื่อง กำลัง 2,216 แรงม้า
    • ใบจักรคู่

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th
  • http://www.shipbucket.com

เรือหลวงพระร่วง

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงพระร่วง เป็นเรือหลวงลำแรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งข้าราชการและประชาชนผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเรือรบ ไว้เพื่อป้องกันราชอาณาจักรทางทะเล จึงร่วมกันจัดตั้ง ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Royal Navy League of Siam) ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 เพื่อเรี่ยไรทุนทรัพย์ซื้อเรือรบถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความยินดีและเห็นชอบ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเรือนี้ว่า “พระร่วง” อันเป็นสิริมงคลตามวีรกษัตริย์อันเป็นที่นับถือของชาวไทยทั่วไป พระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการหาทุนเพื่อสร้างเรือลำนี้ เช่น ได้แก้ไขบทละครเรื่อง “มหาตมะ” ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ทรงนำเรื่องการเสียสละทุนทรัพย์สมทบทุนสร้างเรือรบเข้ามาเป็นหัวใจของเรื่อง และได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแสดงเพื่อเก็บเงินสมทบทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ทั้งยังมีการแสดงละครพระราชนิพนธ์อีกหลายเรื่องตลอดจนโปรดเกล้า ฯ ให้มีการประกวดภาพเพื่อหารายได้อีกด้วย นอกจากนั้นพระองค์ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์เป็นจำนวน 80,000 บาท กับเงินที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้พร้อมใจกันออกทุนเรี่ยไรถวายเมื่อครั้งจัดงานพระราชพิธีทวีธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งยังเหลือจากการใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 116,324 บาท ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานทรัพย์อีกเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท เมื่อรวมกับเงินที่เรี่ยไรทั่วพระราชอาณาจักร ได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 3,514,604 บาท 1 สตางค์ ในปี พ.ศ. 2463

ต่อมา นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปพร้อมด้วยนายทหารอีก 5 นาย คณะข้าหลวงพิเศษตรวจการซื้อเรือ ในภาคพื้นยุโรปชุดนี้คัดเลือกได้เรือพิฆาตตอร์ปิโด มีนามว่า “เรเดียนท์” (RADIANT) ของบริษัทธอร์นิครอฟท์ (Thornycroft Co.,) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมแก่ความต้องการของกองทัพเรือ และเป็นเรือที่ต่อขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ระหว่างมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้นสงครามยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2461 อังกฤษจึงยินดีขาย คณะข้าหลวงพิเศษได้ตกลงซื้อเรือลำนี้เป็นเงิน 200,000 ปอนด์ ส่วนเงินที่เหลือจากการซื้อเรือนั้น ได้พระราชทานให้แก่กองทัพเรือไว้สำหรับใช้สอย เสด็จในกรม ฯ ได้เป็นผู้บังคับการเรือลำนี้จากประเทศอังกฤษเข้ามาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2463 นับเป็นเกียรติประวัติครั้งแรกที่คนไทยเดินเรือทะเลได้ไกลถึงเพียงนี้


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • วางกระดูกงู ธ.ค. 2458
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 5 พ.ย. 2459
    • สร้างเสร็จ ก.พ. 2460
    • ชื่อเดิม HMS Radiant ของประเทศอังกฤษ
    • ขึ้นระวางประจำการ 11 ต.ค. 2463
    • ปลดประจำการ 19 มิ.ย.2502
    • ผู้สร้างบริษัทธอร์นิครอฟท์ (Thornycroft Co.,) ประเทศอังกฤษ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 83.57 เมตร
    • ความกว้าง 8.34 เมตร
    • กินน้ำลึก 4 เมตร
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 1,046 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 14 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 35 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,896 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 135 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก 102 ม.ม. จำนวน 3 กระบอก
    • ปืน 76 ม.ม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืน 40 ม.ม. จำนวน 2 กระบอก
    • ปืน 20 ม.ม. จำนวน 2 กระบอก
    • ตอร์ปิโด 21 นิ้ว จำนวน 4 ท่อ
    • รางปล่อยระเบิดลึก
    • แท่นยิงระเบิดลึก 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรแบบไอน้ำแบบ บี.ซี. เกียร์ เทอร์ไบน์ จำนวน 2 เครื่อง
    • ใบจักรคู่

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th/navalmuseum/
  • http://www.marinerthai.net

เรือหลวงคราม(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงคราม เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง (LSM : landing Ship, Medium) ชั้น LSM-1 เดิมชื่อ USS LSM-469 ของประเทศสหรัฐอเมริกา เคยได้ปฏิบัติภารกิจ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก ผ่านสมรภูมิสำคัญในพื้นที่เกาะกวม – ญี่ปุ่น และได้รับเหรียญ NAVY OCCUPATION SERVICE ในสงครามด้วย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้นำไปใช้ในภาคพื้นตะวันออกไกล ช่วง 20 ก.ย. 2488 – 11 เม.ย. 2489 เข้าร่วมกองเรือสำรองในแปซิฟิกเหนือ ประเทศแคนนาดา ในปี พ.ศ.2504 รัฐบาลไทยได้รับมอบ LSM 469 จากรัฐบาลสหรัฐฯ ในโครงการช่วยเหลือทางทหาร เมื่อ 25 พ.ค. 2505 โดยเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบก กองเรือยุทธการ และได้รับชื่อว่า “เรือหลวงคราม(HTMS.KRAM)” จนกระทั่งปี 2545 ตัวเรือได้มีสภาพทรุดโทรมมาก การซ่อมทำเพื่อใช้ราชการต่อไปไม่คุ้มค่า เรือหลวงครามจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นปะการังเทียม เมื่อ 1 ก.พ. 2546 ที่ เกาะไผ่ พัทยา จ.ชลบุรี


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 3 และ หมายเลข 732
    • วางกระดูกงู 27 ม.ค. 2488
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 17 ก.พ. 2488
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐฯ 17 มี.ค. 2488
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 25 พ.ค. 2505
    • ปลดประจำการ 26 ก.พ. 2545
    • ผู้สร้าง อู่ต่อเรือ Brown Shipbuilding Co., Houston, TX ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 61.50 เมตร
    • ความกว้าง 10.51 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.27 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 13.5 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 513 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 912 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,580 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 65 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก 40 มม. แท่นคู่ 1 กระบอก
    • ปืนกล 20 มม. 4 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ดีเซล Fairbanks Morse (model 38D81/8X10, reversible with hydraulic clutch) 1,800 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 100Kw จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 20Kw จำนวน 1 เครื่อง
    • ใบจักร 2 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navsource.org
  • https://km.dmcr.go.th

Copyright © 2025 Seafarer

Theme by Anders NorenUp ↑