Category: Uncategorized

เรือตอร์ปิโดหลวง

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

สืบเนื่องจากโครงการจัดหาเรือรบ ซึ่งกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์(พระอิสริยยศขณะนั้น) เสนาธิการทหารเรือทรงทำขึ้นถวาย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต(พระอิสริยยศขณะนั้น) ผู้บัญชาการทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2448 แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ไม่อาจสั่งสร้างเรือทั้งหมดที่ต้องการได้ การจัดหาในครั้งแรกได้แต่เพียงเรือพิฆาตตอร์ปิโด ” เสือทยานชล” 1 ลำ กับ เรือตอร์ปิโด 1,2,3, เท่านั้น ภายหลังได้มีการต่อเพิ่มอีก 1 ลำ รวมเป็น 4 ลำ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ขึ้นระวางประจำการ ลำที่ 1,2,3(27 ส.ค.2451) ลำที่ 4(29 ธ.ค. 2456)
    • ปลดประจำการ ลำที่ 1(1 เม.ย.2476) ลำที่ 2,3,4(17 ม.ค. 2480)
    • ผู้สร้าง อู่ กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 40.75 เมตร
    • ความกว้าง 4.94 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.22 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 90 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 950 ไมล์ ที่ 12 นอต
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 330 ไมล์ ที่ 22 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 26 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล 57 มม. 1 กระบอก
    • ปืนกล 47 มม. 1 กระบอก
    • ท่อตอร์ปิโด 45 ซม. 2 ท่อยิง
    • ปืนกล 2 กระบอก ติดเพิ่มภายหลัง
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • กังหันไอน้ำ 3 สูบ จำนวน 1 เครื่อง 1,200 แรงม้า เดิมใช้ถ่านหิน และเปลี่ยนเป็นน้ำมัน
    • ใบจักร 1 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th
  • https://pantip.com
  • http://www.reurnthai.com

เรือหลวงทยานชล(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงทยานชล เดิมชื่อ PC-575 เป็นเรือในชั้น PC-461 ของ ทร.สหรัฐฯ ซึ่งกองทัพเรือไทยได้รับมอบมาตามโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นไปตามโครงการ เงินกู้สำหรับซื้อของเหลือใช้สงครามของ ทร.ไทย โดยในโครงการได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชั้นนี้มาเป็น 3 ระยะ รวมจำนวน 8 ลำ ประกอบด้วย ระยะแรกได้แก่ เรือหลวงสารสินธุ เรือหลวงทยานชล และเรือหลวงคำรณสินธุ ระยะที่สองได้แก่ เรือหลวงพาลี และเรือหลวงสุครีพ ระยะที่สามได้แก่ เรือหลวงตองปลิว เรือหลวงลิ่วลม และเรือหลวงล่องลม


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ
    • หมายเลข 2
    • วางกระดูกงู 24 ก.พ. 2485
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 5 พ.ค. 2485
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐฯ 8 ส.ค. 2485
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 20 พ.ย. 2490
    • ปลดระวาง 26 พ.ค. 2525
    • ผู้สร้าง Dravo Corp. (Neville Island, Pittsburgh, Pennsylvania) ประเทศ สหรัฐ ฯ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 52 เมตร
    • ความกว้าง 7 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.20 เมตร
    • ระวางขับน้ำปกติ 228 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 372.24 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 20.20 นอต
    • กำลังพล 65 นาย
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,000 ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 76/50 จำนวน 1 กระบอก
    • ปืน 40/60 มม. 1 กระบอก
    • ปืน 20 มม. 5 กระบอก
    • K Gun จำนวน 2 แท่น
    • แท่นยิง Mousetrap จำนวน 2 แท่น
    • รางปล่อยระเบิดลึก จำนวน 2 แท่น
    • แท่นยิงตอร์ปิโด MK-32 MOD 3 (ท่อเดี่ยว) จำนวน 2 ท่อยิง
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 1,440 แรงม้า Hooven Owen Rentschler, Westinghouse simgle reduction gear
    • ใบจักรคู่
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaifighterclub.org
  • http://www.navsource.org
  • https://uboat.net/
  • http://www.wings-aviation.ch

เรือเสือทยานชล(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

สืบเนื่องจากโครงการจัดหาเรือรบ ซึ่งกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์(พระอิสริยยศขณะนั้น) เสนาธิการทหารเรือทรงทำขึ้นถวาย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต(พระอิสริยยศขณะนั้น) ผู้บัญชาการทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2448 แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ไม่อาจสั่งสร้างเรือทั้งหมดที่ต้องการได้ การจัดหาในครั้งแรกได้แต่เพียงเรือพิฆาตตอร์ปิโด ” เสือทยานชล” 1 ลำ กับ เรือตอร์ปิโด 1,2,3, รวม 4 ลำ เท่านั้น 5 ปีต่อมา ผู้แทนของบริษัทอู่คาวาซากิ ได้เดินทางมากรุงเทพเพื่อเจรจากับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต หลังจากนั้นได้ทรงต่อรองกับกรมหมื่นจันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีพระบรมราชานุญาตให้ “จ่ายเงินค่าสรรพยุทธ” เพื่อสั่งสร้าง เรือพิฆาต ตอร์ปิโด อีก 1 ลำ หลังการรับมอบแล้วได้พระราชทาน ชื่อว่า “เสือคำรณสินธ์” เพื่อให้คู่กับเรือ “เสือทยานชล” ที่ประจำการอยู่แล้ว


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ขึ้นระวางประจำการ 27 ส.ค. 2451
    • ปลดประจำการ 17 ม.ค. 2480
    • สร้างด้วย เหล็ก
    • ผู้สร้าง อู่ กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 75.66 เมตร
    • ความกว้าง 7.15 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.00 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 11 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 29 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 375 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 375 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 8520 ไมล์ ที่ 29 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 73 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล 57 มม. 5 กระบอก
    • ปืนกล 36 มม. 1 กระบอก
    • ท่อตอร์ปิโด 45 ซม. 2 ท่อยิง
    • ติดปืนกลเพิ่มภายหลัง 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • กังหันไอน้ำ(เคอร์ติส) 2 เครื่อง 6000 แรงม้า
    • ใบจักร 2 เพลา
ราชกิจจานุเบกษาสมัย ร.6

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th
  • https://pantip.com
  • http://www.reurnthai.com
  • https://www.baanjomyut.com

เรือมกุฎราชกุมาร(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือปืนมกุฎราชกุมาร ตามประวัติ รัฐบาลอาณานิคมเสปนจ้างอู่เรือ Hongkong & Whampoa ของอังกฤษในฮ่องกงต่อขึ้นเพื่อใช้ในฟิลลิปปีนส์ แต่ทิ้งเงินมัดจำเพราะหาเงิน มาชำระค่าเรือไม่ได้ อู่เรือจึงบอกขายทอดตลาดและรัฐบาลสยามสนใจ จึงได้จัดซื้อมาใช้ในราชการ เอาไว้รับแขกบ้านแขกเมืองที่เดินทางมาด้วยเรือขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่านสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ากรุงเทพได้ ต้องอาศัยเรือของสยามออกไปรับที่ปากอ่าว เคยผ่านการรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยากับฝรั่งเศสมาแล้วอย่างโชกโชน โดยดวลกันแบบเผาขนกับเรือแองกองสตังค์ที่นำหน้าเข้ามาจนแทบจะชนกัน กลางแม่น้ำ เรือทั้งสองลำต่างก็ได้แผลไปโดยไม่ถึงกับเสียหายหนัก เรือมกุฏราชกุมารสามารถซ่อมนำมาใช้ต่อจนสมัยรัชกาลที่ 6 ก่อนปลดระวาง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงชุมพร ฯ ทรงใช้เป็นเรือฝึกของนักเรียนนายเรือ วิ่งไปถึงสิงคโปรทุกปี ครั้งหนึ่งพอไปถึงแล้วทรงว่าจ้างอู่เรือที่นั่นพ่นสีเรือใหม่จากสีขาว เป็นสีเทาอ่อนตามธรรมเนียมเรือรบสมัยใหม่


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ขึ้นระวางประจำการ สมัยรัชกาลที่ 5
    • ปลดประจำการ สมัยรัชกาลที่ 6
    • ผู้สร้างบริษัท Hongkong & Whampoa ของอังกฤษ บนเกาะฮ่องกง
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 609 ตัน
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก 105 ม.ม. จำนวน 1 กระบอก
    • ปืนกล 57 มิลลิเมตร 5 กระบอก
    • ปืนกล 37 มิลลิเมตรอีก 2 กระบอก

แหล่งอ้างอิง

  • https://pantip.com

เรือพระที่นั่งมหาจักรี(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

หลังจากที่เรือพระที่นั่งมหาจักรี ( ลำที่ 1 ) ปลดระวางจากราชการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2459 ทางราชการได้ขายเรือนี้ ( ยกเว้นเครื่องจักร ) ให้แก่บริษัทกาวาซากี โกเบ ( Kawasaki Dockyard Co.Ltd., Kobe ) ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้จัดคนมารับเรือนี้ไปจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2459 บริษัทกาวาซากี ได้รับสร้างเรือพระที่นั่งมหาจักร ( ลำที่ 2 ) โดยใช้เครื่องจักรของเรือพระที่นั่งมหาจักรี ( ลำที่ 1 ) สำหรับเรือพระที่นั่งมหาจักรี ( ลำที่ 2 ) ขึ้นระวางประจำการในวันที่ 4 ก.พ. 2461 จนปี พ.ศ. 2478 ถูกปลดจากเรือพระที่นั่งมาอยู่ในฐานะเรือช่วยรบแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเรืออ่างทอง จากนั้นวันที่ 1 มิ.ย. 2488 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เรืออ่างทองถูกเครื่องบินข้าศึกของสหรัฐอเมริกา ทิ้งระเบิดจมที่อ่าวสัตหีบ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ขึ้นระวางประจำการ 4 ก.พ. 2461
    • ปลดประจำการ 2478 เปลี่ยนชื่อเป็น เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่ 1)
    • ผู้สร้าง บริษัท กาวาซากี โกเบ ( Kawasaki Dockyard Co.Ltd.,Kobe ) ประเทศญี่ปุ่น
พระมหาพิชัยมงกุฎ สำหรับใช้สวมยอดเสากลางของเรือพระที่นั่งมหาจักรี ลำที่ 2

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.facebook.com/ILoveRoyalThaiNavy

เรือพระที่นั่งมหาจักรี(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือพระที่นั่งมหาจักรี เป็นเรือพระที่นั่งแบบเรือลาดตระเวน ในการสร้างเรือลำนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับพระยาชลยุทธโยธินทร์ ไปติดต่อกับบริษัท Ramage and Ferguson ต่อที่เมืองลีธ สกอตแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2434 ใช้เวลา 10 เดือนจึงสร้างเสร็จ ออกเดินทางจากเมืองลีธเมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 มาถึงกรุงเทพเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2435 เรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งของรัชกาลที่ 5 ในการเสด็จในประเทศไทย เช่น เกาะสีชัง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2436 และในการเสด็จประพาศต่างประเทศ เช่น ชวา (พ.ศ. 2439) ยุโรป (พ.ศ. 2440 และ 2450) สิงคโปร์ (พ.ศ. 2445) และออกรับแขกบ้านแขกเมืองหลายครั้งตลอดรัชกาลที่ 5 เรือพระที่นั่งมหาจักรีลำแรกปลดระวางเมื่อ พ.ศ. 2459 ทางราชการขายเรือลำนี้ยกเว้นเครื่องจักรให้บริษัทกาวาซากิ โกเบ ซึ่งทางบริษัทมารับเรือลำนี้ออกจากกรุงเทพฯเมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2459 โดยเครื่องจักรของเรือลำนี้ บริษัทกาวาซากิ โกเบ ได้นำไปต่อเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง ซึ่งขึ้นระวางในสมัยรัชกาลที่ 7 (ต่อมาคือ เรือหลวงอ่างทอง ลำที่ 1) และถูกระเบิดทำลายในสงครามโลกครั้งที่ 2

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2461 เรือพระที่นั่งมหาจักรี ลำที่ 1 ได้ถูกปรับปรุงดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกสินค้าขนาด 4,201 ตัน เปลี่ยนชื่อเป็น TAIKO MARU ในปี พ.ศ. 2464 ได้ถูกขายต่อให้ บริษัท Naviera Layetana บาร์เซโลน่า ประเทศสเปน และเปลี่ยนชื่อเป็น SS LAYETANA จากนั้น ในวันที่ 9 มิ.ย. 2464 ระหว่างเดินทางจาก Helva ไปเมือง Bordeaux เรือได้ประสบอุบัติเหตุจมลงนอกชายฝั่ง เมือง Faro ประเทศโปรตุเกส


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 27 มิ.ย. 2434
    • ขึ้นระวางประจำการ 6 ธ.ค. 2435
    • ปลดประจำการ 23 มิ.ย. 2459
    • ผู้สร้าง บริษัท Ramage and Ferguson, ลีธ, สกอตแลนด์
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 2,600 ตัน
    • ความยาวตลอดลำ 88.40 เมตร
    • ความกว้าง 12 เมตร
    • กินน้ำลึก 4.20 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 16 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 318 นาย
    • เกราะหนา 51 มม.
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่อาร์มสตอง 4 นิ้ว (120 มม.) 4 กระบอก
    • ปืนใหญ่ฮอทชกีสขนาด 57 มม. 8 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำชนิด 3 สูบ 2 เครื่อง กำลังขับ 3,000 แรงม้า
    • เครื่องจักรท้ายแบบใบจักรคู่


แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org

เรือหลวงอุดมเดช(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

กองทัพเรือได้จัดหาเรือชุดเรือหลวงราชฤทธิ์ ในปี พ.ศ.2519 โดยใช้งบประมาณจากค่าสัมปทานสำรวจน้ำมันในทะเลจากบริษัทต่างๆ นอกเหนือจากงบประมาณประจำและมีชื่อโครงการว่า “การจัดหาเรือคุ้มครองการสำรวจน้ำมันในทะเล” โดยเรือชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ เป็นเรือยนต์เร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี(EXOCET) ประกอบด้วยเรือ 3 ลำ ได้แก่ ร.ล.ราชฤทธิ์ , ร.ล.วิทยาคม และ ร.ล.อุดมเดช

เรือหลวงอุดมเดชได้รับใช้กองทัพเรือมายาวนาน จนในปี 2560 กองทัพเรือจึงได้ทำการปลดระวางประจำการ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 323
    • ขึ้นระวางประจำการ 21 ก.พ. 2523
    • ปลดประจำการ 1 ต.ค. 2560
    • ผู้สร้าง บริษัท Cantiere Navale Breda ประเทศอิตาลี
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 49.80 เมตร
    • ความกว้าง 7.50 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.70 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 36 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 270 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,000 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 46 นาย
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ควบคุมการยิง Thales WM28 mod 41
    • ศูนย์รวบ (ปืนใหญ่เรือ) Thales TDS
    • เรดาร์เดินเรือ Koden และ Furuno
    • ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ Decca RDL-2
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Compact ขนาด 76 มม. 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Breda/Bofors Type 564 ขนาด 40 มม. 1 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น MBDA Exocet MM38 2 แท่น แท่นละ 2 ท่อยิง
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 20V 538 TB91 จำนวน 3 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 3 เพลา ใบจักร Kamewa แบบปรับมุมได้
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • กองเรือตรวจอ่าว
  • http://thaidefense-news.blogspot.com
  • http://www.thaifighterclub.com/

เรืออุดมเดช(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือในทะเลของไทยขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ ในยามสงครามก็ใช้ในการรบ ยามปกติก็ใช้ในการค้า โดยแบ่งลักษณะเรือออกเป็น 2 ประเภท อย่างกว้าง ๆ คือ

  1. เรือแบบตะวันออก ได้แก่ เรือสำเภา หรือเรือแบบจีน
  2. เรือแบบตะวันตก ได้แก่ เรือกำปั่นแบบฝรั่ง คำว่า “กำปั่น” ซึ่งหมายถึง เรือเดินทะเลแบบฝรั่ง
    • เรือชนิดบริก (Brig) เป็นเรือ 2 เสา ทั้งสองเสาใช้ใบตามขวาง และมีใบใหญ่ที่กาฟ์ฟ
    • เรือชนิดบาร์ก (Bargue) เป็นเรือ 3 เสาหน้าและเสาใหญ่ใช้ใบตามขวาง เสาหลังใช้ใบตามยาว
    • เรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) เป็นเรือ 2 เสา แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เรือบรรทุกสินค้า และแบบเรือยอชท์ สำหรับท่องเที่ยว


ในสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าทางทะเลมีน้อยกว่าในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้สร้างเรือกำปั่นของไทยสำหรับการค้าทางทะเล และมีเรือรบจำพวกเรือเดินทะเล เพราะในขณะนั้นมีศึกสงครามรบกับญวน จำเป็นต้องมีเรือรบไว้ใช้ในราชการมากขึ้น เรือรบไทยได้เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นเรือกำปั่นแบบฝรั่ง โดยเรืออุดมเดช สร้างเมื่อพ.ศ. 2384 เป็นเรือชนิดบาร์ก ขนาด 300 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าฯ เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ. 2387 ได้นำสมณทูตไปลังกา


แหล่งอ้างอิง

  • http://www.kingrama3.or.th
  • กรมยุทธการทหารเรือ, ประวัติเรือรบไทย. โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, 2520

เรือหลวงวิทยาคม(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

กองทัพเรือได้จัดหาเรือชุดเรือหลวงราชฤทธิ์ ในปี พ.ศ.2519 โดยใช้งบประมาณจากค่าสัมปทานสำรวจน้ำมันในทะเลจากบริษัทต่างๆ นอกเหนือจากงบประมาณประจำและมีชื่อโครงการว่า “การจัดหาเรือคุ้มครองการสำรวจน้ำมันในทะเล” โดยเรือชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ เป็นเรือยนต์เร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี(EXOCET) ประกอบด้วยเรือ 3 ลำ ได้แก่ ร.ล.ราชฤทธิ์ , ร.ล.วิทยาคม และ ร.ล.อุดมเดช

เรือหลวงวิทยาคมได้รับใช้กองทัพเรือมายาวนาน จนในปี 2559 กองทัพเรือจึงได้ทำการปลดระวางประจำการพร้อมกับเรือหลวงอุดมเดช และได้ทำการมอบให้ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำไปจัดตั้งประกอบพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลเขาพลายดำเฉลิมพระเกียรติ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวังนครศรีธรรมราช


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 322
    • ขึ้นระวางประจำการ 12 พ.ย. 2522
    • ปลดประจำการ 1 ต.ค. 2559
    • ผู้สร้าง บริษัท Cantiere Navale Breda ประเทศอิตาลี
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 49.80 เมตร
    • ความกว้าง 7.50 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.70 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 36 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 270 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 300 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,000 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 46 นาย
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง 5 วัน
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์ควบคุมการยิง Thales WM28 mod 41
    • ศูนย์รวบ (ปืนใหญ่เรือ) Thales TDS
    • เรดาร์เดินเรือ Koden และ Furuno
    • ระบบตรวจจับสัญญาณเรดาร์ Decca RDL-2
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Compact ขนาด 76 มม. 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Breda/Bofors Type 564 ขนาด 40 มม. 1 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น MBDA Exocet MM38 2 แท่น แท่นละ 2 ท่อยิง
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 20V 538 TB91 จำนวน 3 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 3 เพลา ใบจักร Kamewa แบบปรับมุมได้

ชาว อ.สิชล กำลังทำการเคลื่อนย้าย ร.ล.วิทยาคม ไปยัง จว.นครศรีธรรมราช

แหล่งอ้างอิง

  • กองเรือตรวจอ่าว
  • http://thaidefense-news.blogspot.com
  • http://www.thaifighterclub.com/

เรือวิทยาคม(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือในทะเลของไทยขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ ในยามสงครามก็ใช้ในการรบ ยามปกติก็ใช้ในการค้า โดยแบ่งลักษณะเรือออกเป็น 2 ประเภท อย่างกว้าง ๆ คือ

  1. เรือแบบตะวันออก ได้แก่ เรือสำเภา หรือเรือแบบจีน
  2. เรือแบบตะวันตก ได้แก่ เรือกำปั่นแบบฝรั่ง คำว่า “กำปั่น” ซึ่งหมายถึง เรือเดินทะเลแบบฝรั่ง
    • เรือชนิดบริก (Brig) เป็นเรือ 2 เสา ทั้งสองเสาใช้ใบตามขวาง และมีใบใหญ่ที่กาฟ์ฟ
    • เรือชนิดบาร์ก (Bargue) เป็นเรือ 3 เสาหน้าและเสาใหญ่ใช้ใบตามขวาง เสาหลังใช้ใบตามยาว
    • เรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) เป็นเรือ 2 เสา แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เรือบรรทุกสินค้า และแบบเรือยอชท์ สำหรับท่องเที่ยว

ในสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าทางทะเลมีน้อยกว่าในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้สร้างเรือกำปั่นของไทยสำหรับการค้าทางทะเล และมีเรือรบจำพวกเรือเดินทะเล เพราะในขณะนั้นมีศึกสงครามรบกับญวน จำเป็นต้องมีเรือรบไว้ใช้ในราชการมากขึ้น เรือรบไทยได้เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นเรือกำปั่นแบบฝรั่ง โดยเรือวิทยาคมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 – 2380 พระอนุรักษ์โยธา อำนวยการต่อที่จันทบุรี เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด 800 ตัน (บางแห่งว่า 1,400 ตัน) เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ. 2394 และ พ.ศ. 2395 ได้นำราชทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน จอดที่เมืองกวางตุ้ง เรือลำนี้อับปาง แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อใดและที่ใด



แหล่งอ้างอิง

  • http://www.kingrama3.or.th
  • กรมยุทธการทหารเรือ, ประวัติเรือรบไทย. โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ, 2520

Copyright © 2025 Seafarer

Theme by Anders NorenUp ↑