Category: Uncategorized

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.996

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

การสร้างเรือ ต.995 ต.996 เป็นส่วนหนึ่งในโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.994 เฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ตามแนวพระราชดำริในการพึ่งพาตนเองอย่างพอเพียง โดยต่อยอดมาจากการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.991 ซึ่งกรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการพัฒนาแบบเรือให้มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยการพิจารณา จากปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ส่วน นำมาวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขจนสามารถทำให้การพัฒนาเรือนั้น มีคุณลักษณะที่เหมาะสม และตอบสนองต่อภารกิจได้ดีขึ้น มีวงเงินในโครงการรวม 1,603 ล้านบาท โดยการดำเนินการในช่วงแรก เป็นการเตรียมการสร้างเรือ กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ และออกแบบเรือรวมทั้งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นขั้นตอนตามระเบียบ ซึ่งในการออกแบบเรือนั้น ได้ขยายจากแบบ เรือ ต.991 ขึ้นประมาณร้อยละ 8 แต่ยังคงคุณลักษณะอุปกรณ์หลักและรูปแบบลายเส้นตัวเรือ มีรายการอุปกรณ์ประจำเรือส่วนใหญ่เหมือนกับเรือชุดเรือ ต. 991 โดยมีการปรับปรุงขนาดอุปกรณ์และตำแหน่งการติดตั้งให้เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดของเรือ มีกำหนดส่งมอบเรือภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 โดยเรือ ต. 995 และ เรือ ต.996 กองทัพเรือ ได้ว่าจ้างบริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ ต่อตามแบบของกองทัพเรือ

ภารกิจของหน่วย

ลาดตระเวน การคุ้มครองรักษาอธิปไตย ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ตลอดจน ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมถึง ถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 996
    • วางกระดูกงู 5 เม.ย.2553
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 13 ก.ค.2554
    • ขึ้นระวางประจำการ 26 ก.ย. 2554
    • ผู้สร้าง บริษัท มาร์ซัน จำกัด
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 41.45 เมตร
    • ความกว้าง 7.20 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.90 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 29.30 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 223 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,055 ไมล์ ที่ 12 นอต
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 3
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 31 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • Sperry Marine BridgeMaster E
    • เรดาร์เดินเรือ Furuno
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบเครื่องควบคุมการยิง (Fire Control System) 1 ระบบ – MIRADOR (Thales Nederland BV)
    • ปืนกล 30 มิลลิเมตร 1 กระบอก – SEAHAWK DS-30M R (MSI-Defense Systems)
    • ปืนกล .50 นิ้ว อัตโนมัติ 1 กระบอก – Naval Turret (Oto Melara)
    • ปืนกล .50 นิ้ว 2 กระบอก
  • ระบบสื่อสาร
    • Hagenuk Marinekommunikation
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร MTU รุ่น 16 V 4000 M90 ขนาด 2,720 kW จำนวน 2 เครื่อง
    • เกียร์ทด ตราอักษร ZF รุ่น ZF 7550 จำนวน 2 ชุด
    • เพลาใบจักรและใบจักร ตราอักษร Wartsila จำนวน 2 ชุด
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.dockyard.navy.mi.th
  • http://www.navy.mi.th/replenishment/
  • http://www.thaiarmedforce.com

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.994

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

การสร้างเรือ ต.994 โดยกรมอู่ทหารเรือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.994 เฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ตามแนวพระราชดำริในการพึ่งพาตนเองอย่างพอเพียง โดยต่อยอดมาจากการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.991 ซึ่งกรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการพัฒนาแบบเรือให้มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยการพิจารณา จากปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ส่วน นำมาวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขจนสามารถทำให้การพัฒนาเรือนั้น มีคุณลักษณะที่เหมาะสม และตอบสนองต่อภารกิจได้ดีขึ้น มีวงเงินในโครงการรวม 1,603 ล้านบาท โดยการดำเนินการในช่วงแรก เป็นการเตรียมการสร้างเรือ กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ และออกแบบเรือรวมทั้งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นขั้นตอนตามระเบียบ ซึ่งในการออกแบบเรือนั้น ได้ขยายจากแบบ เรือ ต.991 ขึ้นประมาณร้อยละ 8 แต่ยังคงคุณลักษณะอุปกรณ์หลักและรูปแบบลายเส้นตัวเรือ มีรายการอุปกรณ์ประจำเรือส่วนใหญ่เหมือนกับเรือชุดเรือ ต. 991 โดยมีการปรับปรุงขนาดอุปกรณ์และตำแหน่งการติดตั้งให้เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดของเรือ มีกำหนดส่งมอบเรือภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 โดยเรือ ต.994 ทำการต่อที่ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ

การดำเนินการสร้าง

กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการสร้างเรือ ต.994 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 ตามแบบที่กรมอู่ทหารเรือ เป็นผู้ดำเนินการออกแบบทั้งหมด โดยใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับสร้างเรือ ที่บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินจัดส่งให้ ในลักษณะ Package Deal ทั้งนี้ ในส่วนของเรือ ต.994 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.994 ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2553 เวลา 16.30 น. การสร้างตัวเรือและเก๋งเรือ ต.994 ได้ดำเนินการสร้างโดยวิธีการแบ่งส่วนของตัวเรือและเก๋งเรือออกเป็นบล็อก เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น คุณภาพของงานดีขึ้น มีการบริหารแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้สถานที่ ๆ มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงสิ่งอำนวยความ สะดวก เครื่องทุ่นแรง เครื่องมือเครื่องใช้ที่มี ในปัจจุบันโดยแบ่งตัวเรือ (Hull Construction) ออกเป็น 4 บล็อก คือ BLOCK – H 1, BLOCK – H 2, BLOCK – H 3, และ BLOCK – H 4 และแบ่งเก๋งเรือ (Superstructure Construction) แบ่งออกเป็น 4 บล็อก เช่นกันคือ BLOCK – S 1, BLOCK – S 2, BLOCK – S 3, และ BLOCK – S 4 ในการสร้างตัวเรือ (Hull Construction) มีลำดับการสร้างตามแผนที่กำหนด โดยเริ่มจากการขยายแบบลายเส้นตัวเรือลงบนลานขยายแบบในอัตราส่วน 1:1 การสร้างไม้แบบสำหรับใช้ในการหมายตัดและดัดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของตัวเรือ การประกอบชิ้นส่วนย่อยต่าง ๆ ในโรงงาน การประกอบบล็อกบนฐานรองรับ การต่อบล็อกในอู่แห้ง ซึ่งการสร้างเก๋งเรือ (Superstructure Construction) จะดำเนินการโดยสร้าง BLOCK S 1 ถึง BLOCK S 4 รวมเป็นบล็อกเดียวกัน บนฐานรองรับ เมื่อแล้วเสร็จ จึงดำเนินการยกลงประกอบติดตั้งบนดาดฟ้าหลักของตัวเรือ ในระหว่างขั้นตอนการสร้างบล็อกตัวเรือและเก๋งเรือ ได้ดำเนินการสร้างและติดตั้ง ส่วนประกอบตัวเรือต่าง ๆ เช่น ฐานแท่นของเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Seatting & Foundation) ตัวจับยึด (Support) และช่องทางผ่านฝากั้นและดาดฟ้า (Duct & Penetration) ของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างตัวเรือและเก๋งเรือ เพื่อหลีกเลี่ยงงาน Hot Work ที่จะเกิดขึ้นหลังการทาสีภายในตัวเรือแล้ว เมื่องานสร้างตัวเรือและเก๋งเรือแล้วเสร็จ และผ่านขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเรียบร้อยแล้ว ได้ดำเนินการประกอบ และติดตั้งอุปกรณ์ ระบบตัวเรือ ระบบขับเคลื่อน ระบบเครื่องจักรช่วย ระบบไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเดินเรือ ระบบอาวุธ สิ่งอำนวยความสะดวกในเรือและอื่น ๆ ณ อู่ทหารเรือธนบุรี ยกเว้น งานประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ที่อยู่เหนือดาดฟ้า สะพานเดินเรือได้ไปดำเนินการต่อที่อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ หลังจาก การปล่อยเรือลงน้ำแล้ว เช่น เสากระโดงเรือ เรดาร์เดินเรือ เสาอากาศวิทยุ และระบบควบคุมการยิง เป็นต้น เนื่องจากติดความสูงของสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ภารกิจของหน่วย

ลาดตระเวน การคุ้มครองรักษาอธิปไตย ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ตลอดจน ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมถึง ถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 994
    • วางกระดูกงู 21 มี.ค.2553
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 11 ก.ค.2554
    • ขึ้นระวางประจำการ 26 ก.ย. 2554
    • ผู้สร้าง อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 41.45 เมตร
    • ความกว้าง 7.20 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.90 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 29.30 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 223 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,055 ไมล์ ที่ 12 นอต
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 3
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 31 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • Sperry Marine BridgeMaster E
    • เรดาร์เดินเรือ Furuno
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบเครื่องควบคุมการยิง (Fire Control System) 1 ระบบ – MIRADOR (Thales Nederland BV)
    • ปืนกล 30 มิลลิเมตร 1 กระบอก – SEAHAWK DS-30M R (MSI-Defense Systems)
    • ปืนกล .50 นิ้ว อัตโนมัติ 1 กระบอก – Naval Turret (Oto Melara)
    • ปืนกล .50 นิ้ว 2 กระบอก
  • ระบบสื่อสาร
    • Hagenuk Marinekommunikation
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร MTU รุ่น 16 V 4000 M90 ขนาด 2,720 kW จำนวน 2 เครื่อง
    • เกียร์ทด ตราอักษร ZF รุ่น ZF 7550 จำนวน 2 ชุด
    • เพลาใบจักรและใบจักร ตราอักษร Wartsila จำนวน 2 ชุด
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.dockyard.navy.mi.th
  • http://www.thaiarmedforce.com

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.993

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

กองทัพเรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหม ให้ดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 และรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งพร้อมกัน 3 ลำ ในวงเงินรวมประมาณ 1,912 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการรวม 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2550 เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550

โครงการจัดสร้างเรือตรวจเรือใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโครงการของกองทัพเรือไทย ที่ต่อยอดมาจากโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุด เรือ ต.91 – ต.99 ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีจุดเริ่มต้นจากพระราชกระแสรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าฯ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 ความว่า ” เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม ” กับทั้งได้มีพระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้ทรงยกตัวอย่างจากการพึ่งพาตนเองในโครงการต่อ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ในอดีตของกองทัพเรือ ในช่วงเวลานั้น กองทัพเรือได้มีแผนปลดประจำการ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 ที่ได้รับความช่วยเหลือจาก สหรัฐอเมริกา เนื่องจากใช้งานมานานประมาณ 40 ปีแล้ว กองทัพเรือจึงได้นำพระราชดำริฯ มาดำเนินการพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสดังกล่าว

การดำเนินการสร้าง

การดำเนินการต่อเรือใหม่ครั้งนี้มี 3 กองในกรมอู่ทหารเรือรับหน้าที่ในการออกแบบคือ กองออกแบบฝ่ายตัวเรือ คือปรับปรุงเรือและต่อโครงสร้างเรือ กองออกแบบกลจักร และกองออกแบบไฟฟ้า เรือที่ทำการต่อนี้ได้พัฒนาแบบมาจากแบบเรือ ต.99 โดยทำการขยายแบบไปทุกมิติประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และนำแบบไปทดลองแบบจำลองเรือที่สถาบัน ฮัมบวร์ก ชิพ โมเดล เบซิน ประเทศเยอรมนี ว่าจากความเร็วที่เราต้องการคือ 27 น็อต ต้องใช้เครื่องขนาดกี่แรงม้า จากนั้นทางสถาบันจะนำไปทดลองหาค่าให้ว่าเรือต้องใช้ขนาดเครื่องยนต์เท่าใด เราก็จะนำมาปรับแต่งเรือให้ทนต่อความสูงของคลื่นที่ความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร สำหรับ การจัดสร้างเรือ ต.992 ต.993 นั้น กองทัพเรือได้เปิดให้บริษัทอู่เรือเอกชนที่ผ่านมาตรฐานรับรองระบบควบคุมคุณภาพไอเอสโอ 9001:2000 และผ่านการตรวจสอบ และรับรองจากสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือประกวดราคาแข่งขัน และได้ผู้ชนะคือบริษัท มาร์ซัน จำกัด รับหน้าที่ต่อเรือต่อไป

ภารกิจของหน่วย

ลาดตระเวนชายฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ตลอดจนถวายการรักษาความปลอดภัยแด่พระบรมวงศ์ และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 993
    • วางกระดูกงู 22 มี.ค. 2549
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 6 ก.ย. 2550
    • ขึ้นระวางประจำการ 27 พ.ย.2550
    • ผู้สร้าง บริษัท มาร์ซัน จำกัด
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 38.70 เมตร
    • ความกว้าง 6.49 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.80 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 29 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 185 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,500 ไมล์
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 3
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 29 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine BridgeMaster E
    • เรดาร์เดินเรือ Furuno
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบเครื่องควบคุมการยิง (Fire Control System) 1 ระบบ – MIRADOR (Thales Nederland BV)
    • ปืนใหญ่ กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk 44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบสื่อสาร
    • Hagenuk Marinekommunikation
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร MTU รุ่น 16 V 4000 M90 ขนาด 2,720 kW จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU กำลังไฟฟ้า 140 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
    • เกียร์ทด ตราอักษร ZF รุ่น ZF 7550 จำนวน 2 ชุด
    • เพลาใบจักรและใบจักร ตราอักษร Wartsila จำนวน 2 ชุด
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaipr.net/
  • http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman
  • http://oldwebsite.ohm.go.th/
  • https://sites.google.com/site/vichayasan1812

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.991

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

กองทัพเรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหม ให้ดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 และรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งพร้อมกัน 3 ลำ ในวงเงินรวมประมาณ 1,912 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการรวม 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2550 เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550

โครงการจัดสร้างเรือตรวจเรือใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโครงการของกองทัพเรือไทย ที่ต่อยอดมาจากโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุด เรือ ต.91 – ต.99 ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีจุดเริ่มต้นจากพระราชกระแสรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าฯ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 ความว่า ” เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม ” กับทั้งได้มีพระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้ทรงยกตัวอย่างจากการพึ่งพาตนเองในโครงการต่อ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ในอดีตของกองทัพเรือ ในช่วงเวลานั้น กองทัพเรือได้มีแผนปลดประจำการ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 ที่ได้รับความช่วยเหลือจาก สหรัฐอเมริกา เนื่องจากใช้งานมานานประมาณ 40 ปีแล้ว กองทัพเรือจึงได้นำพระราชดำริฯ มาดำเนินการพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสดังกล่าว

การดำเนินการสร้าง

การดำเนินการต่อเรือใหม่ครั้งนี้มี 3 กองในกรมอู่ทหารเรือรับหน้าที่ในการออกแบบคือ กองออกแบบฝ่ายตัวเรือ คือปรับปรุงเรือและต่อโครงสร้างเรือ กองออกแบบกลจักร และกองออกแบบไฟฟ้า เรือที่ทำการต่อนี้ได้พัฒนาแบบมาจากแบบเรือ ต.99 โดยทำการขยายแบบไปทุกมิติประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และนำแบบไปทดลองแบบจำลองเรือที่สถาบัน ฮัมบวร์ก ชิพ โมเดล เบซิน ประเทศเยอรมนี ว่าจากความเร็วที่เราต้องการคือ 27 น็อต ต้องใช้เครื่องขนาดกี่แรงม้า จากนั้นทางสถาบันจะนำไปทดลองหาค่าให้ว่าเรือต้องใช้ขนาดเครื่องยนต์เท่าใด เราก็จะนำมาปรับแต่งเรือให้ทนต่อความสูงของคลื่นที่ความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร กองทัพเรือได้ดำเนินการจัดสร้างเรือลำแรกคือ ต. 991 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ

ภารกิจของหน่วย

ลาดตระเวนชายฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ตลอดจนถวายการรักษาความปลอดภัยแด่พระบรมวงศ์ และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 991
    • วางกระดูกงู 9 ก.ย. 2548
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 30 เม.ย. 2550
    • ขึ้นระวางประจำการ 27 พ.ย.2550
    • ผู้สร้าง อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 38.70 เมตร
    • ความกว้าง 6.49 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.80 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 29 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 185 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,500 ไมล์
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 3
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 29 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Sperry Marine BridgeMaster E
    • เรดาร์เดินเรือ Furuno
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Thales Mirador
  • ระบบอาวุธ
    • ระบบเครื่องควบคุมการยิง (Fire Control System) 1 ระบบ – MIRADOR (Thales Nederland BV)
    • ปืนใหญ่ กล MSI-DSL/ATK DS30MR Mk 44 ขนาด 30 มม./70 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบสื่อสาร
    • Hagenuk Marinekommunikation
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร MTU รุ่น 16 V 4000 M90 ขนาด 2,720 kW จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU กำลังไฟฟ้า 140 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
    • เกียร์ทด ตราอักษร ZF รุ่น ZF 7550 จำนวน 2 ชุด
    • เพลาใบจักรและใบจักร ตราอักษร Wartsila จำนวน 2 ชุด
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.manager.co.th/
  • http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman
  • http://oldwebsite.ohm.go.th/
  • https://sites.google.com/site/vichayasan1812

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.111

⇑ กำลังทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

กองทัพเรือได้ดำเนินโครงการจัดหาเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ จำนวน 3 ลำ พร้อมระบบสื่อสาร อาวุธ ระบบอื่น ๆ รวมทั้งการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมในทะเล รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการชดเชยเรือเก่าที่ปลดระวาง และเพิ่มจำนวนในการสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่งในการสนองภารกิจ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยกองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ออกแบบและต่อเรือ ซึ่งเรือทั้ง 3 ลำ ตั้งชื่อว่า “เรือ ต.111”, “เรือ ต.112” และ “เรือ ต.113”

เรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ ซึ่งใช้แบบจากเรือ Crew Boat ซึ่งใช้กันในภารกิจของเอกชน นอกจากจะมีขีดความสามารถทั่วไปแล้ว ยังมีขีดความสามารถในการสนับสนุนการขนส่งทางธุรการชุดปฏิบัติการพิเศษ พร้อมเรือยางท้องไฟเบอร์กลาสความเร็วสูง (RIB) อย่างน้อย 1 ชุด ปฏิบัติการพิเศษ, ลำเลียงอุปกรณ์สนับสนุนหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง ตามพื้นที่ชายฝั่งและเกาะต่าง ๆ ลำเลียงอุปกรณ์ปรับความดันบรรยากาศของกองทัพเรือ สนับสนุนการปฏิบัติการด้านการแพทย์ให้กับกองเรือในทะเล สิ่งที่พิเศษสำหรับเรือสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือคือ พื้นที่ดาดฟ้าเรือขนาด 93 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่โล่งมากถึง 63 ตารางเมตร สามารถบรรทุกน้ำหนักบนดาดฟ้าเรือได้ 50 ตัน หรือติดตั้งระบบขีปนาวุธนำวิถี หรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้ 2 ตู้

ภารกิจของหน่วย

เพื่อใช้ในการลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมในทะเล คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย และการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการ ทางเรือสาขาต่าง ๆ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่ง


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 111
    • วางกระดูกงู 22 มิ.ย.2555
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 13 มี.ค.2557
    • ขึ้นระวางประจำการ 28 มี.ค.2557
    • ผู้สร้าง บริษัท มาร์ซัน จำกัด
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 36 เมตร
    • ความกว้าง 7.60 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.70 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 27 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 150 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,200 ไมล์
    • ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 5
    • ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 10 วัน
    • กำลังพลประจำเรือ 28 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Furuno 2 ชุด
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Denel Land Systems GI-2 ขนาด 20 มม./93 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล Cummins K50-M กำลัง 1,600 แรงม้า 3 เครื่อง
    • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล กำลังไฟฟ้า 112 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 3 เพลา ใบจักรแบบมุมตายตัว
  • เรือในชุดเดียวกัน
วันรับมอบเรือ

แหล่งอ้างอิง

  • http://thainews.prd.go.th/
  • https://th.wikipedia.org
  • https://sites.google.com/site/vichayasan1812

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.99

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อปี 2503 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาทยุโรป ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งของกองทัพเรือเยอรมัน จึงทรงมีพระราชดำริว่า “กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่างๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ” จึงทำให้กองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือรับสนองพระราชดำริโดยการต่อเรือในชุดเรือ ต.91 ขึ้น ซึ่งในระหว่างการดำเนินการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการต่อเรือ รวมถึงทรงเป็นธุระติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้ทำการทดสอบแบบของเรือ ต.91 ให้ แม้แต่การทดสอบเรือในทะเล พระองค์ก็ทรงเสด็จไปร่วมทดสอบด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงตรวจแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ จนทำให้การต่อเรือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จไปประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.91 ลงน้ำ และนับจากนั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเรือในชุด ต.91 เพิ่มเติมอีกคือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98 และ ต.99 ในระหว่างปี 2514-2530


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 99
    • ขึ้นระวางประจำการ 9 ม.ค. 2531
    • ปลดประจำการ 1 ต.ค. 2565
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 34 เมตร
    • ความกว้าง 5.70 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.60 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 25 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 130 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 973 ไมล์ ที่ 21 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 31 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Decca
    • ระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง BAE Sea Archer Mk 1A
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Breda/Bofors Type 564 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-CO1 ขนาด 20 มม. แท่น เดี่ยว 1 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 538 TB80-82 จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaiarmedforce.com/
  • http://www.thailand24news.com
  • https://aagth1.blogspot.com/

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.98

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อปี 2503 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาทยุโรป ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งของกองทัพเรือเยอรมัน จึงทรงมีพระราชดำริว่า “กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่างๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ” จึงทำให้กองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือรับสนองพระราชดำริโดยการต่อเรือในชุดเรือ ต.91 ขึ้น ซึ่งในระหว่างการดำเนินการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการต่อเรือ รวมถึงทรงเป็นธุระติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้ทำการทดสอบแบบของเรือ ต.91 ให้ แม้แต่การทดสอบเรือในทะเล พระองค์ก็ทรงเสด็จไปร่วมทดสอบด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงตรวจแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ จนทำให้การต่อเรือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จไปประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.91 ลงน้ำ และนับจากนั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเรือในชุด ต.91 เพิ่มเติมอีกคือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98 และ ต.99 ในระหว่างปี 2514-2530


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 98
    • ขึ้นระวางประจำการ 7 มี.ค. 2528
    • ปลดประจำการ 1 ต.ค. 2565
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 34 เมตร
    • ความกว้าง 5.70 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.60 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 28 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 134 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 973 ไมล์ ที่ 21 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 28 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Decca
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 538 TB80-82 จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaiarmedforce.com/
  • http://www.thailand24news.com
  • https://aagth1.blogspot.com/

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.97

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อปี 2503 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาทยุโรป ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งของกองทัพเรือเยอรมัน จึงทรงมีพระราชดำริว่า “กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่างๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ” จึงทำให้กองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือรับสนองพระราชดำริโดยการต่อเรือในชุดเรือ ต.91 ขึ้น ซึ่งในระหว่างการดำเนินการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการต่อเรือ รวมถึงทรงเป็นธุระติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้ทำการทดสอบแบบของเรือ ต.91 ให้ แม้แต่การทดสอบเรือในทะเล พระองค์ก็ทรงเสด็จไปร่วมทดสอบด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงตรวจแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ จนทำให้การต่อเรือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จไปประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.91 ลงน้ำ และนับจากนั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเรือในชุด ต.91 เพิ่มเติมอีกคือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98 และ ต.99 ในระหว่างปี 2514-2530


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 97
    • ขึ้นระวางประจำการ 16 ก.ย. 2526
    • ปลดประจำการ ( – )
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 34 เมตร
    • ความกว้าง 5.70 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.60 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 27 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 134 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 973 ไมล์ ที่ 21 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 28 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Decca
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 538 TB80-82 จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaiarmedforce.com/
  • http://www.thailand24news.com

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.96

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อปี 2503 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาทยุโรป ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งของกองทัพเรือเยอรมัน จึงทรงมีพระราชดำริว่า “กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่างๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ” จึงทำให้กองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือรับสนองพระราชดำริโดยการต่อเรือในชุดเรือ ต.91 ขึ้น ซึ่งในระหว่างการดำเนินการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการต่อเรือ รวมถึงทรงเป็นธุระติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้ทำการทดสอบแบบของเรือ ต.91 ให้ แม้แต่การทดสอบเรือในทะเล พระองค์ก็ทรงเสด็จไปร่วมทดสอบด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงตรวจแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ จนทำให้การต่อเรือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จไปประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.91 ลงน้ำ และนับจากนั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเรือในชุด ต.91 เพิ่มเติมอีกคือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98 และ ต.99 ในระหว่างปี 2514-2530


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 96
    • ขึ้นระวางประจำการ 27 ธ.ค. 2525
    • ปลดประจำการ ( – )
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 34 เมตร
    • ความกว้าง 5.70 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.60 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 27 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 134 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 973 ไมล์ ที่ 21 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 28 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Decca
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 538 TB80-82 จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaiarmedforce.com/
  • http://www.thailand24news.com

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.95

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อปี 2503 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาทยุโรป ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งของกองทัพเรือเยอรมัน จึงทรงมีพระราชดำริว่า “กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่างๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ” จึงทำให้กองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือรับสนองพระราชดำริโดยการต่อเรือในชุดเรือ ต.91 ขึ้น ซึ่งในระหว่างการดำเนินการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการต่อเรือ รวมถึงทรงเป็นธุระติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้ทำการทดสอบแบบของเรือ ต.91 ให้ แม้แต่การทดสอบเรือในทะเล พระองค์ก็ทรงเสด็จไปร่วมทดสอบด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงตรวจแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ จนทำให้การต่อเรือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จไปประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.91 ลงน้ำ และนับจากนั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเรือในชุด ต.91 เพิ่มเติมอีกคือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98 และ ต.99 ในระหว่างปี 2514-2530


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 95
    • ขึ้นระวางประจำการ 27 ธ.ค. 2525
    • ปลดประจำการ 1 ต.ค. 2562
    • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 34 เมตร
    • ความกว้าง 5.70 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.60 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 27 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 134 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 973 ไมล์ ที่ 21 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 28 นาย
  • ระบบตรวจการณ์
    • เรดาร์เดินเรือ Decca
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
    • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 538 TB80-82 จำนวน 2 เครื่อง
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaiarmedforce.com/
  • http://www.thailand24news.com

Copyright © 2025 Seafarer Library

Theme by Anders NorenUp ↑