Category: Uncategorized

เรือหลวงคราม(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

เรือหลวงเจนทะเลจำลอง ที่ จว.ชุมพร

ความเป็นมาของโครงการ

ร.ล.คราม (ลำที่ 1) นั้น เดิมเป็นเรือลำเลียงของเยอรมัน ราชนาวีไทยยึดมาเมื่อ สงครามโลก ครั้งที่ 1 และเปลี่ยนชื่อเป็น เจนทะเล และเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2478 เปลี่ยนชื่อจาก เจนทะเล เป็น คราม ภารกิจที่สำคัญยิ่ง ครั้งหนึ่งของเรือที่ควรจดจำคือ ครั้นเมื่อเสด็จเตี่ย (พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์) สิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรีจังหวัดชุมพร ในวันที่ 19 พ.ค. 2466 ต่อมาวันที่ 20 พ.ค. เรือหลวงเจนทะเลได้เชิญพระศพจากจังหวัดชุมพรมาพักถ่ายพระศพสู่ เรือหลวงพระร่วง ที่บางนา ต่อจากนั้น เรือหลวงพระร่วงได้นำพระศพเข้ามายังกรุงเทพ ฯ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ขึ้นระวางประจำการ 22 ก.ค. 2460
    • ปลดประจำการ 20 ธ.ค. 2503
    • ผู้สร้าง อู่ บริษัท ฮ่องกงและแวมโป ประเทศฮ่องกง(ขณะนั้น)
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 194 ฟุต
    • ความกว้าง 27 ฟุต 6 นิ้ว
    • กินน้ำลึก 2 ฟุต 9 นิ้ว
    • ความเร็วสูงสุด 8.50 นอต
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 440 ตัน
    • กำลังพลประจำเรือ 36 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล 57 มม. 1 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • กังหันไอน้ำ 3 สูบ 2 เครื่อง 310 แรงม้า
    • ใบจักร 2 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • https://pantip.com
  • http://www.navy.mi.th

เรือหลวงช้าง(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงช้าง (HTMS Chang 712 ) เดิมคือ USS Lincoln County (LST-898) เป็นเรือในชั้น LST-542 เป็นอดีตเรือลำเลียงเเละยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ยูเอสเอส ลินคอล์น เคาน์ตี้ (เเอลที่เอส-898) ของสหรัฐฯ เคยทำหน้าที่สนับสนุนการรบครั้งสำคัญหลายครั้ง เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนมาถึงการร่วมสนับสนุนการรบที่เมืองอินชอนในสงครามเกาหลี หลังจากที่กองทัพสหรัฐ ฯ ส่งมอบให้ประเทศไทยในโครงการความร่วมมือฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2505 ได้ทำพิธีมอบกันที่เมืองลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยฝ่ายไทยมีนาย วิสูตร อรรถยุติ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยรับมอบ ทางกองทัพเรือได้เปลี่ยนชื่อเรือเป็น “ช้าง” หมายถึงเกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือของกองทัพเรือไทย ที่ใช้ชื่อเกาะสำคัญๆของไทยเป็นชื่อเรือ ในราชการกองทัพเรือ เรือหลวงช้าง ได้ปฏิบัติภารกิจครั้งสำคัญๆให้กองทัพเรือไทย เช่น ในช่วงสงครามเวียดนาม เป็นเรือสนับสนุนปฏิบัติการของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน เป็นฐานปฏิบัติการลอยน้ำ เป็นที่ฝึกของนักเรียนนายเรือหลายรุ่น และเป็นเรือฝึกหลักสูตรสำคัญๆของกองทัพเรืออีกหลายหลักสูตร เรียกได้ว่ารับใช้ราชการมาแล้วอย่างสมเกียรติและสมศักดิ์ศรี แต่เนื่องจากเป็นเรือขนาดใหญ่ และมีอายุการใช้งานมานานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ความชำรุดทรุดโทรมเกินการซ่อมบำรุง กองทัพเรือจึงปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2548 และจอดเทียบท่าอยู่ที่อู่ทหารเรือที่จังหวัดสมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2555 เรือหลวงช้างก็ได้เข้าสู่โครงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยทางจังหวัดตราด และองค์กรบริหารจัดการการท่องที่ยวได้รับมอบเรือหลวงช้างจากกองทัพเรือเพื่อใช้เป็นปะการังเทียมในท้องทะเลตราด จึงได้มีการลากจูงเรือหลวงช้างจากจังหวัดสมุทรปราการมายังจังหวัดตราด เพื่อนำไปจมลงสู่ใต้ท้องทะเลที่บริเวณหินลูกบาต เกาะช้าง เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2555 ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี วันที่ 16 สิงหาคม 2555 ตามโครงการ “เรือหลวงช้าง รักษ์ทะเลตราด” เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลแห่งใหม่ ฟื้นฟูระบบนิเวศ แหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล และเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของประมงเรือเล็กสืบไป


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 712
    • วางกระดูกงู 15 ต.ค. 2487
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 25 พ.ย. 2487
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐ ฯ 29 ธ.ค. 2487
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 3 ส.ค. 2505
    • ปลดประจำการ 14 ต.ค. 2548
    • ผู้สร้าง บริษัท Dravo Corporation of Pittsburgh, Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 100 เมตร
    • ความกว้าง 15 เมตร
    • กินน้ำลึกหัว 2.49 เมตร ท้าย 4.29 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 12 นอต
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 9 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 1,625 ตัน
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 4,080 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 24,000 ไมล์ ที่ 9 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 117 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 40 มม. แท่นคู่ จำนวน 2 กระบอก
    • ปืน 40 มม. แท่นเดี่ยว จำนวน 4 กระบอก
    • ปืนกล 20 มม. จำนวน 12 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ดีเซล General Motors 12-567 จำนวน 2 เครื่อง
    • เพลาใบจักร 2 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.facebook.com/warshipthai/
  • https://en.wikipedia.org
  • http://www.navsource.org
  • http://www.dasta.or.th
  • https://km.dmcr.go.th

เรือหลวงช้าง(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

ค้นพบประวัติเกี่ยวกับเรือหลวงช้างลำที่ 1 น้อยมาก เท่าที่หาข้อมูลได้ เป็นเรือลำเลียงที่ใช้งานอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2445 – 2505 และพบว่าเป็นเรือที่เข้าช่วยเหลือเรือหลวงธนบุรี หลังจากการรบที่เกาะช้าง จ.ตราด ดังนี้ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2484 เวลา 9.50 น. เรือหลวงช้าง ภายใต้การบังคับบัญชาของเรือเอกสนิท อังกินันท์ ได้นำเรือเข้าช่วยดับไฟที่ไหม้อยู่อย่างหนักบนเรือหลวงธนบุรี แต่ไม่ค่อยได้ผล เพราะสายสูบน้ำผ้าใบยาวไม่พอที่จะลากหัวสูบไปฉีดให้ถึงห้องต่างๆ ภายใต้ดาดฟ้าเรือได้ เรือหลวงช้างจึงเปลี่ยนวิธีเป็นทำการลากจูงเรือหลวงธนบุรีไปพลางพร้อมทั้งทำการดับไฟในเรือไปด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ผลอีก เมื่อเห็นหมดทางที่จะแก้ไขได้แล้ว ผู้บังคับการเรือหลวงช้างจึงตัดสินใจจูงเรือหลวงธนบุรีให้ไปเกยตื้นที่บริเวณแหลมงอบ จนเวลา 11.30 น. เรือหลวงธนบุรีถูกจูงมาถึงเขตน้ำตื้น และไม่สามารถลากจูงต่อไปได้ ต้นเรือเรือหลวงธนบุรีจึงสั่งให้ลำเลียงทหารบาดเจ็บลงเรือหลวงช้าง แล้วให้สละเรือใหญ่ ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงและทหารเรือส่วนหนึ่งยังคงพยายามดับไฟในเรือหลวงธนบุรีต่อไป แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเรือหลวงธนบุรีก็จมลงเมื่อเวลา 16.40 น. โดยจมไปทางกราบเรือทางขวา เสาทั้งสองเอนจมลงไป กราบซ้ายและกระดูกงูกันโคลงโผล่อยู่พ้นน้ำ



แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org
  • http://www.thaifighterclub.org

เรือหลวงเสม็ด(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงเสม็ด เดิมเป็นเรือลำเลียงของเยอรมัน ราชนาวีไทยได้ยึดมาจากเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรือผีเสื้อน้ำ ต่อมาเมื่อ 20 ม.ค. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็นเรือหลวงเสม็ด


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือลากจูง
    • ขึ้นระวางประจำการ 22 ก.ค. 2460
    • ปลดประจำการ 20 ธ.ค. 2503
    • ผู้สร้าง อู่ บริษัทฮ่องกงและแวมโป
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 96 ฟุต
    • ความกว้าง 20 ฟุต
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 6 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 8.84 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 151 ตัน
    • กำลังพล 25 นาย
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำ 3 สูบ กำลัง 112 แรงม้า


แหล่งอ้างอิง

http://www.navy.mi.th

เรือหลวงกูด(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงกูด เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง (LSM : landing Ship, Medium) ชั้น LSM-1 เดิมชื่อ USS EXNO (LSM 333) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมารัฐบาลไทยซื้อมาในราคา 235,000 เหรียญ เรือหลวงกูดได้เคยปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ เช่น การลำเลียงกำลังทหาร และสนับสนุนการสับเปลี่ยนกำลังทหารไทยในระหว่างสงครามเกาหลี และอื่นๆ อีกมากมาย โดยได้รับใช้ชาติและราชนาวีมานานถึง 57 ปี จึงปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2547 จากนั้น ได้เข้าเป็นหนึ่งในโครงการอุทยานใต้ทะเล เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ณ บริเวณเกาะสาก อ่าวพัทยา จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 17 ก.ย. 2549 เวลา 10.00 น.


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 731
    • วางกระดูกงู 27 มิ.ย. 2487
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 13 ต.ค. 2487
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐฯ 11 พ.ย. 2487
    • รัฐบาลไทยรับมอบ 2533
    • ขึ้นระวางประจำการ 20 พ.ย. 2490
    • ปลดประจำการ 30 ก.ย. 2547
    • ผู้สร้าง บริษัท Pullman Standard Car Manufacturing Company, Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 61.50 เมตร
    • ความกว้าง 10.51 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.27 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 13.5 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 513 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 912 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,580 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 65 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก 40 มม. แท่นคู่ 1 กระบอก
    • ปืนกล 20 มม. 4 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ดีเซล Fairbanks Morse (model 38D81/8X10, reversible with hydraulic clutch) 1,800 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 100Kw จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 20Kw จำนวน 2 เครื่อง
    • ใบจักร 2 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.facebook.com/pg/DMCRTH
  • http://www.manager.co.th
  • http://www.navsource.org

เรือหลวงกูด(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงกูด เดิมเป็นเรือลำเลียงของเยอรมัน ราชนาวีไทยได้ยึดมาจากเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรือหาญทะเล ต่อมาเมื่อ 20 ม.ค. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็นเรือหลวงกูด


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือลำเลียง
    • ขึ้นระวางประจำการ 22 ก.ค. 2460
    • ปลดประจำการ ไม่ทราบแน่ชัด
    • ผู้สร้าง อู่ บริษัทฮ่องกงและแวมโป
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 156 ฟุต
    • ความกว้าง 28 ฟุต 1 นิ้ว
    • ความเร็วสูงสุด 8.50 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 455 ตัน
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำ 3 สูบ กำลัง 350 แรงม้า


แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th

เรือหลวงไผ่(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

นอกชายฝั่ง Chicago, IL., ฤดูหนาวในปี พ.ศ. 2448

ความเป็นมาของโครงการ

เรือหลวงไผ่ เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง (LSM : landing Ship, Medium) ชั้น LSM-1 เดิมชื่อ USS LSM-338 ของประเทศสหรัฐอเมริกา เคยได้ปฏิบัติภารกิจ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพื้นที่แปซิฟิก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้นำไปใช้ในภาคพื้นตะวันออกไกล ช่วง 20 ก.ย. 2488 – 20 ก.ค. 2489 จากนั้นได้ขายและส่งมอบต่อให้ ทร.ไทย เมื่อ 14 ต.ค. 2489 เรือหลวงไผ่ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเรืออะไหล่สำหรับเรือหลวงกูด ในช่วงสุดท้ายได้ถูกแยกชิ้นส่วนและนำไปติดตั้งไว้ที่ กองการฝึก กองเรือยุทธการ


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 2
    • วางกระดูกงู 14 ส.ค. 2487
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 5 ต.ค. 2487
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐฯ 10 ม.ค. 2488
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 14 ต.ค. 2489
    • ปลดประจำการ ไม่ทราบแน่ชัด
    • ผู้สร้าง บริษัท Pullman Standard Car Manufacturing Company, Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 61.50 เมตร
    • ความกว้าง 10.51 เมตร
    • กินน้ำลึก 1.27 เมตร
    • ความเร็วสูงสุด 13.5 นอต
    • ระวางขับน้ำปกติ 513 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 912 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,580 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 65 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนหลัก 40 มม. แท่นคู่ 1 กระบอก
    • ปืนกล 20 มม. 4 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องยนต์ดีเซล Fairbanks Morse (model 38D81/8X10, reversible with hydraulic clutch) 1,800 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 100Kw จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องขับเครื่องยนต์ดีเซล 20Kw จำนวน 1 เครื่อง
    • ใบจักร 2 เพลา

แหล่งอ้างอิง

http://www.navsource.org

เรือหลวงไผ่(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงไผ่ เดิมเป็นเรือลำเลียงของเยอรมัน ราชนาวีไทยได้ยึดมาจากเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรือลิ่วทะเล ต่อมาเมื่อ 20 ม.ค. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็นเรือหลวงไผ่


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือลำเลียง
    • ขึ้นระวางประจำการ 22 ก.ค. 2460
    • ปลดประจำการ ไม่ทราบแน่ชัด
    • ผู้สร้าง อู่ VON HERY KOCH บริษัท ฮ่องกงและแวมโป
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 188 ฟุต
    • ความกว้าง 29 ฟุต 7 นิ้ว
    • ความเร็วสูงสุด 7.6 นอต
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 455 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,341 ไมล์
    • กำลังพลประจำเรือ 36 นาย
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • เครื่องจักรไอน้ำ 3 สูบ จำนวน 2 เครื่อง กำลัง 350 แรงม้า

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th

เรือหลวงคำรณสินธุ(ลำที่ 2)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ความเป็นมา

เรือหลวงคำรณสินธุ เดิมชื่อ PC-609 เป็นเรือในชั้น PC-461 ของ ทร.สหรัฐฯ ซึ่งกองทัพเรือไทยได้รับมอบมาตามโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นไปตามโครงการ เงินกู้สำหรับซื้อของเหลือใช้สงครามของ ทร.ไทย โดยในโครงการได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชั้นนี้มาเป็น 3 ระยะ รวมจำนวน 8 ลำ ประกอบด้วย ระยะแรกได้แก่ เรือหลวงสารสินธุ เรือหลวงทยานชล และเรือหลวงคำรณสินธุ ระยะที่สองได้แก่ เรือหลวงพาลี และเรือหลวงสุครีพ ระยะที่สามได้แก่ เรือหลวงตองปลิว เรือหลวงลิ่วลม และเรือหลวงล่องลม และเมื่อ29 มิ.ย. 2494 เรือหลวงคำรณสินธุ ถูกยิงจมหน้ากรมอู่ทหารเรือ ในกรณีกบฏแมนฮัตตัน


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ประเภท เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ
    • หมายเลข 3
    • วางกระดูกงู 8 ม.ค. 2485
    • ปล่อยเรือลงน้ำ 30 พ.ค. 2485
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.สหรัฐฯ 7 ส.ค. 2485
    • ขึ้นระวางประจำการ ทร.ไทย 20 พ.ย. 2490
    • ปลดระวาง 11 ธ.ค. 2496
    • ผู้สร้าง บริษัท Brown Shipbuilding Co., Houston, TX ประเทศ สหรัฐ ฯ
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 52 เมตร
    • ความกว้าง 7 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.20 เมตร
    • ระวางขับน้ำปกติ 228 ตัน
    • ระวางขับน้ำสูงสุด 372.24 ตัน
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 20.20 นอต
    • กำลังพล 65 นาย
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,000 ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์
  • ระบบอาวุธ
    • ปืน 76/50 จำนวน 1 กระบอก
    • ปืน 40/60 มม. 1 กระบอก
    • ปืน 20 มม. 5 กระบอก
    • K Gun จำนวน 2 แท่น
    • แท่นยิง Mousetrap จำนวน 2 แท่น
    • รางปล่อยระเบิดลึก จำนวน 2 แท่น
    • แท่นยิงตอร์ปิโด MK-32 MOD 3 (ท่อเดี่ยว) จำนวน 2 ท่อยิง
  • ระบบขับเคลื่อน
    • เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 2,880 แรงม้า Hooven Owen Rentschler, Westinghouse simgle reduction gear
    • ใบจักรคู่
  • เรือในชุดเดียวกัน

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.thaifighterclub.org
  • http://www.navsource.org
  • https://uboat.net/
  • http://www.wings-aviation.ch

เรือเสือคำรณสินธุ์(ลำที่ 1)

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

ถ่ายโดย บ. SANYO DIGITAL CAMERA

ความเป็นมาของโครงการ

สืบเนื่องจากโครงการจัดหาเรือรบ ซึ่งกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์(พระอิสริยยศขณะนั้น) เสนาธิการทหารเรือทรงทำขึ้นถวาย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต(พระอิสริยยศขณะนั้น) ผู้บัญชาการทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2448 แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ไม่อาจสั่งสร้างเรือทั้งหมดที่ต้องการได้ การจัดหาในครั้งแรกได้แต่เพียงเรือพิฆาตตอร์ปิโด ” เสือทยานชล” 1 ลำ กับ เรือตอร์ปิโด 1,2,3, รวม 4 ลำ เท่านั้น 5 ปีต่อมา ผู้แทนของบริษัทอู่คาวาซากิ ได้เดินทางมากรุงเทพเพื่อเจรจากับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต หลังจากนั้นได้ทรงต่อรองกับกรมหมื่นจันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีพระบรมราชานุญาตให้ “จ่ายเงินค่าสรรพยุทธ” เพื่อสั่งสร้าง เรือพิฆาต ตอร์ปิโด อีก 1 ลำ หลังการรับมอบแล้วได้พระราชทาน ชื่อว่า “เสือคำรณสินธ์” เพื่อให้คู่กับเรือ “เสือทยานชล” ที่ประจำการอยู่แล้ว


คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • ขึ้นระวางประจำการ 18 มิ.ย. 2455
    • ปลดประจำการ 17 ม.ค. 2480
    • ผู้สร้าง อู่ กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
  • คุณลักษณะทั่วไป
    • ความยาวตลอดลำ 75.66 เมตร
    • ความกว้าง 7.15 เมตร
    • กินน้ำลึก 2.00 เมตร
    • ความเร็วมัธยัสถ์ 11 นอต
    • ความเร็วสูงสุด 29 นอต
    • ระวางขับน้ำเต็มที่ 375 ตัน
    • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 8520 ไมล์ ที่ 29 นอต
    • กำลังพลประจำเรือ 73 นาย
  • ระบบอาวุธ
    • ปืนกล 57 มม. 5 กระบอก
    • ปืนกล 36 มม. 1 กระบอก
    • ท่อตอร์ปิโด 45 ซม. 2 ท่อยิง
    • ติดปืนกลเพิ่มภายหลัง 2 กระบอก
  • ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
    • กังหันไอน้ำ(เคอร์ติส) 2 เครื่อง 6000 แรงม้า
    • ใบจักร 2 เพลา

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.navy.mi.th
  • https://pantip.com
  • http://www.reurnthai.com

Copyright © 2025 Seafarer

Theme by Anders NorenUp ↑