Category: Uncategorized

เรือ ต.252

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

เรือ ต.252 เป็นเรือในชุดเรือ ต.251 ของ หมวดเรือปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ มีภารกิจหลักใช้ในการหาข่าวโดยชุดเรือ ต.251 เป็นเรือตรวจการณ์ความเร็วสูง (High Speed Patrol Boat) ตัวเรือทำด้วยอลูมิเนียม ประกอบด้วย เรือ ต.251 และ เรือ ต.252 ปัจจุบัน เรือ ต.252 ได้ปลดประจำการไปแล้ว พร้อมกับเรือ ต.251

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 252
    • ขึ้นระวางประจำการ 13 พ.ค. 2545
    • ปลดประจำการ พ.ศ. 2559
    • ผู้สร้าง บริษัท Team One USA. Inc สหรัฐอเมริกา

เรือในชุดเดียวกัน


แหล่งอ้างอิง

  • http://aagth1.blogspot.com
  • http://www.dockyard.navy.mi.th/

เรือ ต.251

⇑ พิพิธภัณฑ์ทางเรือ

เรือ ต.251 เป็นเรือในชุดเรือ ต.251 ของ หมวดเรือปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ มีภารกิจหลักใช้ในการหาข่าวโดยชุดเรือ ต.251 เป็นเรือตรวจการณ์ความเร็วสูง (High Speed Patrol Boat) ตัวเรือทำด้วยอลูมิเนียม ประกอบด้วย เรือ ต.251 และ เรือ ต.252 ปัจจุบัน เรือ ต.251 ได้ปลดประจำการไปแล้ว พร้อมกับเรือ ต.252

คุณลักษณะของเรือ

  • ทั่วไป
    • หมายเลข 251
    • ขึ้นระวางประจำการ 13 พ.ค. 2545
    • ปลดประจำการ พ.ศ. 2559
    • ผู้สร้าง บริษัท Team One USA. Inc สหรัฐอเมริกา

เรือในชุดเดียวกัน


แหล่งอ้างอิง

  • http://aagth1.blogspot.com
  • http://www.dockyard.navy.mi.th/

เรือ ต.253

⇑ กำลังทางเรือ

เรือ ต.253 เป็นเรือในชุดเรือ ต.253 ของ หมวดเรือปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ มีภารกิจในการลาดตระเวนหาข่าว โดยชุดเรือ ต.253 เป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง(Inshore Patrol Craft) แบบ Speed Boat ประกอบด้วย เรือ ต.253 เรือ ต.254 และ เรือ ต.255 ตัวเรือมีสีขาว มีตัวอักษรเลขตัวเรือ(Hull No.) สีฟ้าขนาดเล็ก


เรือในชุดเดียวกัน


แหล่งอ้างอิง

  • http://aagth1.blogspot.com

พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม

⇑ รายนามผู้บัญชาการทหารเรือ

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2525

พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ลำดับที่ 57 เกิดเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2506 ชื่อเล่น “ดุง”สมรสกับ นางกีรตา พันธุ์เอี่ยม

การศึกษา
– โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 99
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 80
– หลักสูตรนายทหารชั้นต้น พรรคนาวิน
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 56
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ ประเทศออสเตรเลีย
– ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ  รุ่นที่ 40
– หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 62

ตำแหน่งที่สำคัญ
– กำลังพลรับเรือ เรือหลวงเจ้าพระยา ตำแหน่ง นายทหารอาวุธนำวิถี
– นายธง ผบ.กภ.1 และ 2 กร.
– นายธง เสนาธิการกองเรือยุทธการ
– กำลังพลรับเรือ เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตำแหน่ง ต้นหน
– ผู้บังคับการเรือหลวงปิ่นเกล้า
– ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ไทย/แคนเบอร์รา ออสเตรเลีย
– ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
– ผู้บังคับการ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ
– รองเลขานุการกองทัพเรือ 
– รองผู้อำนวยการ สำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ
– รองผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือกรุงเทพ
– หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ
– ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ 
– ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
– ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ 
– เจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ 
– ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/
  • https://www.thairath.co.th/

พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2525

พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ สมรสกับ นางพรศิริ นาวานุเคราะห์

การศึกษา
– โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 17
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 80 พรรคนาวิน
– Resource Planning and Management for International Defense, US. Naval Postgraduate School, Monterey, CA. USA

ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้บังคับการเรือหลวงภูเก็ต
– ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี
– ผู้อำนวยการ กองการต่างประเทศ กรมข่าวทหารเรือ
– ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ (พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ)
– ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ (พล.ร.อ. สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์)
– ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย และแผน กรมยุทธการทหารเรือ
– ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย และแผน กรมข่าวทหารเรือ
– รองเจ้ากรมข่าวทหารเรือ
– รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2
– เจ้ากรมข่าวทหารเรือ
– เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
– เสนาธิการทหารเรือ
– ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ (ต.ค.2566)



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/

พลเรือเอก วุฒิชัย สายเสถียร

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2524

พลเรือเอก วุฒิชัย สายเสถียร สมรสกับ นางเนตรสุภา สายเสถียร

การศึกษา
– โรงเรียนโยธินบูรณะ (ม.ศ.3)
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 79
– หลักสูตรนายทหารพรรคนาวิน รุ่นที่ 32
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ ประเทศอินโดนีเซีย รุ่นที่ 35
– หลักสูตรการบริหารงานและงบประมาณ (ระดับผู้บริหาร) สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ
– ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 40
– หลักสูตรการบริหารจัดการความมั่นคงแห่งชาติ รุ่นที่ 1 สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ
– หลักสูตรการปฏิบัติการข่าวสารร่วม รุ่นที่ 1 สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
– หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับสูง กรมกำลังพลทหารเรือ
– หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 16

ตำแหน่งที่สำคัญ
– ธงผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ
– ผู้บังคับการเรือ เรือหลวงทยานชล กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ
– เสนาธิการ กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
– รองผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
– รองผู้บังคับการศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
– ผู้อำนวยการกองข่าว กรมข่าวทหารเรือ
– ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมข่าวทหารเรือ
– ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
– นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
– นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ รองปลัดกระทรวงกลาโหม
– รองเจ้ากรมสารบรรณทหารเรือ
– ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
– ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ
– เจ้ากรมข่าวทหารเรือ
– รองเสนาธิการทหารเรือ
– ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ
– ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ (ต.ค.2565)



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/

ปัญหาเขตแดนทางทะเล ไทย – เมียนมา

⇑ ปัญหาเขตแดนทางทะเลของไทย

การแบ่งเขตทางทะเลนอกชายฝั่งของทั้งสองประเทศไม่มีปัญหา แต่มีปัญหาบริเวณใกล้ฝั่ง เริ่มตั้งแต่ด้านเหนือของเกาะสุรินทร์ไปจนถึงแม่น้ำกระบุรี เนื่องจากเกิดความไม่ชัดเจนของสนธิสัญญาระหว่าง ไทย – อังกฤษ ที่ไม่ได้ระบุพิกัดตำบลที่และชื่อเกาะ ทำให้เกิดปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือ เกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก

กรณีพิพาททางทะเลระหว่างไทยและเมียนมา เกิดขึ้นจากการแย่งชิงอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะหลาม – เกาะคัน – เกาะขึ้นก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำปากจั่นในฝั่งทะเลอันดามัน โดยเกาะหลามมีพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ เกาะคันมีพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ และเกาะขี้นกมีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เกาะทั้งสามตั้งอยู่ท่ามกลางเกาะวิกตอเรียของเมียนมา และเกาะตราครุฑและเกาะสินไหของไทย รวมทั้งข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเล ตั้งแต่บริเวณปากแม่น้ำปากจั่นจนถึงบริเวณทะเลเปิดระหว่างเกาะสุรินทร์ และเกาะคริสตีความยาวประมาณ 50 ไมล์ทะเล

ข้อพิพาททั้งสองมีสาเหตุสืบเนื่องมาจาก สมัยอังกฤษเข้ามาปกครองเมียนมา อังกฤษได้เห็นว่าเขตแดนระหว่างอังกฤษกับสยามยังไม่ชัดเจน จึงได้ร่วมเจรจาและได้ทำอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องกำหนดเขตแดนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับเทนเนสเซอริม(ชื่อมณฑลของอังกฤษ) เมื่อ ค.ศ. 1868 เพื่อแบ่งเขตระหว่างประเทศ ตั้งแต่แม่น้ำเมยจนถึงแม่น้ำปากจั่น แต่เกาะต่าง ๆ มิได้ตกลงแบ่งปันกัน และต่อมาทั้งสองประเทศได้เจรจาแบ่งเกาะต่าง ๆ โดย หมู่เกาะรังนก เกาะย่านเชือก และเกาะวิกตอร์เรีย เป็นของอังกฤษ ให้เกาะช้าง เกาะพยาม เป็นของไทย แต่เกาพอื่น ๆ ยังไม่สามารถตกลงกันได้

ต่อมาเมื่อเมียนมาได้เอกราชจากอังกฤษ จึงมีปัญหาในการแย่งชิงเกาะทั้งสามที่เหลือ ทางฝั่งเมียนมาอ้างแผนที่เดินเรือของอังกฤษปี ค.ศ. 1948 และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา ค.ศ. 1868 ส่วนไทยอ้างพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 ค.ศ. 1891 ที่ยืนยันว่าปลายเขตแดนของไทยไปสิ้นสุดที่เกาะหลามและเกาะคัน และแผนที่กรมแผนที่ทหารที่จัดทำเมื่อ ค.ศ. 1958



แหล่งอ้างอิง

  • วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
  • นาวิกาธิปัตย์สาร (นาวาเอก ภุชงค์ ประดิษฐ์ธีระ)

ปัญหาเขตแดนทางทะเล ไทย – มาเลเซีย

⇑ ปัญหาเขตแดนทางทะเลของไทย

เขตทับซ้อนทางทะเล เกิดขึ้นจากพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ และการประกาศเขตไหล่ทวีปทางทะเลของแต่ละประเทศชายฝั่งเป็นสำคัญ ในทางกฎหมายนั้น เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 โดยที่กฎหมายทางทะเลนั้น ให้สิทธิรัฐชายฝั่งในการประกาศเขตไหล่ทวีปจากขอบนอกของทะเลอาณาเขตไปจนถึงแนวน้ำลึก 200 เมตร ซึ่งอ่าวไทยมีความลึกที่สุดประมาณ 82 เมตรและไม่กว้างนัก จุดที่กว้างที่สุดคือ 206 ไมล์ทะเล ดังนั้นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ชายฝั่งไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา เวียดนาม และ มาเลเซีย เมื่อมีการประกาศเขตไหล่ทวีปออกมา ก็ย่อมทำให้เขตที่ประกาศนั้นทับซ้อนกัน

ไทยกับมาเลเซียได้เริ่มเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยเริ่มในฝั่งทะเลอันดามัน โดยบรรลุข้อตกลงกันได้เมื่อ พ.ศ. 2513 สำหรับปัญหาเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทย เริ่มมีการเจรจาช่วงปี พ.ศ. 2515 และสามารถทำความตกลงกันได้ประมาณ 31 ไมล์ทะเล เป็นบริเวณจากปากแม่น้ำโกลก ออกไป 12 ไมล์ทะเล ถึงขอบนอกทะเลอาณาเขตของทั้งสองประเทศ และต่อออกไปอีก 19 ไมล์ทะเลในเขตไหล่ทวีป ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 มีการเจรจาต่อ โดยทั้งสองฝ่ายเสนอเส้นเขตแดนที่แตกต่างกัน เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนในเขตไหล่ทวีปประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้มีการเจรจาขึ้นที่เชียงใหม่ให้มีความตกลงแก้ปัญหาชั่วคราวด้วยการจัดตั้งองค์กรแสวงประโยชน์ร่วมในพื้นที่ทับซ้อนจนกว่าจะตกลงในเรื่องเขตแดนกันได้ โดยเรียกการตกลงนี้ว่า MOU เชียงใหม่ 2522 ซึ่งเป็นที่มาของพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย – มาเลเซีย หรือ Malaysia-Thailand Joint Development Area : JDA เพื่อแสวงหาประโยชน์ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนดังกล่าว โดยมีอายุ 50 ปี



แหล่งอ้างอิง

  • นาวิกศาสตร์ (พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ)
  • https://www.ttm-jda.com/
  • https://diveshop.in.th/

ปัญหาเขตแดนทางทะเล ไทย – เวียดนาม

⇑ ปัญหาเขตแดนทางทะเลของไทย

เขตทับซ้อนทางทะเล เกิดขึ้นจากพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ และการประกาศเขตไหล่ทวีปทางทะเลของแต่ละประเทศชายฝั่งเป็นสำคัญ ในทางกฎหมายนั้น เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 โดยที่กฎหมายทางทะเลนั้น ให้สิทธิรัฐชายฝั่งในการประกาศเขตไหล่ทวีปจากขอบนอกของทะเลอาณาเขตไปจนถึงแนวน้ำลึก 200 เมตร ซึ่งอ่าวไทยมีความลึกที่สุดประมาณ 82 เมตรและไม่กว้างนัก จุดที่กว้างที่สุดคือ 206 ไมล์ทะเล ดังนั้นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ชายฝั่งไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา เวียดนาม และ มาเลเซีย เมื่อมีการประกาศเขตไหล่ทวีปออกมา ก็ย่อมทำให้เขตที่ประกาศนั้นทับซ้อนกัน

เวียดนามใต้ได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี พ.ศ. 2514 (ในภาพเส้นสีม่วง) แม้จะมีการรวมประเทศแล้วเมื่อ พ.ศ. 2518 รัฐบาลเวียดนามยังคงยึดถือไหล่ทวีปตามประกาศเดิม ต่อมาประเทศไทยประกาศเขตไหล่ทวีป พ.ศ. 2516 (ในภาพเส้นสีเหลือง) ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันขึ้น ประมาณ 6,000 ตารางกิโลเมตร ได้มีการเจรจาเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีปของไทยกับเวียดนาม (ใต้) ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2535 กับรัฐบาลหลังการรวมชาติ จนประสบความสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) โดยมีการเจรจาทั้งหมด 9 ครั้งใน 5 ปี



แหล่งอ้างอิง

  • นาวิกศาสตร์ (พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ)
  • นาวิกาธิปัตย์สาร (นาวาเอก ภุชงค์ ประดิษฐ์ธีระ)

ปัญหาเขตแดนทางทะเล ไทย – กัมพูชา

⇑ ปัญหาเขตแดนทางทะเลของไทย

เขตทับซ้อนทางทะเล เกิดขึ้นจากพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ และการประกาศเขตไหล่ทวีปทางทะเลของแต่ละประเทศชายฝั่งเป็นสำคัญ ในทางกฎหมายนั้น เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 โดยที่กฎหมายทางทะเลนั้น ให้สิทธิรัฐชายฝั่งในการประกาศเขตไหล่ทวีปจากขอบนอกของทะเลอาณาเขตไปจนถึงแนวน้ำลึก 200 เมตร ซึ่งอ่าวไทยมีความลึกที่สุดประมาณ 82 เมตรและไม่กว้างนัก จุดที่กว้างที่สุดคือ 206 ไมล์ทะเล ดังนั้นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ชายฝั่งไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา เวียดนาม และ มาเลเซีย เมื่อมีการประกาศเขตไหล่ทวีปออกมา ก็ย่อมทำให้เขตที่ประกาศนั้นทับซ้อนกัน

พื้นที่ทางทะเลที่ไทยอ้างสิทธิ์
ประเทศไทยได้ประกาศทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล เมื่อปี พ.ศ. 2509 และประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยยึดเอาหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชา หลักสุดท้ายคือหลัก 73 ที่ตั้งอยู่ที่แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด แล้วลากเป็นเส้นตรงจาก ละติจูดที่ 11 องศา 39 ลิปดาเหนือ ตัดกับ ลองติจูด 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังจุดที่เส้น ละติจูดที่ 9 องศา 48 ลิปดา 5 ฟิลิปดาเหนือ ตัดกับเส้น ลองติจูด 101องศา 46 ลิปดา 5 ฟิลิปดา ตะวันออก พิจารณาตามภูมิประเทศจริงคือ ลากจากหลักเขตสุดท้าย เฉียงตรงลงไประหว่างเกาะกูดกับเกาะกงเรื่อยไปจนถึงกลางอ่าวไทยวกลงใต้ ไปชนกับที่สิ้นสุดเขตแดนทางบกไทย – มาเลเซีย และนอกจากนี้ในปี 2524 ประเทศไทยประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานของทะเลอาณาเขต ดังแสดงตามเส้นสีแดงในรูป

พื้นที่ทางทะเลที่กัมพูชาอ้างสิทธิ์
กัมพูชา ประกาศเขตไหล่ทวีปก่อนประเทศไทย คือประกาศในปี พ.ศ. 2515 ด้วยเริ่มลากจากหลักเขตทางบกหลักที่ 73 แต่เส้นของกัมพูชานั้นลากเป็นเส้นตรงไปทางตะวันตก ผ่านกึ่งกลาง แล้วหักเข้าฝั่งบริเวณชายแดนเวียดนามกัมพูชา ดังแสดงตามเส้นประสีน้ำเงินในรูป



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.tcijthai.com/

Copyright © 2024 Seafarer Library

Theme by Anders NorenUp ↑