Category: Uncategorized

พลเรือเอก สุพพัต ยุทธวงศ์

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2526

พลเรือเอก สุพพัต ยุทธวงศ์ สมรสกับ นางธนัตถ์ศรณ์ ยุทธวงศ์

การศึกษา
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 24
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 81
– หลักสูตร นายทหารใหม่ พรรคนาวิน
– หลักสูตร นายทหารประจำเรือ
– หลักสูตร ข่าวกรองทหารเรือ
– หลักสูตร พรรคนาวิน
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 57
– ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทั่วไป)
– วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 40

ตำแหน่งสำคัญ
– ผู้บังคับการเรือหลวงบางปะกง
– ผู้บังคับการเรือหลวงนเรศวร
– เสนาธิการโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
– ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารเรือ
– ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
– ผู้บัญชาการกองการฝึก กองเรือยุทธการ
– หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
– เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ
– ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (ต.ค.2565)



แหล่งอ้างอิง

  • http://www.oper.navy.mi.th/
  • http://www.navedu.navy.mi.th/

พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2527

พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2508 สมรสกับ นางชนาลัย แจ้งยอดสุข

การศึกษา
– โรงเรียนอัสสัมชัญ
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 25
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 82
– ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– International Principle Warfare Officer สหราชอาณาจักร
– หลักสูตรพรรคนาวิน โรงเรียนนายทหารเรือชั้นต้น
– เสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 59
– Surface Warfare Department Head Operations Specialty International และ Surface Warfare Officer Advanced Ship Handling สหรัฐอเมริกา
– Defense and Strategic studies course เครือรัฐออสเตรเลีย
– หลักสูตรการบริหารงานและงบประมาณ สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ
– วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 49
– วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เครือรัฐออสเตรเลีย
– วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.61)
– หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 9

ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้บังคับการ เรือหลวงปิ่นเกล้า
– ผู้บังคับการ เรือหลวงสุโขทัย
– ผู้บังคับการ เรือหลวงจักรีนฤเบศร
– ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือประจำกรุงวอชิงตัน และทำหน้าที่รองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจำกรุงวอชิงตัน อีกหน้าที่หนึ่ง
– ผู้บัญชาการกองเรือลำนํ้า
– ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ
– หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
– ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
– ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
– รองผู้บัญชาการทหารเรือ (ต.ค.2566)



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/
  • https://www.exat.co.th/
  • http://www.navedu.navy.mi.th/
  • https://anyflip.com/

พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2525

พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ สมรสกับ นางอรัญญา ศิริสวัสดิ์

การศึกษา
– โรงเรียนเสาไห้วิมลวิทยานุกูล จังหวัดสระบุรี
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 80
– หลักสูตรนายทหารชั้นต้น พรรคนาวิน
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 56
– หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ  รุ่นที่ 40
– หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 61

ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้บังคับการ เรือ ต.110
– ผู้อำนวยการ กองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ
– ฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ
– ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือไทย และรักษาราชการผู้ช่วยทูตทหารไทย ประจำกรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย และรักษาการผู้ช่วยทูตทหารเรือไทย ประจำกรุงโคลัมโบ  สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
– เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ
– รองเสนาธิการทหารเรือ
– เสนาธิการทหารเรือ
– รองผู้บัญชาการทหารเรือ (ต.ค. 2565)



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/

พลเรือเอก สุทธินันท์ สมานรักษ์

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2524

พลเรือเอก สุทธินันท์ สมานรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2505 สมรสกับ นาง สุนันท์ สมานรักษ์

การศึกษา
– โรงเรียนมัธยมสาธิตประสานมิตร
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 79
– หลักสูตรนายทหารเรือชั้นต้นพรรคนาวิน รุ่นที่ 32
– หลักสูตรผู้บังคับการเรือและยุทธวิธีเรือผิวน้ำ
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 55
– หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 39
– หลักสูตรทหารต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
– ปริญญาโท วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารกิจการทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้บังคับการเรือหลวงกูด
– ผู้บังคับกองพันรักษาฝั่งที่ 11 กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
– เจ้ากรมการเงินทหารเรือ
– ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1
– ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
– ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
– รองเสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (ต.ค.2565)



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/
  • https://www.bangkokbiznews.com/
  • https://rtarf.mi.th/

พลเรือเอก ภราดร พวงแก้ว

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2523

พลเรือเอก ภราดร พวงแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2505

การศึกษา
– โรงเรียนปรินสรอยแยลส์ วิทยาลัย
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 78
– โรงเรียนนายทหารพรรคนาวิน หลักสูตรพรรคนาวิน รุ่นที่ 30
– หลักสูตรนายทหารควบคุมการบินสกัดกั้น ชั้นต้น คปอ.
– หลักสูตรนายทหารควบคุมการบินสกัดกั้น ชั้นสูง คปอ.
– หลักสูตรกําลังพลรับเรือ เรือหลวงกระบุรี
– โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 54
– หลักสูตร ผบ.เรือและยุทธวิธีเรือผิวน้ํา
– หลักสูตรระบบอํานวยการรบ ร.ล.จักรีนฤเบศร สเปน
– หลักสูตรปฏิบัติการการบิน ร.ล.จักรีนฤเบศร สเปน
– หลักสูตรกําลังพลรับเรือ เรือหลวงจักรีนฤเบศร
– หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 41
– หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60

ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือไทยประจํากรุงแคนเบอร์รา และ รรก.ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือไทย ประจํากรุงเวลลิงตัน อีกตําแหน่งหนึ่ง
– ผู้บังคับการ เรือหลวงจักรีนฤเบศร
– เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ
– รองเสนาธิการทหารเรือ (ฝ่ายยุทธการ)
– หัวหน้าสํานักงานผู้บังคับบัญชา ศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)
– ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/
  • http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/

พลเรือเอก ธีรกุล กาญจนะ

⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2523

พลเรือเอก ธีรกุล กาญจนะ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2505

การศึกษา
– โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย รุ่นที่ 76
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 78 ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)
– โรงเรียนนายทหารชั้นต้น หลักสูตรนายทหารพรรคนาวิน รุ่นที่ 30
– โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ  รุ่นที่ 55
– เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
– หลักสูตรต้นปืน  และหลักสูตรยุทธวิธีและการรบผิวน้ำ
– หลักสูตรระบบงบประมาณตามแผนและกำหนดการ กระทรวงกลาโหม
– วิทยาลัยการทัพเรือ  รุ่นที่ 38
– วิทยาลัยการป้องกันราชอาณาจักร  รุ่นที่ 61

ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้บังคับการ เรือ ต.15
– ผู้บังคับการ เรือ ต.97
– ปลัดบัญชีทหารเรือ
– เสนาธิการทหารเรือ
– รองผู้บัญชาการทหารเรือ
– รองปลัดกระทรวงกลาโหม (ต.ค.2565)



แหล่งอ้างอิง

  • https://www.navy.mi.th/
  • https://www.bangkokbiznews.com/

Wolfpack

⇧ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี

Wolfpack หรือ ฝูงหมาป่า เป็นยุทธวิธีเรือดำน้ำของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง

เรือดำน้ำหรือเรืออู (U-Boat ภาษาเยอรมันคือ U-Boot ย่อมาจาก Unterseeboot เรือใต้ทะเล) ของเยอรมนีเป็นหนึ่งในยุทโธปกรณ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในสงครามโลกครั้งที่สอง จากการออกล่าเรือสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ลำเลียงเสบียงอาหารและสัมภาระอื่นๆ มายังเกาะอังกฤษ คาดหวังจะให้อังกฤษเกิดความขาดแคลนจนต้องยอมแพ้ นายกฯ วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) ของอังกฤษได้เขียนในหนังสือประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง เล่มสอง ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1949 ระบุว่าสิ่งเดียวที่ทำให้เขากลัวระหว่างสงครามคือภัยคุกคามจากเรืออู

แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะรู้จักเรืออูในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เยอรมนีมีการใช้งานเรืออูมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ช่วงแรกๆ เรืออูปฏิบัติการล่าเรือสินค้าแบบฉายเดี่ยว แต่สถานการณ์เปลี่ยนไปเมื่ออังกฤษรวมเรือสินค้าหลายๆ ลำเข้าด้วยกันเป็นขบวนคอนวอย มีเรือรบคุ้มกัน ส่งผลให้เรืออูไม่สามารถฝ่าเข้าไปได้ตามลำพัง เยอรมนีจึงตัดสินใจจะใช้เรืออูหลายลำร่วมกันล่าเรือสินค้าในขบวนคอนวอย คล้ายฝูงหมาป่าหรือ Wolfpack (ภาษาเยอรมัน Rudeltaktik) ปัญหาคือในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีมีจำนวนเรืออูน้อยเกินไป ประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารยังไม่ก้าวหน้าพอจะใช้ประสานงานเรือดำน้ำจำนวนมากในระยะไกลได้ ยุทธวิธีฝูงหมาป่าจึงไม่ได้รับการพัฒนาแบบเต็มประสิทธิภาพในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ต่อมาพลเรือเอกคาร์ล เดอนิทซ์ (Karl Doenitz) ซึ่งเคยเป็นกัปตันเรืออูสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำเยอรมัน ยุทธวิธีฝูงหมาป่าจึงถูกนำมาพัฒนาอีกครั้ง โดยเขาเรียกยุทธวิธีของเขาในการสงครามเรือดำน้ำว่ารูเด็ลทัคทิค (Rudeltaktik) ซึ่งแปลว่า “ยุทธวิธีแห่งฝูงสัตว์” หลักการคือเรืออูของเยอรมันจะกระจายกำลังกันออกค้นหาขบวนคอนวอยเรือสินค้า เมื่อเรืออูลำหนึ่งพบคอนวอยแล้ว ก็จะติดตามและแจ้งพิกัดตำแหน่งของคอนวอยนั้นทางวิทยุไปยังกองบัญชาการ จากนั้นกองบัญชาการก็จะแจ้งไปยังเรืออูลำอื่นๆในบริเวณใกล้เคียงมารวมตัวกันเตรียมโจมตีคอนวอยนั้นจากหลายทิศทาง เมื่อเรือทุกลำประจำตำแหน่งแล้ว เรืออูลำแรกก็จะเปิดฉากยิงตอร์ปิโดก่อน ล่อให้เรือรบที่คุ้มกันคอนวอยอยู่ออกค้นหาเรืออูลำดังกล่าว จากนั้นเรืออูลำที่สองก็จะเปิดฉากยิงตอร์ปิโดบ้าง จากนั้นก็ลำที่สาม สี่ห้า ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ (บางครั้งอาจมีเรืออูเข้าร่วมการโจมตีมากถึง 20 ลำ) ยุทธวิธีนี้ส่งผลให้กองเรืออูจมเรือสินค้าได้มากขึ้น รวมถึงสร้างความสับสนให้เรือรบที่คุ้มกันขบวนคอนวอยอยู่

อย่างไรก็ตามในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ยุทธวิธีฝูงหมาป่าก็ยังถูกใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก เพราะสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นเร็วกว่าที่เยอรมนีจะพัฒนากองทัพเรือหรือครีกสมารีเน่อ (Kriegsmarine) ได้ตามแผน เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ปี ค.ศ.1939 เยอรมนีมีเรืออูเพียง 57 ลำ ในจำนวนนี้มีเพียง 26 ลำที่ออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการในมหาสมุทรเป็นระยะทางไกล นอกจากนี้ตอร์ปิโดของเยอรมันรุ่นแรกๆยังมีประสิทธิภาพไม่ดีด้วย ต้องรอเวลาถึงปี ค.ศ.1940 เมื่อเยอรมนีต่อเรือดำน้ำออกมาจำนวนมากขึ้น มีการพัฒนาตอร์ปิโดรุ่นใหม่ รวมถึงสามารถยึดครองฝรั่งเศส ได้ฐานทัพเรือหลายแห่งริมอ่าวบิสเคย์ เช่นที่เมืองแซงต์ นาแซร์ (Saint-Nazaire) เป็นฐานทัพหน้าในการส่งเรืออูออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เต็มที่

ตัวอย่างเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของยุทธวิธีฝูงหมาป่าเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1940 ช่วงคืนวันที่ 16 – 19 ตุลาคม ขบวนคอนวอยรหัส SC-7 ซึ่งประกอบด้วยเรือสินค้าจำนวน 34 ลำและเรือคุ้มกัน 5 ลำ ลำเลียงสินค้าจากแคนาดามายังอังกฤษ ถูกโจมตีโดยฝูงหมาป่าซึ่งประกอบด้วยเรืออูจำนวน 7 ลำ สามารถจมเรือสินค้าได้ถึง 20 ลำ ระวางขับน้ำรวมกันเกือบ 80,000 ตัน โดยที่เยอรมันไม่สูญเสียเรืออูแม้แต่ลำเดียว ต่อมาคืนวันที่ 19 ตุลาคม ขบวนคอนวอยรหัส HX-79 ซึ่งประกอบด้วยเรือสินค้าจำนวน 49 ลำและเรือคุ้มกัน 11 ลำ ก็ถูกโจมตีโดยฝูงหมาป่าประกอบด้วยเรืออู 5 ลำ จมเรือสินค้าได้อีก 14 ลำ โดยที่ไม่มีเรืออูถูกจมอีกเช่นกัน การที่มีเรือสินค้าถูกจมติดๆกันถึง 34 ลำ ส่งผลให้ทั้งสองเหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่าคืนแห่งมีดยาว (Night of the Long Knives) ตามชื่อเหตุการณ์ที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) กวาดล้างแกนนำหน่วย Sturmabteilung หรือ SA เมื่อปี ค.ศ.1934 ในช่วงนี้กองทัพเรือเยอรมันตั้งใจจะใช้ปฏิบัติการของเรืออู กดดันอังกฤษร่วมกับการโจมตีของกองทัพอากาศหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) ใน Battle of Britain เนื่องจากเยอรมนีเชื่อว่าอังกฤษมีเรือรบไม่พอสำหรับคุ้มกันเรือสินค้าและป้องกันเกาะอังกฤษจากการยกพลขึ้นบกของเยอรมันในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Operation Sea Lion) พร้อมกันได้ แต่เมื่อกองทัพอากาศเยอรมันไม่สามารถครองน่านฟ้าอังกฤษได้ ส่งผลให้ปฏิบัติการสิงโตทะเลถูกเลื่อนไม่มีกำหนด กองทัพเรือเยอรมันก็ถูกทิ้งให้รบกับอังกฤษต่อไปตามลำพัง ขณะที่ฮิตเลอร์หันความสนใจไปทางทิศตะวันออกแทน


สถานการณ์ของอังกฤษเริ่มดีขึ้นช่วงกลางปี ค.ศ.1941 จากการใช้เทคโนโลยีใหม่เช่นเรดาร์ เครื่องบินรบ ฯลฯ ในการปราบเรือดำน้ำ ประกอบกับในเดือนพฤษภาคม อังกฤษสามารถยึดเรืออู-110 พร้อมเครื่องถอดรหัสอีนิกม่า (Enigma) ส่งผลให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของกองเรือดำน้ำเยอรมันได้ เยอรมนีเสียกัปตันเรือดำน้ำที่มีฝีมือหลายนายในช่วงเวลานี้เช่น กุนเธอร์ พรีน (Gunther Prien) กัปตันเรืออู-47,ออตโต เครชเมอร์ (Otto Kretschmer) กัปตันเรืออู- 99 ฯลฯ กองทัพเรือเยอรมันเตรียมถอดใจแล้ว จนกระทั่งสหรัฐฯเข้าสู่สงครามในเดือนธันวาคม แม้การที่สหรัฐฯเข้าร่วมสงครามจะส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนเรือสินค้าและเรือลำเลียงเพิ่มขึ้นมากก็ตาม แต่จำนวนเรือที่เพิ่มขึ้นมานี้ส่งผลให้เรือคุ้มกันต้องกระจายกำลังกันออก ประกอบกับลูกเรืออเมริกันขาดประสบการณ์ในการรับมือเรือดำน้ำ ส่งผลให้เรืออูได้เป้าหมายใหม่ กองเรือดำน้ำเยอรมันจึงเล็งเป้าหมายส่วนใหญ่ไปทางสหรัฐฯแทนในปี ค.ศ.1942 ตามตัวอย่างเหตุการณ์โจมตีขบวนคอนวอยรหัส ON 92 ซึ่งออกเดินทางจากเมืองลิเวอร์พูล ในอังกฤษ วันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1942 มุ่งหน้าไปสหรัฐฯ คอนวอยนี้ประกอบด้วยเรือสินค้า 41 ลำและเรือคุ้มกัน 6 ลำ นอกจากจำนวนเรือคุ้มกันจะน้อยแล้ว ส่วนใหญ่ยังขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัยสำหรับตรวจจับเรือดำน้ำด้วย

แม้ว่ายุทธวิธีฝูงหมาป่าจะพิสูจน์แล้วว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการขนส่งของพันธมิตร แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรก็พัฒนาวิธีการรับมือเพื่อเปลี่ยนการควบคุมเรืออูให้ต่อต้านตัวเอง สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือความจริงที่ว่าฝูงหมาป่าต้องการการสื่อสารทางวิทยุที่กว้างขวางเพื่อประสานงานการโจมตี สิ่งนี้ทำให้เรืออูต้องเสี่ยงต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่าตัวค้นหาทิศทางความถี่สูง (เอชเอฟ/ดีเอฟ หรือ “ฮัฟ-ดัฟ”) ซึ่งอำนวยให้กองกำลังพันธมิตรทำการตรวจสอบที่ตั้งของเรือข้าศึกที่ส่งสัญญาณและโจมตีพวกมัน นอกจากนี้ เครื่องบินคุ้มกันในอากาศที่มีประสิทธิภาพ ทั้งเครื่องบินระยะไกลพร้อมเรดาร์ และเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน รวมถึงเรือเหาะ อำนวยให้เห็นเรืออูเป็นจุดในฐานะที่พวกมันประกบตัวคอนวอย (รอคอยการโจมตียามค่ำคืน)

เรืออูของเยอรมันเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวต่อขบวนคอนวอยเรือสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตรไปจนถึงปี ค.ศ.1943


แหล่งอ้างอิง

  • https://militaryanddiplomacy.com
  • https://th.wikipedia.org

สมุททานุภาพ

⇧ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี

Alfred Thayer Mahan

สมุททานุภาพ (Sea Power) เกิดจากแนวความคิดของ พลเรือตรี อัลเฟรด เธเยอร์ มาฮาน (Rear Admiral Alfred Thayer Mahan) ซึ่งถูกนำเสนอครั้งแรกผ่านหนังสือ The influence of Sea Power upon History 1660-1973 ซึ่งมาฮาน นั้น เป็นนักยุทธศาสตร์ทางเรือผู้มีชื่อเสียง โดยเขาได้ศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ การก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลของประเทศอังกฤษ สรุปเป็นทฤษฎีสมุททานุภาพ แล้วเปรียบเทียบกับขีดความสามารถของสหรัฐฯ ในการเป็นชาติมหาอำนาจทางทะเล ด้วยปัจจัยสมุททานุภาพหลายๆ ปัจจัยซ ึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับของประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ความสำคัญของสมุททานุภาพ ถือหลักสำคัญว่า
มหาอำนาจทางทะเลจะเหนือกว่ามหาอำนาจทางบกในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitic) ซึ่งในทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงและถูกต้องจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ซึ่งประเทศ
ที่มีสมุททานุภาพที่เหนือกว่าจะเป็นผู้ชนะสงครามในที่สุด หากพิจารณา ความหมายของ
สมุททานุภาพ อันเป็นผลจากการผสมคำระหว่าง สมุทร (ทะเล) กับ อานุภาพ (กำลังอำนาจ) ความหมายโดยรวมของสมุททานุภาพ มีบริบทเช่นเดียวกับที่มาฮานได้ลิขิตไว้ก็คือ “อำนาจ กำลังอำนาจ หรือ ศักยภาพของชาติ (หรือรัฐใด รัฐหนึ่ง) จากการใช้ทะเลให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ” จากผลลัพธ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 จึงพิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎีและหลักการของสมุททานุภาพที่ได้กำเนิดขึ้นมากว่า 100 ปีแล้ว ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้ได้จนถึงปัจจุบัน เพราะทะเลยังคงเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของโลก แม้ว่าปัจจุบันการขนส่งทางอากาศจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนการขนส่งทางทะเลได้ และทะเลก็ยังเป็นแหล่งอาหารกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ของมนุษย์ที่สำคัญ นอกจากนี้กำลังทางเรือก็ยังสามารถขยายอำนาจจากทะเลขึ้นสู่ฝั่ง (Power Projection Ashore) ได้คล้ายกับการขยายอำนาจของกำลังทางบก แต่ทั้งนี้ ทฤษฎีสมุททานุภาพ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวที่แน่นอน รัฐชายฝั่งจะต้องนำทฤษฏีมาประยุตก์ใช้ให้เหมาะสมกับรัฐของตนเองด้วย


องค์ประกอบของ สมุททานุภาพ (Components of Sea power) ได้แก่

  • นาวิกานุภาพ (Naval Power) หรือ กำลังรบทางเรือ มิได้มีเพียงเรือรบผิวน้ำ เช่น ในยุคของมาฮานเท่านั้น กำลังรบทางเรือหรือ นาวิกนุภาพในปัจจุบันประกอบด้วยเรือรบ ทั้งเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ อากาศนาวี และทหารนาวิกโยธิน
  • กองเรือสินค้า (Merchant Fleet) เครื่องมือสำคัญในการสร้างความเจริญให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศที่ไม่มีกองเรือสินค้าที่เข้มแข็ง ก็จะตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบทางการค้า และในยามสงครามพาณิชย์นาวีก็จะเป็นกำลังสำคัญอีกเช่นกันที่จะสนับสนุนนาวิกานุภาพและการปฏิบัติการทางทหาร
  • ฐานทัพและท่าเรือ (Naval Bases and Harbors) เป็นฐานที่มั่น ในการรับการส่งกำลังบำรุง (สำหรับกองเรือรบ) และขนถ่ายสินค้า (สำหรับเรือสินค้า)
  • อู่สร้างเรือ/ซ่อมเรือ (Shipyards/Dockyards) สำหรับเสริมสร้างและบำรุงรักษากองเรือสินค้าและกองเรือรบของประเทศ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งปวงที่ทำให้เรือมีความคงทนทะเล (Seaworthiness) และสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
  • พาณิชย์การและการติดต่อระหว่างประเทศ (Commercial Establishments and Contacts) มีพาณิชย์นาวีที่เข้มแข็งยังไม่เพียงพอที่จะทำให้การค้าขายร่ำรวยและเจริญรุ่งเรืองได้ การค้าขายจึงจำเป็นต้องมีสถาบันทางพาณิชย์การหรือสถาบันการค้าที่จะกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแลการค้าขาย และหาตลาดที่จะนำสินค้าไปขายหรือไปซื้อสินค้ากับประเทศต่างๆ
  • องค์บุคคล (Personnel) องค์บุคคลหรือคน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งหมด อาทิ คนเป็นผู้ใช้และบำรุงรักษาเรือทั้งเรือรบและเรือพาณิชย์ เรือประมง เป็นต้น คนเป็นผู้บริหารและดำเนินกิจการท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งปวง คนเป็นผู้สร้างและซ่อมเรือ รวมทั้งคนเป็นผู้บริหารและดำเนินกิจการสถาบันการค้าต่างๆ ดังนั้นการที่จะได้องค์บุคคลที่ดีที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาและการใช้สมุททานุภาพนั้น

แหล่งอ้างอิง

  • http://www.dsdw2016.dsdw.go.th
  • นาวิกศาสตร์. พฤศจิกายน 2556

Fleet in Being

⇧ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี

Admiral Arthur Herbert

กองเรือคงชีพ หรือ Fleet in Being เป็นการใช้กองเรือที่มีอำนาจและจำนวนน้อยกว่า เพื่่อปฏิบัติการในทะเล โดยการคือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับข้าศึกที่่เหนือกว่าเพื่อออมกําลังที่มีอยู่น้อยกว่า แต่ก็สามารถแสดงตนเป็นภัยคุกคามต่อกําลังทางเรือของข้าศึกได้ต่อไป ซึ่งจะมีผลทําให้ข้าศึกต้องยุ่งยากในการตกลงใจ

ผู้ที่คิดยุทธศาสตร์นี้คือ พลเรือเอก Arthur Herbert, 1st Earl of Torrington แม่ทัพเรือของอังกฤษในช่วงปี ค.ศ.1690 โดย Herbert เห็นว่า กองเรือฝรั่งเศสตอนนั้นมีความเข้มแข็งกว่ากองเรือของอังกฤษมาก จึงต้องการสงวนกองเรืออังกฤษไว้ที่ช่องแคบอังกฤษเพื่อเป็นการตรึงกองเรือฝรั่งเศสไม่ให้ครองทะเลเพื่อบุกเกาะอังกฤษได้ และเพื่อรอกำลังเสริม แต่ดูเหมือนรัฐบาลอังกฤษจะไม่เข้าใจยุทธวิธีของ Torrington เท่าไหร่ พวกเขาคิดว่า Torrington ขี้ขลาดไม่กล้ารบกับฝรั่งเศสตรงๆ และบังคับให้เขาออกรบ นำมาซึ่งความพ่ายแพ้ต่อกองเรือฝรั่งเศสที่ Beachy Head ในปี ค.ศ.1690 ในเวลาต่อมา


การรักษากำลังตัวเองไว้เพื่อทำให้ข้าศึกที่อยู่ในพื้นที่อิทธิพลของฝ่ายเรารู้สึกพะว้าพะวง เพราะข้าศึกย่อมทราบดีว่าเรายังคงมีกองเรือที่พร้อมใช้งานอยู่ในมือ จะออกทะเลไปทำภารกิจที่อื่นต่อก็ไม่ได้เพราะอาจโดนกองเรือเราซุ่มโจมตี หรือถ้าจะสู้กับฝ่ายเรา เราก็ไม่ยอมออกมาสู้ด้วยสักที ทำได้เพียงตรึงกำลังต่อไป ซึ่งเหมือนเป็นเทคนิคในการเหนี่ยวรั้งข้าศึกไว้นั้นเอง ภัยคุกคามของกองเรือคงชีพสามารถป้องกันกำลังรบที่เหนือกว่าได้ โดยเบี่ยงเบนความสนใจหรือทำให้เกิดความกังวล ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการปฏิเสธการใช้ทะเลของข้าศึก (Sea Denial)

กองเรือคงชีพ ถูกใช้ในครั้งแรกในสมัย สงครามกรีก (Pelonponnesian War) เมื่อ 431-404 ปีก่อนคริสตกาล โดยกองเรือของนครรัฐ Syracuse ใช้ยุทธศาสตร์กองเรือคงชีพในอ่าวทางใต้ของอิตาลี โดยไม่ยอมออกมาสู้กับกองเรือผู้รุกรานของนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในขณะนั้น ทำให้กองเรือเอเธนส์ไม่สามารถครองทะเลและขยายขอบเขตการรบได้ เพราะไม่สามารถทำการส่งกำลังบำรุงทางทะเลได้ เนื่องจากต้องรอรับมือกองเรือของ Syracuse สุดท้ายนครรัฐสปาต้าร์ก็ได้เข้ามาแทรกแซงการรบทำให้ เอเธนส์พ่ายแพ้อย่างยับเยิน แต่แน่นอนว่าชาวกรีกไม่ใช่ผู้จำกัดความคำว่า Fleet-in-being เป็นครั้งแรก


แหล่งอ้างอิง

  • http://www.rtnalibrary.com/
  • นาวิกศาสตร์ ฉบับ เม.ย. 2556
  • https://www.facebook.com/KODETAHARN

Crossing the T

⇧ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี

กองเรือน้ำเงินแล่นตัดผ่าน
กองเรือแดง (crossing the T)

Crossing the T หรือ Capping the T เป็นยุทธวิธีการรบทางเรือแบบคลาสสิกที่ใช้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดยที่แนวเรือรบฝ่ายหนึ่งแล่นผ่านหน้าแนวเรือของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดความได้เปรียบในการใช้ปืนเรือ ปืนทั้งหมดของฝ่ายแรกจะโจมตีเรือลำหน้าขบวนของอีกฝ่าย โดยสามารถใช้ปืนจากด้านข้างของเรือที่แล่นตัดหน้าได้พร้อมกันหลายลำ แต่อีกฝ่ายจะใช้ปืนได้เฉพาะเรือลำหน้าและด้านหัวเรือเท่านั้น เมื่อเข้าสู่การรบ เรือจะแล่นตามกัน และโค้งเล็กน้อยตามแนวท้ายเรือ การเคลื่อนไปข้างหน้าแนวข้าศึกในแนวตั้งฉาก (หัวตัว T ) ทำให้เรือรบสามารถระดมยิงที่เป้าหมายเดียวกันได้ทั้งป้อมปืนด้านหน้าและด้านหลัง เพิ่มโอกาสในการโจมตีสูงสุด

ความได้เปรียบนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เรือเป็นแบบปืนด้านข้าง และทางหัวเรือจะมีเพียงกระบอกเดียวซึ่งจะยิงไปด้านหน้าเท่านั้น ยุทธวิธีนี้ล้าสมัยไปมากด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี ขีปนาวุธ และเครื่องบิน เนื่องจากการโจมตีระยะไกลนั้นไม่ค่อยขึ้นอยู่กับทิศทางที่เรือกำลังเผชิญหน้า


การรบที่ใช้เแทคติกนี้ได้แก่

  • การรบที่ Tsushima (1905) ระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย
  • การรบที่ Elli (1912) ระหว่างกรีกกับตุรกี
  • การรบที่ Jutland (1916) ระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน
  • การรบที่แหลม Esperance (1942) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
  • การรบที่ช่องแคบ Surigao (1944) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น

แหล่งอ้างอิง

  • https://hmong.in.th
  • https://en.wikipedia.org

Copyright © 2024 Seafarer Library

Theme by Anders NorenUp ↑