Type your keywords
Category: Uncategorized
พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด
⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2526
พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด สมรสกับ รศ.ดร.วัชรีวรรณ ทองสะอาด
การศึกษา
– มัธยมศึกษา โรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่
– วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายเรือ
– รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
– โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 24
– โรงเรียนนายเรือ รุ่น 81
– โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่น 58
– วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 41
– หลักสูตร Advanced Australian English Language Course ประเทศออสเตรเลีย
– โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ประเทศออสเตรเลีย
– Certificate in Management, Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย
ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้บังคับการเรือหลวงสมุย
– นายธงผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ
– นายธงรองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
– นายธงผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
– ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือประจํากรุงปารีส และทําหน้าที่รองผู้ช่วยทูต ฝ่ายทหาร ประจํากรุงปารีส
– นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจําเสนาธิการทหารเรือ
– นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจํารองผู้บัญชาการทหารเรือ
– รองผู้อํานวยการสํานักนโยบายเละแผน กรมส่งกําลังบํารุงทหารเรือ
– ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ
– รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ
– ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ
– รองเสนาธิการทหารเรือ
– ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ต.ค.66)
แหล่งอ้างอิง
- https://www.navy.mi.th/
พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง
⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2526
พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง สมรสกับ คุณบังอร พฤกษารุ่งเรือง
การศึกษา
– ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) โรงเรียนนายเรือ
– ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารทั่วไป) มหาวิทยาลัยบูรพา
ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้ช่วยต้นปืน นายทหารปราบเรือดำน้ำ ต้นหนแผนกเดินเรือ เรือหลวงรัตนโกสินทร์
– นายธงผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ
– ประจำกองเรือยุทธการ (กำลังพลรับเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
– นายทหารการอาวุธ แผนกอาวุธและการเรือ เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
– นายธงรองผู้บัญชาการทหารเรือ
– นายธงผู้บัญชาการทหารเรือ
– ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์
– ผู้บังคับกองพันรักษาฝั่งที่ 11 กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
– ผู้บังคับการเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย
– รองผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ
– นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองเสนาธิการทหารเรือ
– นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำเสนาธิการทหารเรือ
– นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
– ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือไทยประจำกรุงลอนดอน และรักษาราชการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และรักษาราชการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำกรุงออสโล, ประจำกรุงโคเปนเฮเกน และประจำกรุงสต๊อกโฮม
– รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ
– รองผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ
– ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากำลังพล กรมกำลังพลทหารเรือ
– ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ
– หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำเสนาธิการทหารเรือ
– หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
– หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา
– เสนาธิการทหารเรือ (ต.ค.66)
แหล่งอ้างอิง
- https://www.navy.mi.th/
- https://www.nwa2.navy.mi.th/
พลเรือเอก โกวิท อินทร์พรหม
⇑ ทำเนียบนักเรียนนายเรือ พ.ศ. 2525
พลเรือเอก โกวิท อินทร์พรหม สมรสกับ คุณนุชนภา อินทร์พรหม
การศึกษา
– โรงเรียนดรุณพิทยา
– นักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23
– โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 80 พรรคนาวิน
– ปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายเรือ
– หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 56
– หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 40
– วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 62
ตำแหน่งที่สำคัญ
– ผู้บังคับการเรือหลวงบางระจัน
– ผู้บังคับกองพันต่อสู้อากาศยานที่ 21 กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
– รองผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
– ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
– ผู้อำนวยการกองการศึกษา สำนักพัฒนากำลังพล กรมกำลังพลทหารเรือ
– ผู้บังคับการกรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
– ผู้บังคับการโรงเรียนนายทหารเรือชั้นต้น กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
– เสนาธิการกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ
– รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
– ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม
– ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
– หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
– ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1
– ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ (ต.ค.2566)
แหล่งอ้างอิง
- https://www.navy.mi.th/
เรือหลวงช้าง (ลำที่ 3)
ความเป็นมาของโครงการ
กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่ เข้าประจำการ ในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกลำเก่า (เรือหลวงช้างลำที่ 2) ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือระยะ 20 ปี พ.ศ.2560 – 2579 ที่ได้กำหนดความต้องการ เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ไว้ จำนวน 4 ลำ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 3 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียงและเป็นเรือบัญชาการ และการสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือและกู้ภัยเรือดำน้ำ และการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ
กองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือยกพลขึ้นบก กำหนดให้ตั้งชื่อตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เรือหลวงช้าง” (เกาะช้าง จังหวัดตราด) ซึ่งเป็นลำที่ 3 ที่ใช้ชื่อนี้
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 792
- สัญญาณเรียกขาน HSXZ
- วางกระดูกงู 20 ก.ค.2564
- ปล่อยเรือลงน้ำ 4 ม.ค.2566
- ขึ้นระวางประจำการ 25 เม.ย.2566
- ผู้สร้าง บริษัท Hudong-Zhonghua Shipbuilding สาธารณรัฐประชาชนจีน
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 213 เมตร
- ความกว้าง 28 เมตร
- กินน้ำลึก 6.8 เมตร
- ความเร็วมัธยัสถ์ 18 นอต
- ความเร็วสูงสุด 25 นอต
- ระวางขับน้ำสูงสุด 25,000 ตัน
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 10,000 ไมล์
- ความคงทนทะเล ได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6
- กำลังพลประจำเรือ 196 นาย
- บรรทุกกำลังรบยกพลขึ้นบกได้ 650 นาย
- ปฏิบัติการได้ต่อเนื่อง 45 วัน
- ระบบสนับสนุน
- จุดลงจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 3 จุด
- โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์สำหรับ 2 ลำ
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่ 3)
- เรือหลวงช้าง (ลำที่ 3)
แหล่งอ้างอิง
- เฟซบุ๊ค กองทัพเรือ
- https://www.facebook.com/THAINAVY792/
- https://aagth1.blogspot.com/
- https://th.wikipedia.org/
เรือหลวงตาชัย
ความเป็นมาของโครงการ
ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พุทธศักราช 2558 – 2567 โครงสร้างกำลังรบได้กำหนดให้มีเรือลากจูงสำหรับใช้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 8 ลำ ซึ่งในปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือลากจูงปฏิบัติราชการแล้ว จำนวน 6 ลำ และมีแผนปลดระวางประจำการ 1 ลำ ทำให้เหลือเรือลากจูงใช้ในราชการ เพียง 5 ลำ กองทัพเรือจึงมีความจำเป็นในการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลางเพื่อมาทดแทน ซึ่งการต่อเรือหลวงตาชัย เรือลากจูงขนาดกลางลำนี้ จะทำให้มีเรือลากจูงที่เพียงพอต่อการสนับสนุนเรือขนาดใหญ่ และเรือดำน้ำที่กองทัพเรือจะได้รับมอบมาใช้ในอนาคต นอกจากนี้การต่อเรือหลวงตาชัย กองทัพเรือได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีคัดเลือกจากบริษัท อู่ต่อเรือภายในประเทศ คือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือภายในประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์ความรู้ และช่วยลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรือหลวงตาชัยต่อตามแบบเรือ Ramparts 3200 SD ทั้งนี้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐทุกประการ โดยจะเข้าประจำการที่กองเรือยกพลขึ้นบก และยุทธบริการ กองเรือยุทธการ
ขีดความสามารถ
- สามารถเข้าดึงและดันเรือขนาดใหญ่ของกองทัพเรือ และรวมไปถึงเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ได้อย่างคล่องตัวปลอดภัย และสามารถเคลื่อนที่ไปทางข้างได้
- สามารถปฏิบัติงานในท่าเรือ และชายฝั่งได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
- สามารถดับเพลิงไหม้ในเรือ ทั้งในเขตฐานทัพ ท่าเรือต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ตลอดชายฝั่งได้
- สามารถขจัดคราบน้ำมันในทะเลบริเวณท่าเรือและบริษัทได้
- สามารถสนับสนุนภารกิจอื่นๆ ด้วยความสามารถที่มีอยู่ได้ หากมีความจำเป็น เช่น การลากเป้าในการฝึกยิงอาวุธ
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 859
- วางกระดูกงู 13 ก.ย. 2564
- ปล่อยเรือลงน้ำ 25 ม.ค. 2566
- ขึ้นระวางประจำการ 21 ส.ค.2566
- ผู้สร้าง บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 31.50 เมตร
- ความกว้าง 12.6 เมตร
- กินน้ำลึก 4.50 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 12.10 นอต
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 2,500 ไมล์ ที่ 7 นอต
- กำลังดึง ไม่น้อยกว่า 55 เมตริกตัน
- กำลังพลประจำเรือ 20 นาย
- ปฏิบัติการต่อเนื่องได้ไม่ต่ำกว่า 3 วัน
- ความคงทนทะเลในสภาวะทะเลระดับ 3
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องจักรใหญ่ดีเซล ที่มีมาตรฐานการปล่อยก๊าซตามข้อกำหนดขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ ในระดับ IMO Tier II compliant จำนวน 2 เครื่อง มีระบบเลิกเครื่องฉุกเฉิน รุ่น MTU BLUE VISION LOP 14
- ชุดขับเคลื่อนเป็นแบบ Azimuth Thruster แบบ Azimuth Stern Drive ประกอบ Kort Nozzle ตราอักษร SHOTTEL รุ่น SCHOTTEL SRP400 การหมุนของใบจักร เมื่อมองจากท้ายเรือ ใบจักรขวาจะหมุนตามเข็มนาฬิกา ใบจักรซ้าย จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา สามารถบังคับเรือให้ไปทางข้างได้ ทั้งซ้ายและขวา
- ระบบดับเพลิงภายนอกเรือ
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือหลวงปันหยี
- เรือหลวงหลีเป๊ะ
- เรือหลวงตาชัย
แหล่งอ้างอิง
- https://www.navy.mi.th/
- https://aagth1.blogspot.com/
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.998
ความเป็นมาของโครงการ
กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.9) พระราชทานพระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ เริ่มตั้งแต่ การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ.2510 – 2530 อันเป็นการดำเนินโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์ ต่อมาในปี พ.ศ.2550 กองทัพเรือได้จัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเรือชุด ต.991 – ต.993 เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา และในปี พ.ศ.2552 กองทัพเรือจัดทำโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ชุดเรือ ต.994 – ต.996 ซึ่งโครงการฯ ได้สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2554 เรือทุกลำสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อภารกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 (ต.991 – ต.993) และ ชุดเรือ ต.994 (ต.994 – ต.996) บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ได้ผ่านการคัดเลือก และได้รับความไว้วางใจจากกองทัพเรือให้เป็นผู้จัดส่งวัสดุและอุปกรณ์ให้กับกรมอู่ทหารเรือดำเนินการสร้างเรือ ต.991 และ ต.994 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี และบริษัท มาร์ซันฯ เป็นผู้สร้าง เรือ ต.992 – ต.993 และ เรือ ต.995 – ต.996
สำหรับโครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.997 และ ต.998 จำนวน 2 ลำนี้ กองทัพเรือ ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 – 2567 ที่ได้กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวนทั้งสิ้น 16 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจต่าง ๆ และทดแทนเรือที่ครบกำหนดปลดระวางประจำการ โดยกองทัพเรือได้จัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไว้ใช้ในราชการแล้วคือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.81 – ต.83 ชุดเรือ ต.991 – ต.996 และชุดเรือ ต.111 – ต.115 รวมเป็นจำนวน 14 ลำ และในส่วนของการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง 2 ลำนี้ กองทัพเรือได้ออกประกาศเชิญชวนยื่นข้อเสนอโดยวิธีคัดเลือก และบริษัท มาร์ซันฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ ตามแบบชุดเรือ ต.994 และจัดให้มีพิธีลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562
ภารกิจของหน่วย
ตรวจการณ์สกัดกั้น ลาดตระเวนป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 998
- วางกระดูกงู 14 พ.ย.2562
- ปล่อยเรือลงน้ำ 21 มิ.ย.2564
- ขึ้นระวางประจำการ 20 ก.ย.2566
- ผู้สร้าง บริษัท มาร์ซัน จำกัด
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 41.45 เมตร
- ความกว้าง 7.20 เมตร
- กินน้ำลึก 2.0 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 28 นอต
- ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
- กำลังพลประจำเรือ 33 นาย
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,500 ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร MAN กำลังเครื่องยนต์ 2960 KW ที่ 1900 rpm
- เกียร์ส่งกำลัง ตราอักษร ZF รุ่น 9055 จำนวน 2 ชุด
- เพลาใบจักรและใบจักร ตราอักษร Wartsila จำนวน 2 ชุด
- เครื่องไฟฟ้าขนาด 150 KW 380 VAC จำนวน 2 ชุด
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือ ต.997
- เรือ ต.998
แหล่งอ้างอิง
- http://www.fleet.navy.mi.th/
- https://aagth1.blogspot.com/
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.997
ความเป็นมาของโครงการ
กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.9) พระราชทานพระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ เริ่มตั้งแต่ การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ.2510 – 2530 อันเป็นการดำเนินโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์ ต่อมาในปี พ.ศ.2550 กองทัพเรือได้จัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเรือชุด ต.991 – ต.993 เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา และในปี พ.ศ.2552 กองทัพเรือจัดทำโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ชุดเรือ ต.994 – ต.996 ซึ่งโครงการฯ ได้สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2554 เรือทุกลำสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อภารกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 (ต.991 – ต.993) และ ชุดเรือ ต.994 (ต.994 – ต.996) บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ได้ผ่านการคัดเลือก และได้รับความไว้วางใจจากกองทัพเรือให้เป็นผู้จัดส่งวัสดุและอุปกรณ์ให้กับกรมอู่ทหารเรือดำเนินการสร้างเรือ ต.991 และ ต.994 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี และบริษัท มาร์ซันฯ เป็นผู้สร้าง เรือ ต.992 – ต.993 และ เรือ ต.995 – ต.996
สำหรับโครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.997 และ ต.998 จำนวน 2 ลำนี้ กองทัพเรือ ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 – 2567 ที่ได้กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวนทั้งสิ้น 16 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจต่าง ๆ และทดแทนเรือที่ครบกำหนดปลดระวางประจำการ โดยกองทัพเรือได้จัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไว้ใช้ในราชการแล้วคือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.81 – ต.83 ชุดเรือ ต.991 – ต.996 และชุดเรือ ต.111 – ต.115 รวมเป็นจำนวน 14 ลำ และในส่วนของการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง 2 ลำนี้ กองทัพเรือได้ออกประกาศเชิญชวนยื่นข้อเสนอโดยวิธีคัดเลือก และบริษัท มาร์ซันฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ ตามแบบชุดเรือ ต.994 และจัดให้มีพิธีลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562
ภารกิจของหน่วย
ตรวจการณ์สกัดกั้น ลาดตระเวนป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 997
- วางกระดูกงู 14 พ.ย.2562
- ปล่อยเรือลงน้ำ 21 มิ.ย.2564
- ขึ้นระวางประจำการ 20 ก.ย.2566
- ผู้สร้าง บริษัท มาร์ซัน จำกัด
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 41.45 เมตร
- ความกว้าง 7.20 เมตร
- กินน้ำลึก 2.0 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 28 นอต
- ปฏิบัติการต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 7 วัน
- กำลังพลประจำเรือ 33 นาย
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 1,500 ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์
- ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
- เครื่องจักรใหญ่ ตราอักษร MAN กำลังเครื่องยนต์ 2960 KW ที่ 1900 rpm
- เกียร์ส่งกำลัง ตราอักษร ZF รุ่น 9055 จำนวน 2 ชุด
- เพลาใบจักรและใบจักร ตราอักษร Wartsila จำนวน 2 ชุด
- เครื่องไฟฟ้าขนาด 150 KW 380 VAC จำนวน 2 ชุด
- เรือในชุดเดียวกัน
- เรือ ต.997
- เรือ ต.998
แหล่งอ้างอิง
- http://www.dockyard.navy.mi.th
- https://www.thairath.co.th/
เรือ ต.255
เรือ ต.255 เป็นเรือในชุดเรือ ต.253 ของ หมวดเรือปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ มีภารกิจในการลาดตระเวนหาข่าว โดยชุดเรือ ต.253 เป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง(Inshore Patrol Craft) แบบ Speed Boat ประกอบด้วย เรือ ต.253 เรือ ต.254 และ เรือ ต.255 ตัวเรือมีสีขาว มีตัวอักษรเลขตัวเรือ(Hull No.) สีฟ้าขนาดเล็ก
เรือในชุดเดียวกัน
- เรือ ต.253
- เรือ ต.254
- เรือ ต.255
แหล่งอ้างอิง
- http://aagth1.blogspot.com
- https://www.matichon.co.th/
- http://www.fleet.navy.mi.th/
เรือ ต.254
เรือ ต.254 เป็นเรือในชุดเรือ ต.253 ของ หมวดเรือปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ มีภารกิจในการลาดตระเวนหาข่าว โดยชุดเรือ ต.253 เป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง(Inshore Patrol Craft) แบบ Speed Boat ประกอบด้วย เรือ ต.253 เรือ ต.254 และ เรือ ต.255 ตัวเรือมีสีขาว มีตัวอักษรเลขตัวเรือ(Hull No.) สีฟ้าขนาดเล็ก
เรือในชุดเดียวกัน
- เรือ ต.253
- เรือ ต.254
- เรือ ต.255
แหล่งอ้างอิง
- http://aagth1.blogspot.com
- https://www.matichon.co.th/
- http://www.fleet.navy.mi.th/